- Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) คือ
ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หมายถึง ชุดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ มีความซับซ้อนในโครงสร้างข้อมูล และมีรูปแบบที่หลากหลายชนิดข้อมูล บิ๊กดาต้า อาจเกิดจากการได้มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมารวมกันเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น โซเชียลมีเดีย (social media) จากการทำธุรกรรมออนไลน์ (online transactions) เครือข่ายเซ็นเซอร์ (sensor networks) เป็นต้น
Gerd Leonhard นักคิดนักเขียนเกี่ยวกับอนาคต (Futurist) ชาวสวิส ได้เคยพูดไว้ในปี 2013 ว่า “อนาคตภายใน 6-7 ปี ข้อมูลจะมีคุณค่าทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองมากกว่าพลังงาน” Gerd ได้สรุปในเบื้องต้นว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจของโลกได้เคลื่อนตัวจากการที่เคยขับเคลื่อนด้วยพลังงานน้ำมัน (Oil) ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data) ซึ่งในอดีตเราคงคุ้นเคยกับกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน (Big Oil) กลุ่มบริษัทผู้ค้าน้ำมันยักษ์ใหญ่ทั้ง 5 บริษัทที่เราคุ้นเคยได้แก่ บีพี, เซพรอน, เอ็กซอนโมบิล, เชลล์ และโทเทล
การจัดการในแนวคิดที่กำลังมาแรงคือเรื่อง ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ทำให้เกิดการมีข้อมูลมากมายหลายรูปแบบจากหลายแหล่งที่มา ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะเป็นเรื่องของข้อมูลที่มีจำนวนมากมายหลายแบบและยังขนาดใหญ่โตมากจนบางคนเรียกว่าอภิมหาข้อมูล
การกำหนดนิยามของ บิ๊กดาต้า (Big Data) มาจากองค์ประกอบข้อมูลที่มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ หรือที่เราเรียกว่า 3V คือ ปริมาณ (volume) ความเร็ว (velocity) หรือความหลากหลายของข้อมูล (variety) ที่ทำให้การทำงานด้านสารสนเทศข้อมูลมีความยากต่อการนำมาทำการจัดเก็บประมวลผลและนำไปวิเคราะห์เป็นสารสนเทศ โดยใช้การทำงานการประมวลผลฐานข้อมูลแบบเดิม การเกิด ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ 5 ส่วน คือ
1. ข้อมูลมีปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็ว (Volume) จนทำให้การจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลเดิมทำได้ยาก และอาจจะไม่สามารถจัดเก็บได้ทั้งหมดต้องมีการจัดเตรียมที่เก็บข้อมูลที่มีความเฉพาะ
2. ข้อมูลมีรูปแบบที่หลากหลายรูปแบบ (Variety) มีปริมาณแบบการนำเสนอข้อมูลที่มากแบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถเสนอได้ในหลายช่องทางเช่น ข้อความ รูปภาพ วีดิโอ มัลติมีเดีย
3. ข้อมูลจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว (Velocity) เกิดเป็นข้อมูลที่ใหม่ทันสมัยและเพิ่มปริมาณที่มากขึ้นอย่างรวดเร็วจากทุกสื่อทุกช่องทาง เช่น ข้อมูลจาก Social Media ข้อมูล Transaction ข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น
4. ข้อมูลจะมีการปรับเปลี่ยนไปต่อเนื่อง (Veracity ) จากการที่ข้อมูลมีความไม่ชัดเจน ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว (unstructured) อาจมีให้เห็นได้ไม่ชัดเจน (uncleaned) หรือสูญหายล้าสมัยได้ง่าย
5. ข้อมูลมีมูลค่า (Value ) จากการที่ข้อมูลเริ่มมีการนำมาใช้งานเชิงธุรกิจที่มากขึ้นทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการจัดการ
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สามารถนำไปสู่การค้นพบแนวโน้ม รูปแบบ หรือความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ สามารถช่วยในการวางแผนและตัดสินใจในงานที่หลากหลาย เช่น ด้าน การวางแผนขับเคลื่อนองค์กร การออกแบบนวัตกรรม ปรับปรุงการดำเนินงานการผลิต การบริหารการตลาด หรือบริหารด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ปัญหาความท้าทายในงาน ได้แก่ การทำงานที่มีปัญหาเทคนิคที่ทำได้ยาก หรือปัญหาทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับข้อมูล (Data) เช่น ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของข้อมูล การกำกับดูแลข้อมูล การประกันความถูกต้อง และความเที่ยงตรงในการนำข้อมูลมาใช้
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สามารถนำไปสู่การค้นพบแนวโน้ม รูปแบบ หรือความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ สามารถช่วยในการวางแผนและตัดสินใจในงานที่หลากหลาย เช่น ด้าน การวางแผนขับเคลื่อนองค์กร การออกแบบนวัตกรรม ปรับปรุงการดำเนินงานการผลิต การบริหารการตลาด หรือบริหารด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ปัญหาความท้าทายในงาน ได้แก่ การทำงานที่มีปัญหาเทคนิคที่ทำได้ยาก หรือปัญหาทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับข้อมูล (Data) เช่น ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของข้อมูล การกำกับดูแลข้อมูล การประกันความถูกต้อง และความเที่ยงตรงในการนำข้อมูลมาใช้
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)