BA Theory แนวคิดและทฤษฎี Philip Kotler
Philip Kotler เกิดเมื่อ ค.ศ.1931 จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาแห่งชิคาโก (University of Chicago) และปริญญาเอกจาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมทซาจูเซทท์ (MIT) ทางด้านเศรษฐศาสตร์และการศึกษาขั้นสูงกว่าปริญญาเอกทางด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และทางด้านวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม (Behavioural Science) ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐชิคาโก
Philip Kotler ได้นำเสนอการนำหลักการตลาดทั้งหลายไปประยุกต์ใช้ในโลกปัจจุบัน ทั้งทางด้านธุรกิจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) รูปแบบทางการตลาดขององค์กรและคุณค่าต่อลูกค้าและเป็นที่ปรึกษาในด้านของการวางแผนและกลยุทธ์ทางการตลาด การวางผังองค์กรทางด้านการตลาดและการตลาดระหว่างประเทศ ให้กับบริษัทเช้น ไอบีเอ็ม (IBM) เจนเนอรัลอิเล็กทริก(General Electric) เอทีแอนด์ที (AT&T) ฮันนีเวลล์ (Honeywell) ธนาคารแห่งชาติอเมริกา (Bankof America) สายการบินสวิสแอร์ (SAS Airlines) บริษัทมิชลิน (Michelin) โมโตโรลลา (Motorola) และบริษัทรถยนต์ฟอร์ด (Ford)
นอกจากนี้ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ได้เสนอผลงานวิจัยโดยส่วนใหญ่นั้น เน้นทางด้านการนำหลักการทางการตลาดไปประยุกต์ใช้ และวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน อันนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสู่ตลาด และสามารถวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ในฐานะอาจารย์และผู้นำเสนอแนวคิดหลักทางการตลาดสู่สังคม ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) จึงได้รับเชิญไปแนะนำและบรรยายแก่หลายๆบริษัท ทั่วโลกเช่นยุโรป เอเชียและอเมริกาใต้ เกี่ยวกับการนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์และการตลาดไปปฏิบัติ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กรเหล่านั้น ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ยังได้ให้คำปรึกษากับรัฐบาลต่างๆ ในด้านการพัฒนาและการนำความสามารถที่มีอยู่ของชาติ หรือคนในชาตินั้นๆ หรือในองค์กรนั้นๆ มาทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติอาทิในประเทศไทย ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) กล่าวได้ว่า เป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค และการตลาดแขนงย่อยๆสาเหตุที่ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ได้รับการยกย่องอย่างมากในสาขาทางด้านการตลาด มีดังต่อไปนี้ (The IEBM Handbook of Management Thinking, p. 361.)
- Philip Kotler เป็นผู้ที่เปลี่ยนการอธิบายทางด้านการตลาด จากกิจกรรม (activity) ไปสู่การให้ความสำคัญที่การสรางความเข้าใจว่าการตลาดคืองานทางด้านการผลิต (work of production)
- Philip Kotler ได้ต่อยอดความคิดของ Peter F. Drucker ในการเปลี่ยนความคิดทางการตลาดจากเดิมมุ่งเน้นที่ราคา และการกระจายสินค้า (price and distribution) ไปสู่การเน้นที่พบความต้องการของลูกค้า (meeting customers’s need) และประโยชน์ที่จะได้รับจากผลิตภัณฑ์และบริการ (benefits receivesfrom a product or service)
- Philip Kotler เป็นผู้ขยายขอบเขตของการตลาดให้กว้างขึ้น จากการรับรู้เดิมในมิติของการตลาดว่า เกี่ยวข้องสัมพันธ์ขบวนการสื่อสารและแลกเปลี่ยน (process of communication and exchange) หากแต่ Philip Kotler ได้ขยายกรอบความคิดเหล่านี้ให้ได้เห็นว่าการตลาดนั้น สามารถเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้เช่นกัน อาทิเช่น การกุศล พรรคการเมือง เป็นต้น
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)
-------------------------------------------------