iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

วัดกระแสนิยม CMS ในโลกคือ Joomla, WordPress และ Drupal โดย Google Trend

หากพูดถึงการสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ คนส่วนใหญ่จะนึกถึงโปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างเว็บ ซึ่งเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า  CMS (Content Management System) อย่างแน่นอน ในปัจจุบันมี CMS ที่นิยมใช้ที่สำคัย 3 ตัวคือ WordPress, Joomla หรือ Drupal การใช้ CMS เป็นที่นิยมมากเพราะใช้ง่ายแม้ในคนที่มีความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรมไม่มากหรือไม่ชำนาญ ก็สามารถพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้

CMS เป็นโปรแกรมที่ง่ายและสะดวกในการใช้งานพัฒนาเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์ยุคใหม่ที่เน้นกันที่เนื้อหามากขึ้น การใช้ CMS ในการทำเว็บไซต์จึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก CMS ที่ได้รับความนิยมในโลกมี 3 ตัวคือ WordPress, Joomla   และ Drupal หลายครั้งที่ผู้ที่คิดจะทำเว็ปไซต์มือใหม่มักถามว่าจะต้องเลือกใช้ตัวไหนดี เพราะในแต่ตัวก็มีข้อดี-ข้อเสียของ CMS อยู่แตกต่างกัน เลยอยากนำเอาทิศทาง (Trend) ของ CMS ทั้ง 3 ตัวมาดู 

จากข้อมูลสถิติที่มีการเก็บข้อมูล CMS โดย Google เจ้าแห่งคำค้น ที่ได้เก็บข้อมูลเว็ปไซต์ที่มีทั่วโลกไว้ และได้ทำการเก็บสถิติไว้ว่ามีทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง โดยเราสามารถดูได้จาก Google Trend ซึ่งมีให้บริการฟรี จากผลการสำรวจนั้น CMS หลายๆตัวมีพื้นฐานระบบต่างกันทั้ง PHP, Python, Java and .NET ผลปรากฎว่าตลาดแทบทั้งหมดผู้นำก็คือ CMS ที่เป็น PHP-Based โดยในปัจจุบัน WordPress ได้เติบโตอย่างสม่ำเสมอมีการเริ่มใช้อย่างรวดเร็ว และแซง Joomla แชมปืเก่าไปได้ในเดือน June 2009 และเริ่มทิ้งห่างไปอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน

วิเคราะห์ CMS ทั้ง 3 ตัว (WordPress, Joomla   และ Drupal) มีการเริ่มต้นที่แตกต่างกัน แต่ในภายหลังเมื่อมีการพัฒนามาเรื่อย จนถึงปัจจุบันพบว่าทั้งสามตัวนั้นสามารถที่จะใช้พัฒนาทำเว็บไซตทั่วไปได้ดีใกล้เคียงกัน โดย CMS ทั้ง 3 ยังคงมีการพัฒนาปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่อง ในขณะนี้ยังมีอนาคตที่ดีทั้งหมดและยังไม่มีใครหยุดพัฒนาแม้ว่าหลายระบบจะมีคนใช้ที่ลดน้อยลง

1. WordPress เป็น CMS ที่เหมาะกับเว็บขนาดเล็ก ในปัจจุบันเป็น CMS ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก เนื่องจากสามารถจัดทำและใช้งานได้ง่าย ตัวระบบเล็กใช้ได้ง่ายไม่มีความซับซ้อน เหมาะกับเว็บองค์กรธรรมดาหรือเว็ปส่วนบุคคล เหมาะกับการทำเว็บบล็อกมากที่สุด  อีกทั้ง WordPress ยังจะได้เปรียบเล็กน้อยในด้านการค้นหาในระบบ SEO ที่จะโดดเด่นกว่า CMS ทุกตัว สาเหตุเหตุความนิยมอีกส่วนหนึ่งอาจมาจากเพราะความง่ายในการใช้งานไม่มีความซับซ้อนของระบบ ทำให้ WordPress เหมาะกับเว็บที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายในการทำและในการดูแล (Cost maintenance) มากนัก โดยระบบสามารถใช้งานจัดทำและเรียนรู้ได้โดยง่ายไม่ต้องใช้ผู้เชียวชาญมากมาย ทำให้สามารถเติบโตและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน 

