ดัชนีความพร้อมของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (The Singapore Smart Industry Readiness Index: SIRI) ของสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ โดย คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสิงคโปร์ (EconomicDevelopment Board: EDB) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลภายใต้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Trade and Industry: MTI) มีหน้าที่ดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำให้ประเทศสิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางด้านการทำธุรกิจการลงทุน ในด้านการผลิตที่มีนวัตกรรมและมีขีดความสามารถระดับโลก ได้มีการพัฒนาดัชนีความพร้อมของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (The Singapore Smart Industry Readiness Index) ร่วมกับ TUV SUD ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการทดสอบการตรวจประเมินและให้การรับรอง และบริการด้านความรู้และเทคนิคอย่างครบวงจรระดับโลก ขึ้นในปี พ.ศ. 2560 และทำการตรวจสอบโดย ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา การออกแบบดัชนีความพร้อมอุตสาหกรรมนี้ใช้กับทุก อุตสาหกรรมภาคการผลิตและทุกขนาด ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาวิธีการที่เป็นระบบโดยให้เกิดความตระหนักระหว่างทุก ภาคส่วนด้วยภาษาที่เช้าใจร่วมกัน (Common Language) เพื่อช่วยให้แต่ละบริษัทเช้าใจอุตสาหกรรม 4.0 ซัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถระบุถึงโอกาสและประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมที่ตนจะได้รับจากอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้บริษัททราบสถานภาพชองตนว่าอยู่ในช่วงการพัฒนาใดชอง Industry 4.0 Maturity และช่วยให้บริษัทมีจุดเริ่มต้น ในการริเริ่มดำเนินการปฏิรูปอุตสาหกรรมทีละชั้นเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย ประเทศสิงคโปร์ มีการออกแบบดัชนีการประเมินครอบคลุมส่วนประกอบหลักชองอุตสาหกรรม 4.0 ใน 3 มิติหลัก และมีประเด็นย่อย 8 หัวข้อ ดังนี้
1) Technology หมายถึง เทคโนโลยีดิจิทัลบ'น'ระบบ Cyber Physical Systems (CPS) ประกอบด้วย ระบบอัตโนมัติ (Automation) การเชื่อมต่อการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลชองอุปกรณ์และเครื่องจักร (Connectivity) และ ระบบอัจฉริยะในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ วินิจฉัยป้ญหาและการระบุโอกาสที่จะต้องทำการ ปรับปรุง (Intelligence)
2) Process หมายถึง กระบวนการผลิตที่มีการประยุกต้ใช้เทคโนโลยีที่มีการออกแบบและพัฒนาที่ด็ สามารถทำให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจสูงสุด โดยสามารถบูรณาการและเชื่อมต่อกับทุกกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่ คุณค่าชองบริษัท (Supply Chain) การปฏิบัติการ (Operation) และอายุชองผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle)
3) Organization หมายถึง องค์กรจะต้องมีการปรับโครงสร้าง การวางแผน กลยุทธ์และการบริหารจัดการ (Structure & Management) รวมถึงการเตรียมความพร้อมทักษะที่จำเป็น (Talent Readiness) ชองบุคลากร ใน การที่จะซับเคลื่อนและริเริ่มดำเนินการพัฒนาองค์กรสู่อุตสาหกรรม 4.0
การสร้างสังคม Industry 4.0 ระดับเอเชีย ด้วยแผนพัฒนาประเทศสิงคโปร์ที่ต้องการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงเช่นเดียวกับเยอรมนีและอเมริกา สิงคโปร์จึงเป็นเจ้าภาพจัดงาน Hannover Messe ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มาจัดในเอเชียเป็นครั้งแรก ในชื่องาน Industrial Transformation ASIA-PACIFIC 2018 ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2561 ณ Singapore Expo เพื่อเป็นเวทีการ เรียนรู้ระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในภาคการผลิต การแลกเปลี่ยนกรณีศึกษา การเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมงานยังรวมถึงนักเรียนนักศึกษาผู้ซึ่งเป็นอนาคตของสิงคโปร์ต่อไป
สิงคโปร์ยังคงแนวคิดที่ใช้ในการริเริ่มดำเนินโครงการต่างๆ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ Think Big, Start Small, Act Fast โดยคิดการณ์ใหญ่ให้รอบด้านในหลากหลายมิติ ก้าวข้ามปัญหา และมองผลกระทบที่เกี่ยวข้อง จากนั้นการเริ่มดำเนินการจากขอบเขตเล็กๆ ก่อน และลงมือดำเนินการอย่างรวดเร็วตามขั้นตอน โดยมีการแก้ไขปัญหาและปรับแผนกลยุทธ์ให้ทันเหตุการณ์ ในกระบวนการพัฒนาตัวดัชนีประเมินนี้ก็เช่นกัน คือมีการวางแผนและทำงานเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบ การกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ทั้งยังสามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาดัชนีความพร้อมของ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ หลังจากดัชนีผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว มีการนำร่องทดลองประเมินกับ 300 บริษัทในทุกอุตสาหกรรมและทุกขนาด ทั้งบริษัทข้ามชาติ (Multi-National Corporations) และ SMEs
พร้อมทั้งมีการออกแบบหลักสูตร เพื่อพัฒนาผู้ประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพ และจะเริ่มดำเนินการประเมินผลลัพธ์ บนดิจิทัลแพลตฟอร์มเต็มรูปแบบและเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmarks) ในต้นปี 2562 พร้อมจัดให้มีแรงจูงใจสิทธิประโยชน์ (Incentive) และเครื่องมือที่จำเป็นในการขับเคลื่อน Industry 4.0
ที่มาข้อมูล Economic Development Board, Singapore
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่