iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
 ปัญญาประดิษฐ์ (AI) แบ่งประเภทตามการนำเข้าข้อมูล (Input)
 

 

 

 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) หมายถึง ความสามารถของเครื่องจักรหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงานทดแทนการทำงานเดิม ที่ต้องใช้สติปัญญาของมนุษย์ในการตัดสิน เช่น การรับรู้ภาพ การรู้จำเสียง การตัดสินใจ และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ

ประเภทปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) อาจแบ่งประเภทตามการทำงานของ AI ตามประเภทของข้อมูลนำเข้า (input) ที่พบนิยมใช้มาก ได้แก่ ข้อความ (Text), รูปภาพ (Image), วิดีโอ (Video) หรือเสียง (Voice) ตัวอย่างในการแบ่งประเภทมีดังนี้

1. ข้อมูลนำเข้าแบบตัวข้อความหรือตัวอักษร (Text) มีผลลัพท์ออกมาในหลายรูปแบบ เช่น

1.1 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นข้อความและผลลัพธ์ที่ได้เป็นข้อความ (Text-to-Text: T2T) เป็นการทำงานที่นำข้อความ (Text) ป้อนเข้าไปในระบบทำการประมวลผล ก่อนที่ได้ผลลัพธ์ตอบกลับมาเป็นข้อความ (Text) เช่น ตัวแปรข้อความ (Language Models) เช่น GPT-3 ที่สามารถรับข้อความเข้ามาและสร้างข้อความที่เกี่ยวข้องออกมา เช่น การแปลภาษา การเข้าใจและตอบคำถาม การสร้างเนื้อหา เป็นต้น

1.2 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นข้อความและผลลัพธ์ที่ได้เป็นรูปภาพ (Text-to-Image: T2I) 

1.3 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นข้อความและผลลัพธ์ที่ได้เป็นวิดีโอ (Text-to-Video: T2V) 

1.4 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นข้อความและผลลัพธ์ที่ได้เป็นเสียง (Text-to-Sound: T2S) 

2. ข้อมูลนำเข้าแบบรูปภาพ (Image)มีผลลัพท์ออกมาในหลายรูปแบบ เช่น 

2.1 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นรูปภาพและผลลัพธ์ที่ได้เป็นข้อความ (Image-to-Text: I2T) เช่น การตรวจจับวัตถุในรูปภาพ การสร้างคำบรรยาย (Captioning) ของรูปภาพ การตรวจสอบความเหมาะสมของภาพ ใช้ในการตรวจสอบภาพหรืออ่านข้อมูลจากภาพ เช่น OCR (Optical Character Recognition) เพื่อแปลงข้อความจากภาพเป็นข้อความที่สามารถแก้ไขได้ เป็นต้น

2.2 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นรูปภาพและผลลัพธ์ที่ได้เป็นรูปภาพ (Image-to-Image: I2I)

2.3 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นรูปภาพและผลลัพธ์ที่ได้เป็นวิดีโอ (Image-to-Video: I2V) 

2.4 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นรูปภาพและผลลัพธ์ที่ได้เป็นเสียง (Image-to-Sound: I2S) เช่น การสร้างเสียงโดยใช้ AI ทำให้เกิดเสียงคนพูดจากข้อความที่พิมพ์ไว้ เป็นต้น

3. ข้อมูลนำเข้าแบบวิดีโอ (Video) มีผลลัพท์ออกมาในหลายรูปแบบ เช่น

3.1 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นวิดีโอและผลลัพธ์ที่ได้เป็นข้อความ (Video-to-Text: V2T) เช่น การสร้างคำบรรยายหรือสรุปเนื้อหาของวิดีโอ การตรวจจับและเชื่อมโยงเหตุการณ์ในวิดีโอ เป็นต้น 

3.2 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นวิดีโอและผลลัพธ์ที่ได้เป็นรูปภาพ (Video-to-Image: V2I)

3.3 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นวิดีโอและผลลัพธ์ที่ได้เป็นวิดีโอ (Video-to-Video: V2V) 

3.4 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นวิดีโอและผลลัพธ์ที่ได้เป็นเสียง (Video-to-Sound: V2S) 

4. ข้อมูลนำเข้าแบบเสียง (Sound) มีผลลัพท์ออกมาในหลายรูปแบบ เช่น

4.1 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นเสียงและผลลัพธ์ที่ได้เป็นข้อความ (Sound-to-Text: S2T) ตัวอย่างเช่น การแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ (Speech-to-Text) การใช้ในระบบสังเคราะห์เสียงหรือในแอปพลิเคชันการแปลภาษา หรือการใช้ตรวจจับและตีความอารมณ์หรืออารมณ์ในเสียงพูด (Speech Emotion Recognition) เพื่อช่วยตรวจจับว่าเสียงพูดเป็นมีสุขภาพจิตหรือความเครียดอย่างไรแค่ไหน เป็นต้น

4.2 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นเสียงและผลลัพธ์ที่ได้เป็นรูปภาพ (Sound-to-Image: S2I)

4.3 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นเสียงและผลลัพธ์ที่ได้เป็นวิดีโอ (Sound-to-Video: S2V) 

4.4 แบบข้อมูลนำเข้าเป็นเสียงและผลลัพธ์ที่ได้เป็นเสียง (Sound-to-Sound: S2S) 

นอกจากนี้ยังมีประเภทอื่น ๆ ของ AI ที่เราอาจพบเจอในชีวิตประจำวันในอนาคต เนื่องจากความคืบหน้าในการพัฒนายังเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้ามาก สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและนำมาใช้งานได้กับประเภทข้อมูลมากมายอย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดี ตัวอย่างเช่น

- Recommender Systems: ประเภทนี้ใช้ในการแนะนำสิ่งต่าง ๆ แก่ผู้ใช้ อาจเป็นการแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้องในออนไลน์ หรือเพลงหรือภาพยนตร์ที่คล้ายกับสิ่งที่ผู้ใช้ชอบ

- Autonomous Vehicles: AI ใช้ในรถยนต์อัตโนมัติเพื่อช่วยในการควบคุมและการนำทางโดยไม่ต้องมีคนขับขี่

- Game AI: AI ใช้ในเกมเพื่อสร้างตัวละครคอมพิวเตอร์ที่มีพฤติกรรมและตอบสนองต่อผู้เล่น.

- AI in Healthcare: AI นำเข้าใช้ในการวินิจฉัยโรคหรือการคาดการณ์ความเสี่ยงของโรค.

- Robotics AI ใช้ในหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานหรือการนำทางในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน

แต่ละประเภทจะมีการนำเอา AI ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนา เพื่อให้สามารถใช้งานกับประเภทข้อมูลที่นำเข้าได้ ซึ่งทำให้ AI สามารถมีประสิทธิภาพและใช้งานได้กับประเภทข้อมูลนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้เสมอไป

-

ที่มาข้อมูลภาพ www.iok2u.com


---------------------------------

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) รวมข้อมูลทั้งหมด.

---------------------------------

  

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward