การประเมินความพร้อมในการเพิ่มผลผลิต (Productivity Again Readiness Assessment) ของไต้หวัน
สถาบันเพิ่มผลผลิตไต้หวัน (China Productivity Center) มีการพัฒนาเครื่องมือการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรม ในชื่อ การประเมินความพร้อมในการเพิ่มผลผลิต (Productivity Again Readiness Assessment: The i-Bench Assessment) ขึ้นในปี พ.ศ. 2560 โดยให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประเมินสมรรถนะบริษัทของตนเอง โดยแบ่งการประเมินเป็น 4 มิติและมี ประเด็นย่อยทั้งหมด 16 หัวข้อ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1) Organization strategy กลยุทธ์องค์กร ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ การบริหารงาน (Visionary Management) การวางแผนกลยุทธ์องค์กร (strategic Planning) ระบบการปฏิบัติการที่ช่วยในการตัดสินใจ (Operation Management) และฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource) ที่เอื้อต่อการพัฒนาองค์กรสู่ อุตสาหกรรม 4.0
2) Smart Manufacturing ระบบอุตสาหกรรมอัจฉริยะที่ประกอบด้วยระบบการผลิตที่เชื่อมต่อกันโดย สมบูรณ์ด้วยระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์และเครื่องจักรมีความสามารถในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งระบบการ ควบคุมคุณภาพ ครอบคลุม 4 หัวข้อ ได้แก่ ระบบการจัดการแบบ Lean (Lean Management) ระบบ กระบวนการผลิตอัจฉริยะ (Smart Production) ระบบการให้บริการอัจฉริยะ (Smart Service) และระบบการ ประเมินสมรรถะ (Performance Evaluation)
3) Drive for Smart Technology ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ในการใช้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหารจัดการการผลิต การปรับปรุงและเกิดความล่าน้อยที่สุด
4) Value Innovation การสร้างนวัตกรรมเซิงคุณค่าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและเพิ่มการเจริญเติบโตของธุรกิจ
การประมวลผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมของไต้หวัน จะแสดงผลลัพธ์คล้ายกับผลลัพธ์ของ IMP3 rove Academy ของเยอรมนี ที่ผลลัพธ์การประเมินของบริษัทจะเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmarks) ที่เป็นค่าเฉลี่ย (Average) และที่เป็นผู้นำในแต่ละมิติ (Champions) ซึ่งจะช่วยให้บริษัททราบสถานภาพของตน ว่าอยู่ในช่วงการพัฒนาใดของ Industry 4.0 Maturity รวมถึงทราบสมรรถนะหรือช่องว่าง (Gap) เพื่อจะได้สามารถระบุปัญหาในการปรับปรุงและพัฒนาในมิตินั้นต่อไป มิติใดเมื่อเปรียบเทียบแล้วเกิดช่องว่างหรือมีระยะห่างกับผู้ที่เป็นผู้นำในมิติด้านนั้นมาก บ่งบอกถึงความจำเป็นและลำดับในการที่ต้องแก้ปัญหาในมิติด้านนั้นก่อน สถาบันเพิ่มผลผลิตของไต้หวันค่อนข้างมีการทำงานเชิงรุก จึงมีการเสนอทางเลือกเพื่อการปรับปรุงและการพัฒนาให้แก่ SMEs อุตสาหกรรมภาคการผลิตที่มีความสนใจยกระดับกระบวนการผลิตของตนให้สูงขึ้น และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐด้วยเช่นกัน
.
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล