Tool แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) หรือ แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram)
แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) หรือ แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) บางครั้งเรียกว่า Ishikawa Diagram ซึ่งเรียกตามชื่อของ Dr.Kaoru Ishikawa ผู้ซึ่งเริ่มนำผังนี้มาใช้ในปี ค.ศ. 1953 เป็นผังที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะ ทางคุณภาพกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นแผนภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง (Effect) กับสาเหตุ (Causes) ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้นๆ ปัญหาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ อาจมีหลายสาเหตุ จึงต้องมีการแจกแจงสาเหตุต่างๆ ออกมาให้ชัดเจนทั้งนี้เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจและการหาแนวทางแก้ปัญหาให้ตรงประเด็น แผนผังแสดงเหตุและผลเรียกอีกชื่อว่า ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรือผังอิชิกาวา (Ishigawa Diagram) วิธีการดำเนินงานแผนผังแสดงเหตุและผล
1.ระบุผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการขององค์การ หรือผลลัพธ์ที่ต้องการให้บรรลุอยู่ปลายสุดของลูกศร
2.ระบุสาเหตุหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้นๆ องค์ประกอบหลักหรือสาเหตุหลักที่นิยมใช้ในผังแสดงเหตุและผล คือ 4M
· Man คน
· Machine เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์
· Material วัตถุดิบ หรือวัสดุ
· Method วิธีการทำงาน
3. ระบุสาเหตุย่อยลงในกิ่งสาเหตุหลัก กำหนดความสำคัญของสาเหตุหลักต่างๆ และหามาตรการแก้ไข
กว่า แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) มักใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลที่เกิดเป็นปัญหา (Problem) กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา (Cause)การใช้แผนภูมิรูปคล้ายก้างปลา ใช้ค้นหาสาเหตุแห่งปัญหาและทำการศึกษา ทำความเข้าใจ ทำความรู้จักกับกระบวนการและใช้ในการระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนสนใจใน ผลที่เกิดในรูปของปัญหาที่มี ซึ่งจะแสดงไว้ที่ หัวปลา วิธีการสร้างแผนผังสาเหตุและผลหรือผังก้างปลา สิ่งสำคัญในการสร้างแผนภูมิคือ ควรต้องทำเป็นคณะทีมงานเป็นกลุ่ม ผ่านการระดมความคิดร่วมกัน โดยมี 6 ขั้นตอนประกอบด้วย
1. กำหนดปัญหาที่สนใจไว้ที่ตำแหน่งของ หัวปลา
2. กำหนดสาเหตุจะทำให้เกิดปัญหา ไว้ตามตำแหน่งของตัวปลา
3. กำหนดปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดปัญหา ไว้ตามตำแหน่งของก้างปลา หาสาเหตุในแต่ละปัจจัย
4. กำหนดสาเหตุของปัจจัยหลักที่พบ ไว้ตามตำแหน่งแยกย่อยในแต่ละก้างปลา ระบุสาเหตุปัจจัยหลักของปัญหาให้มากที่สุด
5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุของปัจจัยที่มี เพื่อจัดกลุ่มการแก้ไขปัญหา
6. คัดเลือกแนวทางและเครื่องมือที่มี ใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาตามที่จำเป็น
การกำหนดปัจจัยหลักบนก้างปลา
การกำหนดปัจจัยหลักบนก้างปลานั้น สามารถที่จะกำหนดกลุ่มปัจจัยอะไรก็ได้ตามความสำคัญและความสนใจที่มี แยกกลุ่มตามจุดประสงค์เป้าหมายของงาน กลุ่มที่กำหนดไว้เป็นปัจจัยหลักนั้นควรจะช่วยให้เราแยกแยะและกำหนดสาเหตุที่มีได้อย่างเป็นระบบ ในงานอุตสาหกรรมการผลิตเราอาจใช้หลักการ 4M-1E เป็นกลุ่มปัจจัย (Factors) เพื่อจะนำไปสู่การแยกแยะสาเหตุประกอบด้วย
M - Man คนงาน พนักงาน หรือบุคลากร
M - Machine เครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
M - Material วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
M - Method ขั้นตอนงานที่มี กระบวนการทำงาน
E - Environment สิ่งแวดล้อมที่มี ลักษณธของสถานที่ และบรรยากาศในการทำงาน
การกำหนดแผนภูมิก้างปลา ไม่จำเป็นต้องใช้ 4M-1E เท่านั้น เพราะหากเราไม่ได้อยู่ในงานด้านการผลิตปัจจัยที่จะนำเข้า (input) ในการวิเคราะห์ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามเรื่องที่สนใจได้เช่น งานด้านการตลาดก็อาจใช้ปัจจัยนำเข้าด้านการตลาดแทนคือ 4P ได้แก่ Place, Produce, Price และ Promotion แทนในปัจจัยหลักที่จะวิเคราะห์ หรือในกรณีที่กลุ่มหัวข้อจากประสบการณ์ในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะนำหัวข้อนั้นมากำหนดเป็นปัจจัยหลักให้เหมาะสมกับปัญหาที่จะต้องแก้ไขตั้งแต่แรกเลยก็ได้
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------