การสร้างกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix จาก SWOT Analysis
จาก การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร 4 ด้าน (SWOT analysis) ได้แก่ จุดแข็งจุดเด่นของธ
TOWS Matrix เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำหรับการสร้างกลยุทธ์ใหม่ จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กร ที่มีการต่อยอดมาจาก การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร 4 ด้าน (SWOT analysis) ด้วยการจับคู่ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกขององค์กร
1. กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) เป็นการจับคู่ระหว่างจุดแข็งร่วมกับโอกาส (Strength-Opportunity) เป็นสถานการณ์ที่ดีที่สุดที่ต้องการให้เกิด กลยุทธ์ในส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด SO Strategy ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งของธุรกิจร่วมกับโอกาสที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากบางครั้งจุดแข็งเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้ จึงจำเป็นต้องมองถึงโอกาสในปัจจุบันหรือโอกาสที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จเป็นไปอย่างก้าวกระโดด หรือที่เรียกกันว่า “ถูกจุดถูกเวลา”
2. กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) เป็นการจับคู่ระหว่างโอกาสและจุดอ่อน (Weakness-Opportunity) แม้ในองค์กรจะมีจุดอ่อนแต่ภายนอกยังเอิ้อให้ไปต่อได้ ที่จะพยายามใช้โอกาสที่มีมาลดหรือบรรเทาจุดอ่อน เนื่องจากทุกเรื่องมักจะมีจุดอ่อนซึ่งอาจเป็นกระบวนการดำเนินงานหรือการที่ธุรกิจยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด โดยบางครั้งการอุดจุดอ่อนอาจเป็นเรื่องของจังหวะเวลา ที่จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจแก้ไขจุดอ่อนหรือลดทอนจุดอ่อนของตัวเองลงไปได้ ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วม กัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข ทั้งนี้เนื่องจากองค์การมีโอกาสที่จะนำแนวคิดหรือวิธีใหม่ ๆ มาใช้ในการแก้ไขจุดอ่อนที่องค์การมีอยู่ได้
3. กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) เป็นการจับคู่ระหว่างจุดแข็งและอุปสรรค (Strength-Threat) ซึ่งจะใช้จุดแข็งที่มีในการตั้งรับกับอุปสรรคที่มี การใช้จุดแข็งมาป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน ทั้งนี้เนื่องจากองค์การมีจุดแข็งขณะเดียวกันองค์การก็เจอกับสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัดจากภายนอกที่องค์การควบคุมไม่ได้ แต่องค์การสามารถใช้จุดแข็งที่มีอยู่ในการป้องกันข้อจำกัดที่มาจากภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรบุคคลหรือเครื่องมือในองค์กรก็ตาม เนื่องจากหลายองค์กรที่กำลังเติบโตอย่างมาก มักมีความต้องการใช้จุดแข็งเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์เชิงรุกเพียงอย่างเดียว จนอาจมองข้ามการนำจุดแข็งมาเตรียมรับมือกับอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น การวางกลยุทธ์ที่ดีไม่ใช่แค่เพียงการมุ่งไปข้างหน้า แต่ยังจำเป็นต้องระมัดระวังตัวให้รอบด้าน เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้ธุรกิจสะดุดหรือล้มได้
4. กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) เป็นการจับคู่ระหว่างจุดอ่อนและอุปสรรค (Weakness-Threat) เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ควรใช้การตั้งรับเพื่อแก้ไขจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่มีเน้นการป้องกันตัว ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ ทั้งนี้เนื่องจากองค์การเผชิญกับทั้งจุดอ่อนและข้อจำกัดภายนอกที่องค์การไม่สามารถควบคุมได้ กลยุทธ์นี้จะแตกต่างจากอีก 3 กลยุทธ์ข้างต้น เนื่องจากมีไว้เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามา ไม่ได้ใช้เพื่อหวังมุ่งไปข้างหน้า แต่เป็นกลยุทธ์เชิงรับที่มีไว้เพื่อพยุงสถานการณ์ของที่เกิดขึ้นไม่ให้แย่ลง ด้วยการพยายามบรรเทาปัญหาหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาเกิดเพิ่ม
จากตาราง TOWS หากเอา การวางตำแหน่งองค์กร (Boston Consulting Group (BCG) มาใช้ร่วมในการวางแผนจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
----------------------------------------