PM ตารางบริหารทักษะในการทำงาน (HR Skill Matrix)
นิยาม ความรู้ ความสามารถ และทักษะ
- ความรู้ คือ ข้อมูล ข่าวสารที่ได้เรียนรู้และสามารถจำได้เมื่อต้องการใช้งาน
- ทักษะ คือ การประยุกต์ใช้ความรู้ในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้ผล เป็นการทำงานที่เน้นที่ผลงาน เน้นว่าต้องทำอะไรได้ การกำหนด ทักษะจึงเป็นเรื่องการกำหนด ผลของงานที่ต้องทำได้
- ความสามารถ คือ การแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะ
จากนิยามจะเห็นว่า การกำหนดความสามารถของพนักงานที่จำเป็นในการทำงาน คือ การกำหนดความต้องการในสิ่งที่จะแสดงให้เห็นว่า พนักงานนั้นสามารถใช้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงานได้ดี สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้จริงและจะต้องได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพมีมาตรฐาน
ตารางบริหารทักษะในการทำงาน (Skill Matrix) ในการทำงานที่เป็นระบบมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน ISO9000:2005, ISO9001 ฯลฯ ส่วนใหญ่จะมีการกำหนดทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่ต้องมี เพื่อให้การยืนยันว่าการทำงานที่เกิดขึ้น จะได้ผลดีสอดคล้องต่อข้อกำหนดของงานและได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีมาตรฐาน
ตารางบริหารทักษะในการทำงาน (Skill Matrix) ใช้กำหนดการบริหารงานบุคคล เพื่อใช้วางแผนกำหนดตำแน่งงาน การกำหนดหน้าที่เช่น อะไรเป็นสิ่งที่จะที่บอกได้ว่าพนักงานคนไหนควรต้องทำได้ ความรู้ความสามารถในการทำอยู่ในระดับใด เพื่อทำการประเมินผลงาน และใช้วางแผนปรับปรุงพัฒนาบุคลากรต่อไป การกำหนดบริหารจัดการทักษะจะทำให้เกิดการพัฒนาบุคลากรที่ดี และเป็นการเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้สามารรถทำงานได้ในหลากหลายงาน สามารถปรับเปลี่ยนขบวนการทำงานแทนกันได้ในกรณีที่จำเป็น และช่วยให้เลือกคนมาทำงานกับเครื่องจักรที่เหมาะสมได้
การเริ่มบริหารจัดการทักษะ
1. การกำหนดนโยบาย
- ต้องมีการกำหนดมาจากผู้บริหารระดับสูง โดยกำหนดให้มีความขัดเจนว่าต้องการที่จะพัฒนาพนักงานให้มีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในหลายด้าน
- ทำการผลักดันสนับสนุนในการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายว่า พนักงานในส่วนไหนต้องได้รับการพัฒนาในเรื่องใด
- มีเป้าหมายในการพัฒนาที่จะให้พนักงานมีความสามารถด้านใด ควรกำหนดให้มีคนละหลายด้าน
- กำหนดเป้าหมายให้กับ พนักงานว่าแต่ละคน ต้องมีความสามารถปฏิบัติงานได้กี่ชนิด ภายในระยัเวลากี่เดือน โดยมีตารางการพัฒนาความรู้และทักษะในงานที่ชัดเจน
- การกำหนดหน่วยงานและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
- การกำหนดแผนงานที่มีระยเวลา งบประมาณ และเป้าหมายที่ครอบคลุมครบถ้วน
- กำหนดให้มีวิธีการวัดการตรวจประเมินผลที่สามารถตอบความต้องการที่เหมาะสม
- การจัดทำรายงานความก้าวหน้านำเสนอ
2. กำหนดวิธีการวัด ในการตรวจวัดประเมินผล ควรต้องมีการกำหนดนิยามของงาน โดยมีการจัดระดับแบ่งความสามารถที่ดี และนำมาจัดทำเป็น ตารางบริหารทักษะในการทำงาน (Skill Matrix) เพื่อใช้ติดตามประเมินผลโดยอาจดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
- จัดทำบอร์ดประจำแผนก ทุกแผนกที่มีส่วนในตาราง
- ทำตารางลงรายชื่อตามข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ โดยป้ายที่ทำควรต้องทำให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะ 2-3 เมตร
- ดำเนินการแนะนำการประเมิน และเริ่มทำการสอบถามนำผลที่ได้มาสรุปติดเครื่องหมายให้ทุกคนเห็น
- ทำการประชุมหน้าบอร์ด โดยฝ่ายบริหารและพนักงานในพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- ทำความเข้าใจผลที่ได้ ติดตามความคืบหน้า ให้กำลังใจพนักงานในแต่ละระยะ
ตำแหน่งงานที่ควรต้องมีการระบุทักษะ กรณีที่มีพนักงานมากในระยะแรกเริ่มทำ อาจไม่จำเป็นต้องทำกับทุกคนทุกตำแหน่ง ควรเลือกทำในตำแหน่งงานที่มีผลกระทบต่อข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ (Product Requirement) ตำแหน่งที่มีผลต่อการทำงานหรือผลิตภัณฑ์ก่อน เช่น ผู้ที่ทำงานในส่วนงานฝ่ายผลิต, ฝ่าย QC, ฝ่ายแผน, ฝ่ายวิศวกร, ฝ่ายเทคนิค, ฝ่ายขาย ฯลฯ เน้นที่กลุ่มคนที่เกี่ยวพันกับข้อกำหนด โดยการพิจารณาผู้ที่จะมาในตำแหน่งนี้ตวรต้องดูจาก
- ควรต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้
- ควรมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง ที่ต้องรู้หรือต้องมีมาก่อนทำงาน
- ความรู้และทักษะอะไรบ้าง ที่ไม่ต้องรู้หรือไม่ต้องมีมาก่อนทำงาน ก็สามารถทำงานได้
- เมื่อใดที่ผู้ดำรงตำแหน่ง ต้องผ่านการอบรมเพื่อให้มีความรู้ ทักษะตามที่กำหนดไว้
- ข้อกำหนดอื่นเพิ่มเติม ตามความเหมาะสม ซึ่งถ้าผู้ดำรงตำแหน่งมีแล้ว จะช่วยให้ทำงานในหน้าที่ได้ดีขึ้นเช่น การอบรมคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัย ฯลฯ
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)
HR บริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
-------------------------------------------------