ระบบการเปลี่ยนแปลง (Transformation System) หรือ (Manufacturing System)
ระบบการเปลี่ยนแปลง (Transformation System) หรือ ระบบการผลิต (Manufacturing System) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดการสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิตดำเนินการผลิตไปตามลำดับขั้นตอนของการกระทำก่อนหลัง จึงจัดการอยู่ในรูปแบบการผลิต
จากรูประบบการเปลี่ยนแปลง (Transformation System) หรือ ระบบการผลิต (Manufacturing System) หมายถึง กระบวนการที่นำเอาสิ่งของหรือวัตถุดิบนำเข้า ไปสู่ขั้นตอนหรือกระบวนการเพื่อทำการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งผลจากการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและเกิดเป็นการเพิ่มมูลค่า โดยจะเห็นว่าการนำเข้าแม้จะมีสิ่งเดียวกัน แต่หากไปเข้าสู่กระบวนการจัดการที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันก็จะทำให้ได้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันได้หลากหลาย เนื่องจากจะมีปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้เป็นสิ่งที่มาคอยกำหนดควบคุม และยังจะมีตัวกำหนดภายในที่เราสร้างคือขั้นตอนการทำงานแผนกระบวนการ ซึ่งทั้งสองปัจจัยนั้นจะเป็นตัวกำหนดผลลัพท์ที่ได้ออกมา สรุปปัจจัยที่มีผลต่อระบบการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
1. ปัจจัยการผลิต (Input)
-วัสดุ (Material)
- ชิ้นส่วน (Spare Part)
- แรงงาน (Labor)
- ผู้ผลิต (Supplier)
- เงินทุน (Capital)
- ข้อมูล (Data)
2. ปัจจุัยภายนอกเงื่อนไขแวดล้อม (Condition)
- วัตถุประสงค์ (Object)
- สภาพเศรษฐกิจ (Economy)
- ลูกค้า (Customer)
- ซัพพลายเออร์ (Suppliers)
- เทคโนโลยี (Technology)
- การแข่งขัน (Competition)
3. วิธีการ (Method)
- กระบวนการ (Process)
- ความรู้ (Knowledge)
- การติดตามตรวจสอบ (Monitor)
- เครื่องมืออุปกรณ์ (Machine)
- การควบคุม (Control)
- กฎระเบียบ (Rule)
4. ระบบการเปลี่ยนแปลง (Transformation System) หรือระบบการผลิต (Manufacturing System)
- การเปลี่ยนแปลง (Alteration)
- การตรวจสอบและกำกับ (Inspector)
- การขนส่ง (Transportation)
- พื้นที่เก็บข้อมูล (Storage)
- การตลาด (Marketing)
- ระยะเวลา (Time)
5. ผลผลิต (Output)
- สินค้า (Good)
- ผลิตภัณฑ์ (Product)
- บริการ (services)
- การควบคุม (Control)
- สารสนเทศ (Information)
ยกตัวอย่างการผลิตในภาพ ปัจจัยการผลิตส่วนที่ 1 จะเห็นว่าประกอบด้วย ข้าว กุ้ง และเครื่องปรุง สามสิ่งเหมือนกัน แต่สามารถออกผลผลิตข้อ 5 ได้เป็นอาหารหลากหลายชนิด สิ่งเหล่านี้เกิดจากผลของการจัดการผลิตในข้อ 4 จะเห็นว่า ส่วน 1 สิ่งนำเข้าแม้จะเป็นสิ่งเดียวกัน แต่มาผ่านขั้นตอนที่ต่างกันในส่วน 4 ที่มีการจัดการในกระบวนการที่ 3 มาดำเนินการ ก็จะทำให้เห้เกิดผลลัพท์ข้อ 5 ที่แตกต่างกันมากมาย และทุกสิ่งที่จะเป็นตัวมากำหนดให้ใช้กระบวนการอะไรในส่วนที่ 3 มาจากปัจจัยประกอบในส่วนที่ 2 คือ จุดประสงค์ ลูกค้า ผู้ขาย เวลา สถานการณ์ ความต้องการ มูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีมากมาเป็นตัวกำหนดให้ผู้ผลิต เลือกขั้นตอนกระบวนการในส่วนที่ 3 มาทำการผลิตส่วน 4 ยกตัวอย่าง จากรูปดังนี้
- รูปแบบในช่วงเช้า อากาศยังเย็น บางคนไม่อยากกินมาก นอนตื่นสดชื่น เร่งรีบไปทำงาน
1. ข้าว กุ้ง และเครื่องปรุง
2. เวลาช่วงเช้า
3. สูตรทำข้าวต้ม หม้อต้ม และเครื่องปรุงข้าวต้ม
4. ทำเป็นข้าวต้มกุ้ม
5. ได้สินค้าราคาประมาณ 35 - 70 บาท
- รูปแบบในช่วงเที่ยง อากาศร้อน บางคนอยากกินมาก หิวทำงานหนัก เร่งรีบไปทำงาน
1. ข้าว กุ้ง และเครื่องปรุง
2. เวลาช่วงเที่ยง
3. สูตรทำข้าวผัด กะทะ และเครื่องปรุงข้าวผัด
4. ทำเป็นข้าวผัดกุ้ง
5. ได้ข้าวผัดกุ้ง สินค้าราคาประมาณ 60 - 120 บาท
- รูปแบบในช่วงเย็น อากาศเริ่มเย็น คนเริ่มกินมากมีเวลานั่งคุยสังสรรค เรื่อยๆ ไม่เร่งไม่รู้จะกลับบ้านนอนกี่โมง
1. ข้าว กุ้ง และเครื่องปรุง
2. เวลาช่วงเย็นเลิกงาน
3. สูตรทำกับแกล้ม หม้อต้มกะทะ และเครื่องปรุงสารพัด
4. ทำเป็นกับแกล้ม
5. ได้กุ้งแช่น้ำปลา กุ้งอบวุ้นเส้น สินค้าราคาประมาณ 150 - 300 บาท
จากตัวอย่างจะเห็นว่า ส่วนที่ 1 เหมือนกันจะได้ผลลัพท์ที่มีมูลค่าแตกต่างกัน แต่แม้จะรู้ว่ากระบวนการ 3 ตัวไหนจะทำให้ได้ผลลัพท์ส่วน 5 ที่ต่างแต่ก็ใช่ว่าจะทำได้เช่น ถ้าเรามาทำกุ้งแช่น้ำปลาขายตอนเช้า แม้ราคาจะสูงแต่ก็อาจไม่ได้ขายเพราะปัจจัยในข้อ 2 ควบคุมอยู่
ดังนั้นการคิดจะทำอะไรต้องมองให้ครอบคลุมในทุกด้าน และที่สำคัญที่สุดคือสิ่งที่ใช้นำเข้า
ดูเพิ่มเติมที่ การนำขยะเข้าจะได้ผลลัพท์ขยะออก (Garbage In Garbage Out, GIGO) เพราะส่วนสำคัญในความสำเร็จ คือ สิ่งตั้งต้นนั่นเอง
-------------------------------------