Waiyapot EP. 074
Fig. 75.1 Ordovician Mineral Deposits.
EP. 75 Mineral deposits of Ordovician Period การเกิดแหล่งแร่ในยุค ออร์โดวิเชียน
แหล่งแร่สำคัญของยุค ออร์โดวิเชียนประกอบด้วย
1. แหล่งแร่แบบ volcanogenic massive sulfides (VMS)
การเกิดแหล่งแร่ในยุค ออร์โดวิเชียน เกิดต่อเนื่องจากการเกิดแหล่งแร่ในยุค แคมเบรียน ถ้าหากจะเริ่มในส่วนลึกของท้องมหาสมุทร บริเวณผิวท้องสมุทร จะเกิดการสะสมตัวของแหล่งแร่แบบ volcanogenic massive sulfides (VMS) ที่เกิดจาก น้ำแร่ร้อน (hydrothermal fluids)จากการแข็งตัวของหิน intrusive และหิน volcanic rocks ประทุขึ้นมาที่ท้องสมุทร เป็น ปล่องควันดำ (black smoker) และปล่องควันขาว (white smokers) ตกตะกอนเป็นชั้นแร่sulfides และ barite สลับในชั้นตะกอนท้องสมุทร (stratiform orebodies) เช่นแหล่งแร่ Bathurst Mining Camp in New Brunswick, ใน Canada
2. แหล่งแร่แบบ sedimentary exhalative
ในขณะเดียวกัน น้ำเกลือโลหะ (metallic brine) จากก้นทะเลลึก และ แอ่ง evaporite ซึมลึกลงไปใต้ผิวโลกด้วยขบวนการ deep seepage ที่มีปัจจัยประกอบด้วย ช่องว่างทางผ่านของ น้ำเกลือโลหะ (percolation) ได้แก่แนวรอยแตก รอยเลื่อน และ permeability ของหิน แรงโน้มถ่วง และแรงตึงผิว (gravity and capillary forces) คุณสมบัติของแรง ไฮโดรลิก (hydraulic pressure gradient) คุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ น้ำเกลือโลหะซึมลึกลงไปใต้ดินและอาจจะละลายอนุมูลโลหะในหินเพิ่มขึ้นด้วย น้ำเกลือโลหะนี้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นและมีความกดดันเนื่องจากน้ำหนักของ sediments ที่กดทับข้างบนทำให้ น้ำเกลือโลหะ ไหลขึ้นมาจนถึงผิวก้นสมุทร อนุมูลโลหะในน้ำเกลือโลหะจะตกตะกอน เนื่องจากการลดลงของอุณหภูมิ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของท้องทะเลเกิดเป็นสารประกอบ sulfides ที่ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบ ตะกั่ว สังกะสีและเงิน เป็นเลนซ์หรือเป็นชั้นสลับอยู่ในชั้นตะกอนท้องสมุทร ตัวอย่างแหล่งแร่นี้ได้แก่ The Sullivan Mine in British Columbia, ใน Canada
3. แหล่งแร่แบบ carbonate host massive sulfide deposits
น้ำเกลือโลหะตามที่กล่าวมาแล้ว อาจจะเคลื่อนตัวเข้าไปสะสมตัวในหินปูนในขณะที่กำลังจะแข็งตัว (diagenesis) หรือแข็งตัวเป็นหินแล้ว (epigenesis) เป็นแหล่งแร่ ตะกั่ว สังกะสี และ เงินขนาดใหญ่เรียกว่าแหล่งแร่แบบ (Mississippi Valley Type, MVT) ตัวอย่างแหล่งแร่ได้แก่ The Viburnum Trend in the Missouri Lead Belt, USA.
4. แหล่งแร่แบบ Phosphate Deposits
ในบริเวณ continental slope เกิดการ upwelling ของกระแสร์คลื่นน้ำแบบ convection current เนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิน้ำที่ผิวสมุทร กับ น้ำที่ก้นสมุทร ทำให้สสารในท้องสมุทร ที่อุดมด้วยสารประกอบ phosphorus ถูกนำพาขึ้นมาสะสมตัวในเขตทะเลตื้นริมฝั่งทะเล เป็นแหล่งแร่ phosphorite ต่อเนื่องจาก ยุค แคมเบรียน ได้แก่ The phosphate deposits in the Middle Ordovician rocks of the central United States
5. แหล่งแร่ sedimentary host Iron deposits.
แร่โลหะต่าง ๆ ที่ประกอบอยู่ในหินบนพื้นทวีป จะถูกขบวนการผุพังตามธรรมชาติ (weathering) และการกัดกร่อนด้วยน้ำ (erosion) แล้วถูกน้ำนำพามาสะสมตัวในน้ำทะเลตื้นชายฝั่ง เกิดการสะสมตัวเป็นแหล่งแร่เหล็กขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางร่วนกับชั้นหินตะกอน ตัวอย่างเช่น The Wabana Iron Ore deposits in Newfoundland, Canada.
Fig. 75.2 schematic Model of Volcanic Massive Sulfide Deposits (VMS).
Fig. 75.3 Conceptual Model of SEDEX deposits.
Fig. 75.4 Conceptual Model of SEDEX deposits showing the migration of metallic brine.
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------