WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งตามฤดูกาล ขึ้นอยู่กับความต้องการตามฤดูกาล (SOS Analysis)
การวิเคราะห์จัดแบ่งตามฤดูกาล (SOS Analysis) คือ การจัดกลุ่มตามฤดูกาล นิยมใช้ในงานการจัดการคลังสินค้า เพื่อให้สามารถดำเนินการการจัดการเตรียมคลังให้พร้อมกับความแปรผันที่เกิดตามฤดูการ ความสามารถที่มีการแปรผันไปตามฤดูกาล กำหนดได้ชัดเจนแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ ในฤดูกาล (Seasonality) และอยู่นอกฤดูกาล (Off Seasonality) ซึ่งจะใช้ทั้งในส่วนของผู้จำหน่าย (Supply) และส่วนของลูกค้า (Demand) การแปรผันการฤดูการหากมีการบริหารจัดการที่ดี จะช่วยในการปริหารวัตถุดิบในการผลิต และการจัดการสินค้าคงคลังและการขนส่งกระจายสินค้าที่เหมาะสมได้ การวิเคราะห์ SOS สามารถเลือกได้เมื่อเราต้องการกำหนดฤดูกาลของสินค้าและฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการจัดหาผลิตภัณฑ์เหล่านั้น
ตัวอย่าง การวิเคราะห์ในส่วน
- ฤดูกาลส่วนผู้จำหน่าย (Supply) เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรกรรม ที่มีช่วงระยะเวลาที่ออกชัดเจน จะมากและน้อยแปรเปลี่ยนไปตามช่วงฤดูกาล เป็นต้น
- ฤดูกาลส่วนของลูกค้า (Demand) เช่น ชุดนักเรียนจะมียอดจำหน่ายมากในช่วงเปิดเทอม หรืออุปกรณสงการณต์ที่มีช่วงระยะเวลาขายเพียงช่วงต้นเดือนเมษายน เป็นต้น
การจัดการตามฤดูกาล จะใช้ระบุรายการที่สามารถจัดหาและใช้งานได้ โดยจะมีเฉพาะในช่วงเวลาจำกัดของแต่ละปี และมีช่วงระยะเวลาที่หมุนเวียนกลับมาที่ค่อนข้างจะแน่นอนทุกปีเช่น ผลไม้พวก ทุเรียน สับปะรด มะม่วง ที่จะมีมากเฉพาะในช่วงฤดูกาลหน้าร้อนเท่านั้น หากต้องการวางแผนจัดเก็บวัตถุดิบเพื่อให้มีเพียงพอใช้งาน การระบุรายการที่เป็นตามฤดูกาลจะมีค่าใช้จ่าย แตกต่างกับการออกแบบให้มีพร้อมในการใช้งานตลอดทั้งปี และค่าใช้จ่ายที่มีในการจัดการสิ่งเป็นนอกฤดูกาลมักจะค่อนข้างสูง
การจัดการกับรายการที่อยู่นอกฤดูกาล การจัดการควบคุมสินค้าคงคลังในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลมีหลายวิธี การที่จะใช้แต่ละวิธีเน้นวิธีการที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเป็นหลัก เพื่อนำมาดำเนินการควบคุมสินค้าคงคลังแบบมีช่วงฤดูกาล
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------