iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

BA Theory แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter The Competitive Advantage of Nations, แบบจำลองเพชรจากความได้เปรียบของประเทศ (Diamond Model of National Advantage) 

 

ศาสตราจารย์ ไมเคิล ยูจีน พอร์เตอร์ (Michael Eugene Porter, Michael E. Porter, Porter, M.E.) เป็นนักคิดนักบริหารและนักเศรษฐศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงในส่วนของการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยเป็นผู้พัฒนาทฤษฎีในเรื่องกลยุทธ์การแข่งขันและการบริหารจัดการ เขาได้เสนอแนวคิดการประยุกต์หลักทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายเรื่อง สามารถใช้ในการนำไปช่วยในการวิเคราะห์การวางแผนและใช้กำหนดกลยุทธ์ของการดำเนินกิจการทางธุรกิจ Porter ได้มีการเขียนหนังสือด้านการบริหารและจัดการหลายเล่มและมีหลายเล่มที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก สรุปแนวคิดและทฤษฎีที่โด่งดังที่มีการนำเสนอที่สำคัญอีกเรื่อง คือ

แบบจำลองเพชรจากความได้เปรียบของประเทศ (Diamond Model of National Advantage) จากหนังสือ The Competitive Advantage of Nations เป็นการนำเสนอทฤษฏีใหม่หลังจากที่ได้ทำการศึกษาและวิจัยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่โดดเด่นทั่วโลกประมาณ 10 ประเทศ เกิดเป็นทฤษฎี แบบจำลองเพชรจากความได้เปรียบของประเทศ (Diamond Model of National Advantage) กล่าวถึงปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อมในงาน ปัจจัยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย

1. Factor Endowment, Factor Condition คือ ปัจจัยในการดำเนินงานหรือปัจจัยทางการผลิต สิ่งที่มีความจำเป็นต้องใส่เข้าไปในกิจกรรม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ ในแต่ละประเทศต่างก็มีปัจจัยทางการผลิตที่แตกต่างกัน ต่างก็ต้องผลิตสินค้าโดยใช้ปัจจัยในประเทศของตัวเองที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แบ่งกลุ่มได้ดังนี้

1.1 Human Resources คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเช่น จำนวนแรงงาน ทักษะ ความชำนาญของแรงงาน ต้นทุนในด้านค่าแรง รวมถึงต้นทุนในด้านการจัดการ ฯลฯ

1.2 Physical Resources คือ ทรัพยากรทางกายภาพความอุดมสมบูรณ์ทรัพยากรธรรมชาติเช่น คุณภาพของที่ดิน แหล่งน้ำ เหมืองแร่ ป่าไม้ ไฟฟ้า สภาพภูมิอากาศภูมิประเทศ ทำเลที่ตั้งของประเทศ

1.3 Knowledge Resources คือ ทรัพยากรด้านความรู้เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เทคนิคนิค วิทยาการการจัดการ ด้านการตลาดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ แหล่งความรู้ในมหาวิทยาลัย หน่วยงานทางสถิติ คู่มือทางด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ รายงานและข้อมูลพื้นฐานทางการวิจัยด้านการตลาด

1.4 Capital Resources คือ แหล่งเงินทุน ต้นทุนของเงินทุนภายในประเทศนั้น

1.5 Infrastructure คือ โครงสร้างพื้นฐานที่มีในประเทศเช่น ระบบขนส่งระบบสื่อสาร ระบบสาธารณสุข วัฒนธรรม คุณภาพชีวิตประชาชน สถานที่ทำงาน หรือที่อยู่อาศัย ฯลฯ

2. Demand Condition คือ เงื่อนไขด้านความต้องการของตลาด ลักษณะความต้องการสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยจะมีความได้เปรียบถ้าความต้องการภายในประเทศมาก จะกดดันให้ผู้ประกอบการมีการเปลี่ยนแปลงมีนวัตกรรมที่รวดเร็ว และมีความเป็นเลิศในการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

2.1 Home Demand Composition ลักษณะของความต้องการของผู้ซื้อในประเทศ การที่ธุรกิจตอบสนองต่อความต้องการของผู้ซื้ออย่างไรพิจารณาจาก

- Segment Structure of Demand โครงสร้างของสัดส่วนด้านความต้องการในประเทศ ถ้ามีความต้องการในประเทศสูงต่อสัดส่วนใด ย่อมทำให้มีข้อได้เปรียบใน Economy of Scale

- Sophisticated and Demanding Buyers ความต้องการของผู้ซื้อหรือคนภายในประเทศ ยิ่งถ้าผู้ซื้อมีความต้องการที่มีมาตรฐานสูงในแง่ของคุณภาพสินค้าหรือบริการ อุตสาหกรรมในประเทศก็ต้องปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของคนในประเทศ

- Anticipatory Buyer Needs การคาดการณ์ล่วงหน้าในความต้องการของผู้บริโภค ประเทศที่คาดการณ์ได้ว่าลูกค้าต้องการอะไรในอนาคต จะเป็นความสามารถที่ทำให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันได้ 

2.2 Demand Size and Pattern of Growth ขนาดความต้องการและรูปแบบของการเติบโต ประกอบไปด้วย

- Size of Home Demand คือ ความต้องการภายในประเทศ ประเทศที่มีความต้องการภายในประเทศมาก ก็จะนำไปสู่ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรม

- Number of Independent Buyers จำนวนของผู้บริโภคที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ประเทศใดมีผู้บริโภคที่มึความเป็นตัวของตัวเอง ก็จะช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมหรือมีสินค้าหลากหลายเกิดขึ้นได้ง่าย

- Rate of Growth of Home Demand อัตราส่วนการเติบโตของความต้องการในประเทศ ยิ่งมีอัตราการเติบโตมากก็แสดงว่ามีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง

- Early Home Demand การรู้ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ยิ่งรู้ความต้องการเร็วเท่าใด ก็ยิ่งเป็นข้อได้เปรียบและช่วยให้อุตสาหกรรมท้องถิ่นผลิตสินค้าได้ก่อนคู่แข่ง 

- Early Saturation (การอิ่มตัวเร็วของสินค้า) ทำให้วงจรชีวิต (Life Cycle) ของสินค้านั้นๆ สั้น ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเกิดความพยายามที่จะยกระดับสินค้าอยู่ตลอดเวลา เป็นตัวกดดันให้เกิดการลดราคาของสินค้า เนื่องจากการอิ่มตัวของสินค้าเร็วทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้น บังคับให้เกิดการตัดราคาและทำให้บริษัทที่ไม่มีความเข้มแข็งพอต้องกระทบกระเทือน

2.3 Internationalization of Domestic Demand ความเป็นสากลของความต้องการในประเทศ เป็นสิ่งที่ช่วยผลักดันให้สินค้าและบริการของประเทศออกสู่ต่างประเทศได้

- Mobile or Multinational Local Buyer การเดินทางและเคลื่อนย้ายของผู้ซื้อ ถ้าคนที่มีความต้องการสินค้า หรือบริการมีการเดินทางและเคลื่อนย้ายบ่อยก็จะทำให้ความต้องการนั้นกระจายออกไป

- Influence on Foreign Needs อิทธิพลที่มีต่อความต้องการในต่างประเทศ ประเทศใดสามารถเป็นผู้มีอิทธิพลในสินค้าได้ ก็จะมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่ทำให้สินค้าของตัวเองกระจายไปสู่สากลได้

2.4 Interplay of Demand Conditions ปัจจัยความต้องการที่เกื้อหนุนกัน การมีความต้องการที่หลากหลายในความต้องการของตลาดเป็นตัวเสริมให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรม

3. Related and Supporting Industries อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน จะได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังนี้

3.1 Competitive Advantage in Supplies Industries ความได้เปรียบในอุตสาหกรรมผู้ผลิต การที่ประเทศมีอุตสาหกรรมที่ประเภทผลิตวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นอยู่แล้ว จะทำให้เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมตามน้ำอีกมากมาย

3.2 Competitive Advantage in Related Industries ความได้เปรียบในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้อง สามารถช่วยให้องค์กรติดต่อหรือช่วยสนับสนุนในด้านสายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain)

4. กลยุทธ์องค์กรโครงสร้างและการแข่งขัน (Firm Strategy, Structure and Rivalry) กลยุทธ์องค์กร โครงสร้างและการแข่งขัน เป็นสิ่งที่องค์กรกำหนดขึ้นมาเช่น เป้าหมายกลยุทธ์การจัดการในด้านต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการเอื้อให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ โดย

4.1 Goal (เป้าหมาย) ได้แก่ เป้าหมายขององค์กร (Company Goal) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมาโดยโครงสร้างของการเป็นเจ้าขององค์กรแรงจูงใจของเจ้าของและเจ้าหนี้ การดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งบทบาทของผู้ถือหุ้น 

4.2 Domestic Rivalry การแข่งขันภายในประเทศ ประเทศที่เป็นผู้นำของโลกในอุตสาหกรรมด้านใดก็ตามมักจะพบว่ามีการแข่งขันในประเทศสูง 

5. นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีบทบาทต่อการเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศอีก 2 ประการ คือ

5.1 Government รัฐบาล ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาล รัฐบาลเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของสินค้าและบริการ ผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลด้านการโฆษณาและด้านอื่นๆ และสภาพการแข่งขันในประเทศของบริษัทได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลด้านภาษี ด้านการป้องกันและผูกขาด ฯลฯ

5.2 Chance เหตุสุดวิสัยหรือโอกาส การเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปได้ที่อาจจะคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ ล้วนมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

 

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่

BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward