Big Data case กาแฟ Starbucks ใช้ BI ทำอะไรกันบ้างในธุรกิจ
ร้านกาแฟ Starbucks อันโด่งดังไม่ได้ชงกาแฟคั่วบดหรือสร้างประสบการณ์ต่อลูกค้า จากการนึกคิดหรือประสบการณ์ในการทำธุรกิจเพียงด้านเดียว Starbucks นับเป็นธุรกิจในร้านค้าปลีก (Retail Chains) ที่นำเอาข้อมูลของลูกค้ามาใช้อย่างเป็นระบบ เต็มรูปแบบ เบื้องหลังของกาแฟและการบริการของ Starbucks นั้นมาจากการวิเคราะห์ข้อมูล และการแก้ปัญหาในโลกธุรกิจอย่างแท้จริง Starbucks ใช้ BI (Business Intelligence) ไปใช้ทำอะไรกันบ้างในธุรกิจของพวกเขา
1. ใช้ตัดสินใจเลือกทำเลเปิดร้านสาขาใหม่ SMEs อาจมองเห็นสาขา Starbucks มากมาย บางครั้งก็อยู่ใกล้เคียงกัน บางทีในความรู้สึกอาจะรู้สึกว่าทำอย่างนี้แล้วจะไม่เกิดผลเสียกับธุรกิจล่ะหรือ ? ไม่แย่งลูกค้ากันหรือ ? แต่เบื้องหลังการเปิดสาขาเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์หาทำเลที่ดีมาแล้ว Starbucks ใช้ข้อมูลจากแผนที่ประกอบเข้ากับ BI Platform ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้หาทำเลที่มีประสิทธิภาพในการเปิดร้านสาขาใหม่ๆ โดยพิจารณาจากข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อธุรกิจ
1. ข้อมูลประชากรของลูกค้า
2. ความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่
3. จำนวนรายได้เฉลี่ยในพื้นที่
4. รูปแบบของการจราจรในพื้นที่
5. บริการขนส่งสาธารณะในพื้นที่โดยรอบ
6. ความหลากหลายและประเภทต่างๆของธุรกิจในพื้นที่
ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาสร้างโมเดลของจำนวนคนที่จะเข้าร้านในพื้นที่ และจำนวนการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนของลูกค้าในพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
ด้วยทีม BI ชั้นยอดของ Starbucks รวมกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชาญฉลาด จึงสร้างความได้เปรียบในการมองหาโอกาสและความเป็นไปได้ทางธุรกิจของ Starbucks ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาองค์ความรู้จากข้อมูลสู่ความรู้ในการวางแผนกลยุทธ์ของบริษัทที่ SMEs ไม่ควรมองข้าม
2. พัฒนาตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์และบริการ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยใช้บริการของ Starbucks สิ่งที่คุณไม่เคยรู้ตัวเลยก็คือ ข้อมูลในการใช้บริการทั้งหมดของคุณจะถูกนำไปใช้ ไม่ใช่แค่พัฒนาการเปิดร้านสาขาดังที่กล่าวมาแล้วท่านั้น แต่ยังนำไปพัฒนาเมนูเครื่องดื่มในร้านอีกด้วย ดังนั้นบางครั้งเมื่อคุณเข้าร้าน Starbucks คุณจะพบว่าบางร้านมีเมนูบางอย่างที่ไม่พบเจอในร้านอื่น ยกตัวอย่างเช่น Starbucks ใน America นำข้อมูลที่ได้จากร้านสาขามาวิเคราะห์ และ สร้างเมนูเครื่องดื่มในพื้นที่ที่มีการบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง จึงได้นำข้อมูลนี้มาเลือกสาขาของร้าน เพื่อสร้าง Menu พิเศษที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม และตั้งชื่อเมนูพิเศษนี้ว่า”Starbucks Evenings” ซึ่งเริ่มต้นในปี 2010 และก็ได้มีการขายออกไปในที่ต่าง ๆ จนได้รับความนิยม
3. Starbucks ใช้สร้างความภักดีของลูกค้ากับ Brand หากคุณเข้าร้าน Starbucks และคุณเคยเป็นหนึ่งในสมาชิก “My Starbucks Rewards” หรือใช้ Application ในการชำระสินค้า คุณคือลูกค้าที่ Starbucks สามารถระบุความแตกต่างกับลูกค้าคนอื่น ๆ ได้อย่างชัดเจน Starbucks ใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อมองหาจุดเชื่อมของข้อมูลของคุณในการใช้บริการและผลิตภัณฑ์ ทั้งสินค้าอะไร ที่ไหน และเวลาใด ติดตามดูพฤติกรรมการใช้จ่ายในร้าน Starbucks ของคุณ ซึ่งทีมงานจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์อย่างละเอียดส่งผลให้ Starbucks สามารถออกแบบโปรโมชั่น หรือโฆษณาที่แม่นยำกับลูกค้า รวมไปถึงแผนการลดราคาในช่วงต่าง ๆ แคมเปญเหล่านี้จะถูกส่งตรงเข้ามือถือของคุณ เพื่อสนองความต้องการและสร้างความใกล้ชิด สนิทสนมบนความสัมพันธ์ ด้วยการใช้ BI ของ Starbucks พวกเขาจึงสามารถสร้างตัวชี้วัดมาตรฐานที่จะใช้บ่งบอกความสำเร็จของร้าน Starbucks ทั่วโลก และถูกจัดให้เป็นแบรนด์ด้านอาหารและเครื่องดื่มทรงอิทธิพลในอันดับที่ 2 ของโลก ในปี 2015
SMEs จะเห็นว่าการวิเคราะห์ข้อมูลและ BI คือกลจักรสำคัญของความสำเร็จของ Starbucks จึงไม่เกินเลยหากเราจะถือว่า กาแฟทุกแก้วของ Starbucks นั้น ล้วนมีที่มาจากการจัดการข้อมูลที่แข็งแรงและมีประสิทธิภาพ จนสามารถสร้างคาวมแตกต่างได้อย่างแท้จริง
เรียบเรียงจาก THE ULTIMATE GUIDE ON BIG DATA ANALYTICS & DATA SCIENCE UpX Academy
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)