iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

การยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เส้นทางสู่อนาคตเศรษฐกิจดิจิทัล

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ

ที่มา https://iok2u.com/article/industry/industry4-index-thai-all

 

 


ปัญหาและความสำคัญ

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลายประเทศต่างมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งนำโดยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น โรบอทส์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติ ประเทศไทยเองก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงได้ริเริ่มแผนพัฒนา "Thailand i4.0" โดยจัดทำระบบวิเคราะห์และประเมินธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตในชื่อ ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย (Thailand i4.0 Index) การดำเนินการในเรื่องนี้จะมีผลดีอย่างมากต่อการขับเคลื่อนองค์กรในภาคอุตสาหกรรม ให้มีสามารถประเมินตัวเองหาจุดอ่อนและช่องว่างในการพัฒนาตัวเองให้ก้าวสู่ การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมช่วยทำให้โรงงานอุตสาหกรรม ช่วยให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ดวามเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงองค์กรให้เป็นมาตรฐานเพิ่มขึ้น ทราบจุดอ่อนข้อบกพร่องหรือช่องว่างที่มีในการทำงานว่าจะต้องปรับปรุงองค์กรของตนในด้านใด และควรเริ่มปรับปรุงด้านใดก่อนควรใช้กลยุทธ์อย่างไร เพื่อให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติหลัก 6 มิติ

.

ภาพดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย (Thailand i4.0 Index)
ที่มา https://www.nstda.or.th

ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย (Framework of Thailand i4.0 Index) แบ่งเป็น 6 มิติหลัก (Dimensions) และ 17 มิติย่อย ได้แก่

มิติ 1 เทคโนโลยี (Technology) ความพร้อมของระบบการผลิต ระบบบริหารและธุรการ ขององค์กร และระบบการจัดการ Facilities ที่เป็นแบบ เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) และ เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology) ที่เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติตั้งแต่ การควบคุมการผลิต การจัดการสถานที่และองค์กร และเชื่อมต่อทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ได้แก่

เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่การควบคุมการผลิตการจัดการสถานที่และองค์กร และเชื่อมต่อทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ได้แก่
มิติย่อยที่ 01 ระบบอัตโนมัติในงานการผลิต (Production Automation)
มิติย่อยที่ 02 ระบบอัตโนมัติในองค์กร (Enterprise Automation)
มิติย่อยที่ 03 ระบบอัตโนมัติในงานอำนวยความสะดวก (Facility Automation)

เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology) การนำระบบเครือข่ายมาใช้ช่วยในการทำงาน ทำการเชื่อมโยงการส่งข้อมูลในองค์กร เช่น เชื่อมโยงระบบการผลิต เชื่อมโยงระบบบริหารธุรการขององค์กร และเชื่อมโยงระบบช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้ระบบมีความสามารถเชื่อมโยงการทำงานเกิดเครือข่ายการส่งข้อมูลทั้งระบบแบบไร้รอยต่อ สามารถแสดงผลข้อมูลเพื่อตอบสนองการทำงานได้ทั้งระบบในเวลาทันที ระบบเครือข่ายประกอบด้วย ความพร้อมของระบบการผลิต ระบบบริหารธุรการขององค์กร และระบบการจัดการ Facilities ในการทำงาน ได้แก่
มิติย่อยที่ 04 การเชื่อมโยงเครือข่ายในงานการผลิต (Production Network)
มิติย่อยที่ 05 การเชื่อมโยงเครือข่ายในองค์กร (Enterprise Network)
มิติย่อยที่ 06 การเชื่อมโยงเครือข่ายในระบบอำนวยความสะดวก (Facility Network)

มิติ 2 ระบบอัจฉริยะในการทำงาน (Smart Operation) ส่งเสริมการใช้ระบบควบคุมการทำงานแบบอัจฉริยะมาช่วยในการทำงาน ทำการสั่งการระบบให้เกิดการทำงานที่รวดเร็ว ยกระดับความสามารถในองค์กร เช่น ระบบการผลิตอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะในการจัดการบริหารงานธุรการขององค์กร และระบบอัจฉริยะช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้ระบบที่มีการทำงานแบบชาญฉลาด บริหารจัดการและปรับเปลี่ยนได้ในตัวระบบเอง มีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลสามารถดำเนินการทำงานไปในทางเดียวกันอย่างคล่องตัวเชื่อมโยงการทำงานเกิดเครือข่ายการส่งข้อมูลแบบไร้รอยต่อ สั่งการทำงานระบบได้โดยอัตโนมัตและในเวลาทันที ได้แก่
มิติย่อยที่ 07 ระบบอัจฉริยะในงานการผลิต (Smart Production)
มิติย่อยที่ 08 ระบบอัจฉริยะในองค์กร (Smart Enterprise)
มิติย่อยที่ 09 ระบบอัจฉริยะในงานอำนวยความสะดวก (Smart Facility)

