Waiyapot ep092 The Carboniferous Rocks of Thailand หินยุค คาร์บอนิเฟอรัส ของประเทศไทย
Fig 92.1 Plate Tectonic of East Asia in the Carboniferous Period
EP. 92 The Carboniferous Rocks of Thailand หินยุค คาร์บอนิเฟอรัส ของประเทศไทย
ในต้นยุคคาร์บอนิเฟอรัส ส่วนที่เป็นอนุทวีป Indochina–East Malaya–West Sumatra และ Qamdo Simao แยกตัวขาดจาก มหาทวีป Gondwana เป็นแนวเกาะยาว เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือเพื่อจะไปรวมตัวกับอนุทวีป South China เกิดแนว Ailao Shan-Nan-Uttaradit-Sa Keao Subduction Zone เอียงเทไปทางทิศเหนือ ส่วนที่เป็น อนุทวีป Sibumasu ยังติดเป็นส่วนหนึ่งของชายฝั่งมหาทวีป Gondwana ตะวันออก ที่ส่วนใหญ่ยังถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง อากาศแห้งแล้ง มีการสะสมตะกอนบนบก (continental sediments) ตามชายฝั่งบางส่วนเกิดแอ่งระเหย ( evaporite basins) มีการตกตะกอน แร่ยิปซัม ในทะเลนอกชายฝั่งมีการสะสมตัวของตะกอน molasse มี diamictite เช่น pebbly shale and sandstones ที่มี dropped stones เป็น pebbles เกิดจาก icebergs ที่หลุดมาจาก glacier ทางใต้ พาก้อนกรวดมาทิ้งลงใน molasse sediments ในทะเล
ทางเหนือของ subduction zone เกิด island arc ที่รวมเรียกว่า Inthanon accretionary complex และ Sukhothai island arc ต่อด้วย Nan back arc basin และ Indochina micro plate จาก Indochina micro plate เป็น Song ma suture zone และเป็น South China micro plate ตามลำดับ
ในฝั่ง Sibumasu Block มีการสะสมตัวของตะกอนบนพื้นทวีป (continental red bed) ได้แก่หินชุด Doi Kong Mu formation, Fang Redbed, และการสะสมตะกอน clastic molasse sediments ในทะเลนอกชายฝั่ง ได้แก่หินชุด Mae Tha Formation ที่ประกอบด้วยหิน graywecke shale sandstone volcanic agglomerate and tuff
ใน Inthanon Block มีการตกตะกอนใน paleo Tethys sea ได้แก่ หินชุด Chaing Dao Limestone ที่สะสมตัวบริเวณ seamount ทะเลตื้นประกอบด้วยหินคาร์บอเนตต่าง ๆ และ หินที่สะสมตัวใน ocean floor ทะเลลึกได้แก่หินชุด Fang Chert ประกอบด้วย radiolarian chert
ใน Sukhothai island arc เป็นการสะสมตะกอน molasse และ volcano sedimentsในบริเวณใกล้ฝั่ง island arc กลาง paleo Tethys sea ได้แก่ Dan Lan Hoi Group ประกอบด้วย Kao Khi Ma formation, Lan Hoi formation, และ Kao Luang formation
ในบริเวณ Indochina Block ประกอบด้วย การสะสมตะกอนนอกชายฝั่งทะเล molasse sediments ไหล่ทวีป (continental shelf) ลาดทวีป (continental slope) และ ตีนทวีป (continental rise) ได้แก่ Khao Khwang Platform, เป็นฝั่งตะวันออกของ Sukhothai island arc ต่อด้วย Nam Duk Basin ที่เป็น abyssal basin ของ back arc basin และ Pha Nok Khao และ Sa Kaeo Plateform ที่เป็นส่วนของไหล่ทวีปของ Indochina Platform
ชุดหินของยุค คาร์บอนิเฟอรัสในประเทศไทยประกอบด้วย Bang Ka Chai formation (Chanthaburi), Bo Luang formation (Chiang Mai), Chon Buri group (Chon Buri), Dan Lan Hoi Group (Sukhothai), Doi Kong Mu Formation (Mae Hong Son), Dok Du formation (Loei), Fang red-beds (Chiang Mai), Huai Sai formation (Phetchabun), Huai Som formation (Loei), Khao Chao Formation (Phetchaburi), Khao Ki Ma Formation (Sukhothai), Khao Khi Ma Pyroclastic (Sukhothai), Khao Luang Pyroclastic (Sukhothai), Khao Phra Formation (Phetchaburi), Khao Wang Kradat Formation (Prachuap Khiri Khan, Phetchaburi), Khop Dong formation (Chiang Mai), Khuan Klang Formation (Satun), Lan Hoi Formation (Sukhothai), Li-Thoen formation (Lampang, Lamphun), Li-Thoen Red Beds (Lampang, Lamphun), Mae Phrik formation (Lampang), Mae Plung shale (Kanchanaburi), Mae Sai Formation (Phrae), Mae Sat formation (Chiang Rai, Chiang Mai), Mae Tha Group (Lamphun) Mayo formation (Pattani), Plu Ta Luang formation (Chon Buri, Rayong), Pru Chaba formation (Songkhla), Sri Racha formation (Chon Buri), Thammarat Nai formation (Chachoengsao), Um Lap conglomerate (Tak), Wang Saphung Formation (Loei), Yaha Formation (Yala),
Fig92.2 Plate Tectonic of Thailand in the Carboniferous Period.
Fig92.3 Paleo Tethysan Oceanic Successions of the Carboniferous-Permian Period.
Fig92.4 Indochina Block of the Carboniferous-Permian Period.
.
-------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------

