คำนิยามความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing
ความต้องการ (Requirement) หมายถึง โจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) หมายถึง ในที่นี้จะถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้องการ สำหรับ Cloud Computing แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร (resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ (requirement) จากนั้นบริการ (service) ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
Grid Computing หมายถึง วิธีการประมวลผลที่เกิดจากการแชร์ทรัพยากร (อย่างเช่น CPU สำหรับการประมวลผล)ระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานที่ใช้นโยบายแตกต่างกันไป (คนละบริษัทหรือคนละแผนก) อย่างเช่น องค์กร A กับองค์กร B ต้องการแชร์คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งเพื่อประมวลผลโปรแกรมหรือระบบงานเดียวกัน เมื่อองค์กรที่แตกต่างแชร์ทรัพยากรร่วมกันย่อมมีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน เช่นการกำหนดสิทธิและขอบเขตในการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน เป็นต้น และจำเป็นต้องอาศัยระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความต้องการระบบ Single-Sign-On (หรือการล็อกอินครั้งเดียว แต่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องหรือใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรม) ทั้งนี้ เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้อง ระบบ user account ในการล็อกอินเข้าใช้งานระบบย่อมไม่เหมือนกัน จึงต้องพึ่งพาระบบ Single-Sign-On นั่นเอง
Utility Computing เป็นหลักการแชร์ทรัพยากรที่คล้ายกับ Grid Computing เพียงแต่ว่าทรัพยากรจะถูกมองเสมือนว่าเป็นบริการสาธารณูปโภค (เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์) โดยบริการเหล่านี้ ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพื่อใช้งานได้ตามที่ต้องการ และเวลาจ่ายเงิน ก็จ่ายตามจำนวนหรือช่วงเวลาที่ใช้งานจริง
ประโยชน์ของระบบคลาวด์
- ความคล่องตัว ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างนวัตกรรมได้เร็วขึ้น ไม่ต้องมาสนใจและเสียเวลาในการจัดการกับโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์ข้อมูลเอง เมื่อใช้ระบบคลาวด์แล้วผู้ใช้หรือบริษัทยังสามารถหมุนเวียนทรัพยากรได้ตามที่ต้องการอย่างรวดเร็ว โดยการปรับเปลียนรูปแบบการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ได้หลากหลายแบบในเวลารวดเร็ว ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเทคโนโลยีมากมายหลากหลายแบบ เช่น การประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ ฐานข้อมูล การวิเคราะห์ Machine Learning และบริการอื่นๆ ตามพื้นฐานความต้องการได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงแแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ทีมของผู้ใช้สามารถได้ทดลองและสร้างสรรค์ได้ความคิดได้รวดเร็วและไว และหากการแนวคิดนั้นล้มเหลวผู้ใช้ก็สามารถยกเลิกการจัดเตรียมทรัพยากรได้โดยไม่มีความเสี่ยง
- ปรับใช้ทั่วโลกในไม่กี่นาที ปรับใช้งานแอปพลิเคชันของคุณในหลายภูมิภาคทั่วโลกได้ในไม่กี่คลิก ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถลดความล่าช้า และมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าได้อย่างเรียบง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
- ความยืดหยุ่น ลดปัญหาการที่จะต้องมาจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่มีมากมาย ที่อาจจะเกิดเกินความต้องการลงได้ โดยสามารถทดลองใช้งานจนมั่นใจว่ามีความเหมาะสมคุ้มค่าเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ ผู้ใช้สามารถจัดเตรียมจำนวนทรัพยากรได้ตามที่ต้องการจริงได้ไม่มีจำกัด โดยยังสามารถปรับขนาดเพิ่มหรือลดตามความต้องการของธุรกิจได้ตลอดเวลา ซึ่งลดต้นทุนและปรับปรุงความสามารถให้เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ
- ประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยให้ผู้ใช้เปลี่ยนค่าใช้จ่ายในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบ เช่น ศูนย์ข้อมูล ระบบเซิร์ฟเวอร์ ระบบเครือข่าย หรือด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่มาก มีความผันแปร มาเป็นการเสียค่าใช้จ่ายด้านไอทีเท่าที่จำเป็นและใช้งานจริง และยังช่วยให้มีค่าใช้จ่ายผันแปรที่ถูกกว่าทำเองในกรณีเราใช้งานไม่มากนัก
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่