Waiyapot EP. 077การเกิดแหล่งแร่ซัลไฟด์ร่วมกับหินคาร์บอเนต ในประเทศไทย ( Carbonate Host Massive Sulfides Deposits of Thailand.)
Fig. 77.01 Pb-Zn Deposits of Thailand.
EP. 77 Carbonate Host Massive Sulfides Deposits of Thailand. การเกิดแหล่งแร่ซัลไฟด์ร่วมกับหินคาร์บอเนต ในประเทศไทย
การเกิดแหล่งแร่ซัลไฟด์ร่วมกับหินคาร์บอเนต ในประเทศไทย มี 2 พื้นที่คือ บริเวณ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี และ อำเภอ แม่สอดจังหวัดตาก บริเวณ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี พบแหล่งแร่นี้ 20 แหล่ง ทำเหมือง 4 แหล่ง ได้แก่ เหมืองสองท่อ บ่อใหญ่ บ่อน้อย และบ่องาม เป็นเหมืองเปิดผลิตแร่ทุติยภูมิ และเหมืองอุโมงค์ผลิตแร่ ปฐมภูมิ เหมืองสองท่อจัดเป็นเหมืองอุโมงค์ที่ใหญ่ที่สุดใน Asian มีความลึกประมาณ 200 เมตร อุโมงค์ลำเลียงวนเป็นก้นหอย ยาว 3 กิโลเมตร แบ่งการทำเหมืองเป็น 10 ระดับ รวมความยาวอุโมงค์ทั้งหมดมากกว่า 50 กิโลเมตร มีการแต่งแร่โดยวิธีลอยแร่ได้หัวแร่ (concentrate) 60% metal หัวแร่มีเงินผสมอยู่ 200 ppm.
แหล่งแร่ เกิดร่วมกับหินปูน argillaceous limestone ยุค Ordovician ประกอบด้วยแร่ ตะกั่ว สังกะสี และเงิน มีการเกิดแบบ Irish type ที่มีสารประกอบจาก juvenile magmatic hydrothermal ปนอยู่ใน metallic brine ได้แก่อนุมูลโลหะ ปรอท (Hg) พลวง (Sb), และเทลลูเรียม (Te) ปนอยู่ด้วย จาก U/Pb radiometric dating พบว่าอายุแร่ ประมาณ 50 ล้านปี แสดงว่าการเกิดแร่เป็นแบบ epigenesis น้ำแร่ metallic brine เข้ามาสะสมตัวในชั้นหินนานมากหลังจากการแข็งตัวเป็นหินปูน บริเวณที่พบชั้นแร่ หินปูนจะเปลี่ยนจากสีเทาดำเป็นสีเทาจาง เนื่องจากขบวนการ dolomitization ที่หินปูน (CaCO3) เปลี่ยนเป็น dolomite (MgCO3) ที่มีปริมาตรเล็กลง เกิดช่องว่างให้แร่ซัลไฟด์สะสมตัวได้ สายแร่พบทั้งแบบวางตัวขนานกับแนววางตัวของหิน (concordance) และตัดแนวชั้นหิน (discordance) โซนแร่มีความหนา ตั้งแต่ 0.1-12 เมตร มีลักษณะเป็นเลนซ์ กระเปาะ และเป็นชั้นแร่ รูปแบบแหล่งแร่ ได้แก่
1. มวลแร่ซัลไฟด์แบบชั้น (layer galena-sphalerite ores)
2. มวลแร่ซัลไฟด์เนื้อแน่น (massive sulfide ores)
3. มวลแร่ซัลไฟด์ที่เกิดแบบฝังประในเนื้อหิน (disseminated sulfide ores
4. มวลแร่สังกะสีที่มีรูปร่างคล้ายร่างแห (network liked blende ores)
5. ตะกอนมวลแร่ที่สะสมเป็นชั้นบางๆ (varve liked bedded ore sediments)
6. มวลแร่ในหินกรวดเหลี่ยมจากการถล่มพังของหิน (collapse breccia)
แร่ปฐมภูมิที่พบได้แก่ แร่ galena (PbS) sphalerite (ZnS) แร่ทุติยภูมิ ได้แก่ แร่ cerussite (PbCO3), Smithsonite (ZnCO3), Hemimorphite (Zn4Si2O7(OH)2·H2O), และ Hydrozincite (Zn5 (CO3)2(OH)6) โดยมีแร่ jasper, quartz, pyrite, และ barite เกิดร่วมอยู่ด้วย ความสมบูรณ์ 8-12%metal มีการผลิตแร่ไปแล้วมากกว่า 8 ล้านตัน แร่คงเหลือประมาณ 8 ล้านตัน
Fig. 77.02 Pb-Zn Deposits of Kanchanaburi Thailand.
Fig. 77.03 Map of Song Toh Pb-Zn Mine.
Fig. 77.04 Map of Bo Ngam Pb-Zn Mine.
Fig. 77.05 Map of Bo Yai Pb-Zn Mine.
Fig. 77.06 Mining Model of Son Toh Pb-Zn Mine.
Fig. 77.07 Pictures of Song Toh Pb-Zn Mine.
Fig. 77.08 Pictures of Bo Ngam and Bo Yai Pb-Zn Mines.
Fig. 77.09 Pictures of Pb-Zn sulfide veins in adit of Song Toh Mine.
Fig. 77.10 Ore Reserves Estimation of Pb-Zn Mines
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------