มิติ 3 ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction) การบูรณาการระบบและการจัดการภายในองค์กรและระหว่างองค์กร การบูรณาการโครงสร้างภายในองค์กร โดยเชื่อมต่อกระบวนการต่างๆ แบบแนวตั้งหรือแบบปิรามิด และการเชื่อมต่อกันระหว่างห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ได้แก่
มิติย่อยที่ 10 การบูรณาการภายในองค์กร (Internal Integration)
มิติย่อยที่ 11 การบูรณาการภายนอกองค์กร (External Integration)

มิติ 4 ตลาดและลูกค้า (Market & Customers) การบริหารและจัดการที่เกี่ยวข้องความต้องการของตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ การรวบรวมและจัดการข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายและสภาพตลาด เพื่อการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจการออกแบบและวางแผนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่
มิติย่อยที่ 12 การวิเคราะห์การตลาด (Market Analysis)
มิติย่อยที่ 13 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)

มิติ 5 กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) กระบวนการทำงานและการนำพาองค์กรจากผู้บริหารไปสู่พนักงาน การวางแผนและพัฒนาขององค์กรสู่ Industry 4.0 โดยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและการร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก การบริหารจัดการทางกลยุทธ์และโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ได้แก่
มิติย่อยที่ 14 การบริหารจัดการจากบนลงล่าง (Top-down Managements)
มิติย่อยที่ 15 กลยุทธ์ในด้านอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Strategy)
มิติย่อยที่ 16 การทำงานร่วมกันระหว่างบริษัท (inter-company Collaboration)

มิติ 6 ทุนมนุษย์ (Human Capital) การบริหารและจัดการทางทรัพยากรบุคคลขององค์กร การพัฒนาความสามารถและศักยภาพของพนักงานด้วยกระบวนการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางในปัจจุบันและอนาคต มู่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ได้แก่
มิติย่อยที่ 17 การเรียนรู้ของพนักงาน (Workforce Learning)

ประโยชน์ที่ได้ การยกระดับอุตสาหกรรม "Thailand i4.0" คาดว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้

- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานใหม่และเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ
- พัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนจะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น
- ลดความเหลื่อมล้ำ โอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและการศึกษาจะกระจายอย่างทั่วถึงมากขึ้น
- รักษาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยลดมลพิษและทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยยังเผชิญกับหลายอุปสรรคที่ท้าทายหลายด้าน เช่น
- การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ แรงงานไทยส่วนใหญ่ยังมีทักษะที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0
- โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ล้าหลัง ประเทศไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ไม่เพียงพอ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
- การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผู้ประกอบการไทยหลายรายยังมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อลงทุนในเทคโนโลยีใหม่
- กฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย กฎระเบียบบางอย่างยังไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0
แนวทางการขับเคลื่อน เพื่อให้แผน "Thailand i4.0" บรรลุเป้าหมาย ควรต้องมีการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ดังนี้
- ภาครัฐ สนับสนุนด้านเงินทุน พัฒนากฎระเบียบ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
- ภาคเอกชน ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนาทักษะแรงงาน และสร้างนวัตกรรม
- ภาคการศึกษา พัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0
- ประชาชน เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี และสนับสนุนสินค้าและบริการของไทย

บทสรุป

ความรู้และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับงาน อุตสาหกรรม 4.0 จะใช้เพื่อจัดทำรายงานประเมินระดับความพร้อมองค์กรในงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีจุดมุ่งหมายวางแผนจัดการควบคุมกลยุทธ์ยกระดับการทำงานสู่ อุตสาหกรรม 4.0 พิจารณาที่โครงสร้างต้นทุนและปัจจัยแห่งความสำเร็จ ใช้กำหนดแผนการพัฒนาบูรณาการระบบ (System Integrators) ให้เหมาะสมกับองค์กร ตอบโจทย์กลยุทธ์ในการยกระดับอุตสาหกรรม
การยกระดับอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่การเป็น อุตสาหกรรม 4.0 เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยไปสู่ยุคดิจิทัล จำเป็นต้องมีการร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนแผนนี้ให้บรรลุเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ได้ จะทำให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่มั่นคง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสิ่งแวดล้อมได้รับการรักษาควบคู่ร่วมกันไปอย่างยั่งยืน

 

 

 

---------------------------------------------

สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)

---------------------------------------------

 

ที่มาข้อมูล 

ที่มาภาพและรวบรวมโดย  www.iok2u.com 

---------------------------------------------

สนใจข้อมูลเรื่องราวอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มเติม คลิกที่นี่

อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล

---------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward