iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

BA วิวัฒนาการของการบริหาร (Evolution of management)

แนวทาง BASCIT ที่ใช้พัฒนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรม * 

วิวัฒนาการของการบริหาร (Evolution of management) นักบริหารและนักวิชาการได้ทำการแบ่งระดับในการวิวัฒนาการในงานด้านบริหารออกไว้เป็น 4 ยุค คือ

1) ยุคโบราณ หรือ ยุคก่อนมีการพัฒนาเริ่มตั้งแต่การมีสังคมมนุษย์จนถึงยุคก่อน Classical บุคคลสำคัญในยุคนี้ได้แก่ Socrates, Plato, Aristotle, Saint-Simen, Hegel, Robert Owen และ Charles Bubbage

2) ยุคคลาสสิก (Classical) เริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลายศตวรรษที่ 18 เป็นยุคที่นำเครื่องจักรและเครื่องมือทุ่นแรงเข้ามาใช้แทนคน จนกระทั่งได้เกิดแนวคิดในเรื่องการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นการผลิตหรือให้ความสำคัญต่องานมากระบบการทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญ บุคคลสำคัญในยุคนี้ได้แก่

- Henry R. Towne ได้เสนอบทความเรื่องวิศวกรในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเคลื่อนไหวทางแนวความคิดด้านการจัดการของศตวรรษต่อมา

- Woodrow wilson เสนอบทความเรื่อง The Study of Public Administration มีแนวคิดที่ต้องการแยกการบริหารของรัฐออกมาจากการเมือง

- Frank T. Goodnow ได้เสนอบทความเรื่อง Politics and Administration เป็นแนวความคิดคล้ายกับวิลสัน เน้นเรื่องการปรับปรุงระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพยึดระบบคุณธรรม (Merit System) ให้มีคณะกรรมการรับผิดชอบและมีหน่วยงานการบริหารบุคคลในทุกหน่วยงาน มีการจำแนกตำแหน่ง เพื่อความเป็นธรรมในการจ้าง มีการกำหนดมาตรฐาน และคุณสมบัติของบุคลากร

- Leonard D. White ได้เสนอบทความเรื่อง Introduction to study of Public Administration มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับ Goodnow และ Wilson เขายังได้เพิ่มเรื่องการเลื่อนขั้นวินัยขวัญและเน้นเรื่องที่ Goodnow เขียนไว้อย่างละเอียด

- Max Weber ได้เสนอบทความเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการ ถือว่าเป็นบิดาทางด้านบริหารราชการมีแนวคิดของหลักการบริหารที่มีเหตุผล มีการแบ่งงานกันทำ มีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นลงมา มีผู้ชำนาญการในสายงานต่าง ๆ การปฏิบัติงานต้องมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น

- Frederick W. Taylor เสนอวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) สนใจหลักเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญหรือชำนาญเฉพาะอย่าง (Specialization) อันเป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นในการเข้าใจองค์กรรูปนัย เพราะการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะอย่าง จำเป็นต้องมีการประสานงานอีกด้วย

- Henri Fayol ได้เสนอแนวคิดที่มีลักษณะเป็นสากลสำหรับนักบริหาร โดยกล่าวถึงองค์ประกอบขั้นมูลฐานของการบริหารได้แก่

1. การวางแผน (Planning)

2. การจัดองค์กร (Organizing)

3. การบังคับบัญชา (Commanding)

4. การประสานงาน (Coordinating)

5. การควบคุม (Controlling)

- Luthur Gulick and Lyndall Urwick เป็นนักบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์ บริหารงานโดยหวังผลงานเป็นหลัก ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารสรุปย่อได้ว่า POSDCoRB ดังนี้

1. P = Planning (การวางแผน)

2. O = Organization (การจัดองค์กร)

3. S = Staffing (การจัดคนเข้าทำงาน)

4. D = Directing (การอำนวยการสั่งการ)

5. Co = Coordinating (การประสานงาน)

6. R = Reporting (การรายงาน)

7. B = Budgeting (การบริหารงบประมาณ)

3) ยุคความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Human Relation) เป็นยุคที่มีความเชื่อว่า งานจะบรรลุผลสำเร็จได้ต้องอาศัยคนเป็นหลัก นักบริหารกลุ่มนี้จึงหันมาสนใจศึกษาพัฒนาทฤษฎีวิธีการและเทคนิคทางด้านสังคมศาสตร์พฤติกรรมและกลุ่มของคนในองค์กร สนใจศึกษาแนวทางประสานคนเข้ากับสิ่งแวดล้อมของงานได้ เพื่อหวังผลในด้านความร่วมมือความคิด ริเริ่มและการเพิ่มผลผลิต โดยมีพื้นฐานของความเชื่อว่า มนุษย์สัมพันธ์จะนำไปสู่ความพอใจและสะท้อนถึงผลของการปฏิบัติงาน นักคิดที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่ Elton Mayo มีผลงานมากในแง่ปัญหาบุคคลกับสังคมของอุตสาหกรรม และพฤติกรรมของบุคคลในสภาพแวดล้อมการทำงาน สรุปการทดลอง Hawthorne ได้ว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตของคนงานคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นมาจากการที่คนมาทำงานร่วมกันโดยก่อรูปไม่เป็นทางการ การให้รางวัลและลงโทษเป็นตัวกระตุ้นให้สมาชิกทำงานได้ดีที่สุด การมีส่วนร่วมของสมาชิกจะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของงานและความก้าวหน้าขององค์กร Mary Follette ชาวอเมริกันได้เขียนตำราที่มีแนวคิดในเชิงมนุษย์สัมพันธ์เช่น เขียนเรื่องความขัดแย้ง การประสานความขัดแย้ง กฎที่อาศัยสถานการณ์ และความรับผิดชอบ เป็นต้น Likert เป็นผู้ที่สนใจด้านพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์กร ผลงานที่มีชื่อเสียงมากคือ The Human Organization: Its management and Value และหนังสือ New Patterns of Management

4) ยุค Behavioral Science เป็นยุคที่มีความพยายามศึกษาและวิเคราะห์วิจัยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและค้นคว้าทฤษฎีใหม่ เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นักบริหารที่สำคัญของยุคนี้ได้แก่ Chester I. Barnard, Herbert A. Simon เป็นต้น

* ที่มา

- ดุษฎีนิพนธ์: แนวทางการพัฒนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมโรงโม่บดและย่อยหิน / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ 2562

-------------------------------------------------

ที่มาข้อมูล

-

ภาพและรวบรวมข้อมูล

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่

การจัดการธุรกิจ (Business Management)

-------------------------------------------------

 
 

 

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward