Org ลักษณะกระบวนการขององค์การ (Organizational process characteristics)
ลักษณะกระบวนการขององค์การ มีลักษณะ 4 ส่วนคือ
1. องค์การมีการกำหนดป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานขององค์การ เป้าหมายที่องค์การกำหนดโดยทั่วไปอาจประกอบตัวย เป้าหมายการเจริญเติบโตขององค์การ การเพิ่มกำไร การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด การพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการ ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น
2. องค์การต้องประกอบด้วยระบบการดำเนินงาน เช่น
2.1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบตัวยงินทุน คน เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร เทคโนโลยี เป็นต้น
2.2 กระบวนการแปรสภาพ (Process) หมายถึง กระบวนการบริหาร หรือ กิจกรรมด้านการผลิต กิจกรรมด้านการตลาด เป็นต้น
2.3 ปัจจัยนำออกหรือผลผลิต (Output) หมายถึง ตัวสินค้าหรือบริการ หรือผลผลิตของการปฏิบัติงาน เป็นต้น
2.4 ส่วนข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) หมายถึง ข้อมูลผลตอบสนองที่เกี่ยวกับผลผลิตหรือที่ส่งออก เพื่อใช้ในการนำกลับมาประกอบการปรับปรุงแก้ไขสิ่งในส่วนกระบวนการผลิตแปรสภาพรวมถึงสิ่งที่นำเข้ามาใช้ให้ดียิ่งขึ้น
3. โครงสร้างการออกแบบองค์การ ประกอบด้วย
3.1 มีรูปแบบที่เป็นทางการ คือ องค์การที่ถูกจัดตั้งให้เป็นมาตรฐาน มีแนวทางในการปฏิบัติงานชัดเจนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร
3.2 มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน หมายถึง องค์การที่มีการกำหนดรายละเอียด ในเรื่องการดำเนินงาน เช่น ชั่วโมงการทำงาน วิธีการปฏิบัติงาน ผลงานของงานที่สำเร็จ หรือธุรกิจแฟรนไชน์ต่าง ๆ
3.3 มีอำนาจหน้าที่ตามสายบังคับบัญชา หมายถึง การกำหนดเส้นทางเดินของการกำหนดตำแหน่งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการ การบังคับบัญชาควบคุมและการรายงานผลงาน
3.4 มีหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษา หน่วยงานหลักคือ หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง สำหรับหน่วยงานที่ปรึกษาคือหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนหน่วยงานหลักในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
3.5 มีการจัดแผนกงาน หมายถึง การที่องค์การแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยแล้วนำมาจัดไว้ในฝ่ายดียวกัน เช่น ฝ่ายตลาด ประกอบด้วยแผนกการขาย ส่งเสริมการขาย บริการหลังการขาย เป็นต้น
3.6 มีการแบ่งงานตามความถนัดเฉพาะด้าน หมายถึง ลักษณะงานที่เหมือนกันหรือต้องใช้เทคนิคความรู้ความสามารถหรือทัษะที่หมือนกันจะถูจัดให้อยู่ด้วยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
4 สภาพทั่วไปขององค์กร ประกอบต้วย
4.1 ขนาดขององค์การ หมายถึง จำนวนพนักงานในองค์การ จำนวนทรัพย์สิน เป็นต้น
4.2 วัฒนธรรมขององค์การ หมายถึง การสะท้อนถึงลักษณะบรรทัดฐาน ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลภายในองค์การ เป็นต้น
4.3 เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในระบบย่อยของกระบวนการผลิตหรือกระบวนการบริหารจัดการขององค์การ
4.4 กลยุทธ์ขององค์การ หมายถึง การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือทิศทางขององค์การ ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงการกำหนดแผนกลยุทธ์ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้
ประเภทขององค์การ สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. องค์การแบบปฐมและองค์การแบบมัธยม
- องค์กรแบบปฐม หมายถึง องค์การที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีการติดต่อสัมพันธ์แบบส่วนตัว ไม่มีพิธีการมาก ไม่มีวัตถุประสงค์อะไรเป็นสำคัญ เช่น ครอบครัว เพื่อนบ้าน
- องค์การแบบมัธยม หมายถึง องค์การที่สมาชิกมีความสัมพันธ์แบบมีเหตุมีผล และเป็นผลเนื่องมาจากบทบาทและหน้าที่ที่ถูกกำหนดโดยองค์กร ดังนั้น วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์การแบบนี้จึงเป็นการจัดตั้งเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิก เช่น บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานราชการ สโมสรมหาวิทยาลัย เป็นต้น
2. องค์การแบบเป็นทางการ หมายถึง องค์การที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ มีการกำหนดโครงสร้างของกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน มีรายละเอียดเกี่ยวกับสายบังคับบัญชา ความสัมพันธ์ของอำนาจหน้ำที่ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสาร การกระจายอำนาจ เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนชัดเจนแน่นอน
3. องค์การแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง องค์การที่มีลักษณะของโครงสร้างไม่แน่นอนไม่มีการกำหนดสายสัมพันธ์ของสมาชิก ไม่มีกฎระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ เช่น ชมรม กลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น
4. องค์การแบบยึดหลักวัตถุประสงค์ขององค์การ หมายถึง องค์การที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่างบางประการตามความต้องการของสมาชิก เช่น องค์การเพื่อสังคม องค์การเพื่อสาธารณภัย องค์การเพื่อศาสนา องค์การที่ไม่แสวงหากำไร เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมขององค์การ (Organizational Environmen) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อการดำเนินงานขององค์การทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งปัจจัยของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ และสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
1. สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เป็นแรงขับภายในองค์กรและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ต่อการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย
1.1 สิ่งแวดล้อมด้านโครงสร้างขององค์กร เช่น โครงสร้างขององค์การ มาตรฐานการปฏิบัติงานขององค์การ
1.2 สิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ เช่น ทักษะความสามารถของผู้บริหาร ความสามารถของพนักงาน เจ้าของและผู้ถือหุ้น เป็นต้น
1.3 สิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรองค์การ เช่นเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์
1.4 สิ่งแวดล้อมด้านเทคโนโลยี เช่น การเลือกใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ การวิจัยและการพัฒนา
15 สิ่งแวดล้อมด้านการบริหาร เช่นตันทุนของเงินทุน แหล่งที่มาของเงินทุน
1.6 สิ่งแวดล้อมค้นวัฒนธรรม เช่นทัศนคติค่านิยม ความเชื่อ
2. สิ่งแวดล้อมายนอกองค์กร หมายถึง ปัจจัยต่งๆ ภายนอกองค์กรที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมีผลกระทบต่อการบริหารองค์การ ประกอบด้วย
21 สิ่งแวดอมตันศรษกิจ ชนกรชะลอตัวของเศรษฐกิจ การกิดภาระงิงค์
22 สิ่งแวดล้อมด้านสังคม เช่น ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไป
23 สิ่งแวดล้อมค้นการเมือง เช่น การเมืองมีการเปลี่ยนแปลง การเมืองไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบาย ย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหารองค์การ
24 สิ่งแวดล้อมค้นเทคโนโลยี เช่น การพัฒนาความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
25 สิ่งแวดล้อมค้นระหว่างประเทศ ช่นการจับกลุ่มเพื่อการคของอียู เป็นตัน
26 สิ่งแวดล้อมค้นคู่แข่งขัน เช่น เงินทุนของคู่แข่ง ขนาดธุรกิจของคู่แข่งขัน
27 สิ่งแวดล้อมค้นประชาทร เช่น จำนวนประชากร พฤติกรรมในการบริโภค
28 สิ่งแวดล้อมค้นกฎหมาย เช่น กฎหมายแรงงาน อัตราภาษีต่าง ๆ ฯลฯ
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว Innovation เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Org ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การ (The Basic Knowledge of Organization)
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
การจัดการธุรกิจ (Business Management)
-------------------------------------------------