Waiyapot ep085 The Silurian Rocks of Thailand หินยุค ไซลูเรียนของประเทศไทย
Fig. 85.1 Tectonic setting of SEA in Mid-Late Silurian.
EP. 85 The Silurian Rocks of Thailand หินยุค ไซลูเรียนของประเทศไทย
ในยุคไซลูเรียน แผ่นดินที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันตั้งอยู่ทางด้านเหนือของมหาทวีป Gondwana บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ที่ละติจูด ประมาณ10-15 องศาเหนือ ลองจิจูด 100 องศาตะวันออก มีสภาพเป็นทะเลตื้นขอบ NW ของ N. Gondwana อากาศร้อนชื้น มีการสะสมตะกอนแบบ molasse types ที่มี clastic sediments supplied จากพื้นทวีปทางทิศใต้ มีการสะสมตะกอนตั้งแต่หินทราย หิน greywackes หินทรายแป้ง หินโคลน หินดินดาน และหินปูนที่มีสภาพเป็นแนวปะการังชายฝั่ง สะสมตัวเป็นหินชั้นชุดต่าง ๆ ได้แก่ หินกลุ่ม ทองผาภูมิ แม่ปิง ปากชมและสัตหีบ รวมทั้งหินกลุ่ม Mibayataung Group ในรัฐฉาน หินตะกอน molasse types เหล่านี้บางส่วนถูก metamorphose เป็นหิน quartzite, schist, calc-silicates, slate, phyllites, และ marbles เช่นหินชุดดอนชัยในภาคเหนือ นอกแนวปะการังออกไป เป็นแนวยุบตัวของแผ่นดิน (rift valleys) ที่เกิดจากอนุทวีป North and South China, Tarim, Indochina ที่กำลังจะแยกตัวออกจาก Gondwana เกิดแนวร่องทะเลลึกที่กำลังจะเปิดตัวเป็น Paleo Tethys Sea ในยุค Devonian มีการสะสมตัวของตะกอนในทะเลลึกเช่น black shales และ chert ที่มี fossil ของ graptolite หินต่าง ๆ เช่นหินชุด วังตงในภาคใต้ ปากชม chert (เลย)
ชุดหินที่สะสมตัวเฉพาะยุค Silurian ในประเทศไทยมีชุดเดียวคือหินชุด สัตหีบที่ประกอบด้วย agillite และ quartzite units นอกนั้นรวมยุคเป็นหินยุค Silurian-Devonian (SD) ได้แก่หินชุด Ban Sa formation (Narathiwat), Ban To formation (Yala), Betong formation (Yala), Bo Phloi formation (Kanchanaburi), Buntha formation (Tak), Den Matum complex (Tak), Doi Musur Group (Tak), Doi Musur phyllite (Tak), Donchai Group (Lamphun), Huai Khi Nok formation (Lampang, Lamphun), Huai Prik formation (Surat Thani, Nakhon Si Thammarat), Khao Ban Na Thung Chuak formation (Uthai Thani), Khao Khieo tuff (Sukhothai), Khao Sawoei Rat formation (Prachuab Khiri Khan), Khao Si In formation (Nakhon Si Thammarat), Khun Mae Kanai formation (Mae Hong Son). Klaeng schist and phyllite (Rayong), Kraburi formation (Prachuab Khiri Khan), Kuan Tung Formation (Satun), Mae Ko complex (Chiang Rai), Mae Ping Formation (Lamphun), Mae Suai schist formation (Chiang Rai, Chiang Mai), Mae Ya-U siltstone (Tak), Nam Khat formation (Mae Hong Son), Nam Tok Ko formation (Lamphun), Narathiwat phyllite (Narathiwat), Pa Samed formation (Satun), Pak Chom chert (Loei), Pak Som group (Uttaradit), Pong Sawae formation (Kanchanaburi), Sattahip shale (Chon Buri), Song Phi Nong formation (Tak), Sukhothai Group (Sukhothai), Thung Saliam Group (Sukhothai), Thung Saliam limestone (Sukhothai)
หินยุค Silurian-Devonian-Carboneferous (SDC) ได้แก่ Khanu Chert (Sukhothai), Khao Din formation (Nakhon Si Thammarat, Surat Thani), Laem Tap formation (Surat Thani), Mae Hong Son Formation (Mae Hong Son), Mae Hong Son group (Mae Hong Son), Mae Suai schist (Chiang Rai), Tu Wi formation (Mae Hong Son)
.
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
ทั้งหมดและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------
.
Fig. 85.2 Stratigraphy of Thailand.
.
Fig.85.3 Stratigraphic columns correlation of Silurian age of Thailand.
.
Fig. 85.4 Environmental Deposition of Ordovician-Silurian rocks of Thailand