BA Theory แนวคิดและทฤษฎี Frank B. Gilbreth and Lillian Gilbreth
แนวคิดและทฤษฎีของ Frank B. Gilbreth (1868-1924) and Lillian Gilbreth (1978-1972) แนวคิดของ 2 คนนี้ได้สนับสนุนแนวคิดของ Taylor โดย Frank B. Gilbreth หลังออกจากมหาวิทยาลัยมาเป็นช่างก่อสร้างในปี 1855 ขณะมีอายุ 17 ปี ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลการก่อสร้างอาคารของบริษัท และยังเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเอง ในช่วงที่เป็นอิสระจากงานของ Taylor เขาสนใจเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนไหวในการทำงาน โดยลดจำนวนการเคลื่อนที่ในการเรียงอิฐ เขาสร้างความเป็นไปได้ของการทำงานของผู้เรียงอิฐที่ได้งานเป็นสองเท่าของปกติ
ในการทำงานของ Frank B. Gilbreth ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนโดยภรรยาของเขาคือ Lillian ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม ในปี 1924 Frank B. Gilbreth ได้เสียชีวิต Lillian จึงมาเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินธุรกิจตอไป และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นสตรีคนแรก ในงานด้านการจัดการธุรกิจ ทั้งสองคนได้ช่วยกันบุกเบิกงานศึกษาการเคลื่อนไหว (Motion study) ต้นแบบ การพัฒนาศาสตร์ Ergonomics คิดค้นวิธีเรียงอิฐให้ได้งานเป็นสองเท่าในเวลาเท่ากัน ทั้งสองจัดทำภาพยนตร์แสดงการเคลื่อนไหวของคนงาน เพื่อชี้ให้แสดงถึงการเคลื่อนไหวที่สูญเปล่าและไม่มีผลในการผลิต และเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในการทำงาน โดยเรียกความเคลื่อนไหวพื้นฐานนี้ว่า Therblig
Frank Gilbreth เป็นวิศวกร และ Lillian Gilbreth เป็นนักจิตวิทยา ผู้เสนอการศึกษาเรื่องเวลาและการเคลื่อนที่ ในยุคสมัยที่เครื่องจักรเข้ามามีอิทธิพลต่อการทำงานในองค์กรต่างๆ ทำให้เกิดแนวความคิดเพื่อเป็นการตอบสนองต่อเป้าหมายขององค์กรในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน การเพิ่มผลผลิต การสร้างความพึงพอใจในงาน มุ่งค้นหาวิธีที่จะคัดสรร และคัดเลือกคนที่มีความสามารถมากที่สุดเข้ามาทำงาน การฝึกอบรมพนักงาน การตรวจสอบการทำงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงการพิจารณาวิธีการต่างๆ ที่ทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานให้ดีขึ้นตลอดจนสภาพแวดล้อมต้องเหมาะสมกับบรรยากาศเพื่อเอื้ออำนวยต่อการทำงาน
Frank Gilbreth จึงสนใจเครื่องยนต์กลไกที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เป้าหมายก็เพื่อกำจัดการทำงานที่ไม่จำเป็นเขาได้ใช้หลัก “Time and motion economy” ในทุกกิจกรรมจะถูกลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งบางครั้งเรียกว่าประสิทธิภาพในการจัดการงานหรือ efficiency expert มีระบุในหนังสือที่เป็นที่นิยมและหนังเรื่อง Cheaper by the Dozen
ในขณะที่ Lillian Gilbreth เสนอแนวคิดที่ว่าการมีช่วงเวลาที่เหมาะสมจะทำให้คนทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงออกแบบตารางการทำงาน โดยมีช่วงพักกลางวัน ช่วงเวลาพักสำหรับคนทำงาน และยังมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง สภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และการล้มเลิกการใช้แรงงานเด็กอีกด้วย
การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงาน (Time and motion study) หลักการเคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานของการกำหนดมาตรฐานของงานและการคำนวณค่าแรง Gilbreth นั้นสนใจศึกษาถึงการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ในการทำงานว่ามีความสัมพันธ์กับงานและเครื่องมืออย่างไร และทำการพัฒนาเทคนิควิธีการทำงานให้ดีขึ้น ในการทำงานของ Gilbreth พวกเขาทั้งคู่ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครี่องมือ และเทคนิคการทำงานใหม่ๆ พวกเขาเป็นคนแรกที่ใช้ภาพยนตร์ในการวิเคราะห์การทำงานตามขั้นตอนต่างๆ ของคนงานนอกจากนี้ Gilbreth ยังได้ศึกษาถึงความเมื่อยล้าของการทำงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและผลผลิต ผลงานงานของทั้งสองนี้เป็นต้นแบบในการพัฒนาศาสตร์ที่เรียกว่า Ergonomics
การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา (Time and motion study) หรือเรียกว่า การศึกษาการทำงาน (Work study) เป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ของพนักงานรอบบริเวณที่ปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับเครื่องมือเครื่องใช้ หรือความสัมพันธ์กันระหว่างพนักงานกับพนักงานในการปฏิบัติงานแบบกลุ่ม การพิจารณาการเคลื่อนที่ของพนักงานและวัสดุ จะเกี่ยวข้องกับการพยายามที่จะใช้ลักษณะงาน และเครื่องจักรที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำจัดเวลาว่างของงานออกไปให้มากที่สุด ขจัดการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น หรือที่ใช้เวลามากออกไป และพิจารณาความเหนื่อยล้าของพนักงานเป็นหลัก
แนวทาง Therbligs เป็นหลักการของการบริหารจัดการด้านคุณภาพ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่มีอยู่แทบทุกระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น TQM, QCC, Six Sigma หรือ ISO 9000 แนวทาง Therbligs เป็นวิธีการทำงานที่รวดเร็วขึ้น เริ่มที่การแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็นส่วนและกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ที่ทำให้เสียทั้งแรงงานและเวลาออกไป ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นผลดีต่อผู้ปฏิบัติงาน เพราะงานจะสบายขึ้น Therbligs คือ การปฏิบัติงานโดยรวมของงานอย่างหนึ่ง ก็คือการประกอบรวมกันของประเภทของการเคลื่อนไหวองค์ประกอบพื้นฐาน ซึ่ง Gilbreth ได้กำหนดขั้นตอนการทำงานไว้ 18 ขั้น เพื่อให้ผู้สนใจได้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนางาน โดยสัญลักษณ์นั้นแยกตามประเภทตามจุดประสงค์ของการเคลื่อนไหว ดังนั้นจะต้องเลือก Therbligs ให้ถูกต้องโดยคำนึงถึงว่าการเคลื่อนไหวนั้นดำเนินการไปเพื่ออะไร
Lillian Gilbreth สนใจในการทำงานของมนุษย์ ส่วนสามีสนใจในประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งสองคนได้ช่วยกันทำการค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน โดยได้ประยุกต์ใช้การบริหารจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ได้แก่
- เป็นการวิเคราะห์ทุกกิจกรรมของแต่บุคคล ที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานที่มีความสำคัญ
- เป็นการค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นกิจกรรมประกอบแต่ละอย่าง
- มีการปฏิรูปกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพได้คือ ใช้ต้นทุนและเวลาน้อยที่สุด
ข้อดี การศึกษาการทำงาน (Time and motion study) เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความสูญเปล่า ทั้งด้านเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงาน และเพิ่มผลผลิตในการทำงาน
อ้างอิงที่มา
- แนวคิดและทฤษฎี http://ioklogistics.blogspot.com/2018/03/blog-post_11.html
- กรอบแนวคิดในการบริหารจัดการ http://ioklogistics.blogspot.com/2018/03/11.html
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)
-------------------------------------------------