WordPress เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมีระบบจัดการที่ง่ายและรวดเร็ว ติดตั้งแล้วสามารถใช้งานได้ทันทีรวมทั้งยังมีธีมสวยให้เลือกใช้งานฟรีอีกมาก ทำให้สะดวกในการปรับแต่งหน้าตาที่หลากหลาย การใช้งาน ก่อนเริ่ม WordPress ผู้ใช้งานจะต้องสร้างฐานข้อมูลก่อนการติดตั้งด้วย หากต้องการการทำงานที่ซับซ้อนมีความหลากหลาย WordPress อาจจะไม่เหมาะเพราะว่ามีลิมิตความสามารถของตัวมันเอง อาจต้องมีการซื้อโปรแกรมเสริมของ WordPress ในการทำเว็บที่ซับซ้อน

2. Joomla เป็น CMS ที่เหมาะกับการทำเว็บที่ยังมีความต้องการ (Requirement) ที่ไม่ชัดเจน เพราะ Joomla มีจุดเด่นในความสามารถติดตั้งและนำออกในส่วนเสริม (Extension) ได้ง่าย สมใจลูกค้าที่ไม่รู้เรื่องเว็บไซต์มากมาย Joomla ค่อนข้างมีความสำเร็จรูปในการทำงานเว็บโปรเจ็ค ในกรณีที่ทีมงานมีความรู้และประสบการณ์มากเพียงพอเพราะมีรูปแบบฟังค์ชั้นงานที่เป็นมาตรฐาน มีส่วนเสริมที่มากมายทั้ง Module, Plugin และ Extension หากต้องการความรวดเร็วคือ สร้างเว็บไซต์ที่พร้อมใช้งาน ลงแล้วสามารถใช้งานได้ทันที  Joomla เป็น CMS เป็นทางเลือกที่ดี อีกจุดเด่นคือ Joomla จะสร้างฐานข้อมูลให้เองเลยอัตโนมัติ ที่เป็นข้อได้เปรียบจาก 3 โปรแกรม และเมื่อมีปัญหาอะไรเราสามารถสอบถามผู้รู้ได้เพราะมีคนไทยใช้งานเยอะมาก แต่ควรต้องระวังในส่วนของเว็บไซต์ที่หากต้องมีการขยายตัวในอนาคต เพราะว่าจุมล่าสร้างในลักษณะ Functional Based ไม่ใช่ Architecture Based เหมือน Drupal จึงทำให้การพัฒนาเว็บไซต์ต่อไปในอนาคตอาจทำได้ยาก รวมถึงหากเราต้องการพัฒนาโปรแกรมนอกเหนือจากตัวที่มีให้ก็ลำบากมากไม่สะดวก Joomla มีธีมสวยให้เลือกใช้ฟรีและเสียเงินมากมายอยู่ แม้จะยังมีน้อยกว่า WordPress อยู่

3. Drupal เป็น CMS ที่เหมาะกับเว็บขนาดใหญ่  เนื่องจากมีความสามารถที่สูงแม้ต้องยุ่งยากในการจัดทำมากขึ้น แต่แน่นอนว่าใช้แล้วจะมีรูปแบบที่สวยงาม เว็บองค์กรใหญ่ที่ต้องการสร้างภาพความโดดเด่นมักใช้ระบบนี้ แม้จะมีปัญหาในเรื่องมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าตัวอื่นๆ Drupal สามารถใช้งานได้กับเว็บทุกรูปแบบตั้งแต่เว็บส่วนตัวไปจนถึงเว็บหน่วยงานขนาดใหญ่ แต่การเริ่มต้นใช้งานจะค่อนข้างยากเมื่อเทียวกับ ทั้ง WordPress และ Joomla โดยก่อนเริ่มต้นการใช้งาน Drupal จะต้องสร้างฐานข้อมูลก่อนเหมือนกับ WordPress ทำให้มีหลายคนที่เมื่อเริ่มทดลองใช้แล้วจะถอยกลับไปใช้ WordPress หรือ Joomla แทน Drupal เป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้เวลาศึกษามากกว่า WordPress หรือ Joomla แต่หากชำนาญแล้วก็จะรู้สึกว่าง่าย เพราะทุกอย่างได้วางโครงสร้างมาให้หมดแล้ว ธีมของ Drupal จะมีให้เลือกน้อยมาก ส่วนมากธีมที่สวยนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ ปัญหาที่สำคัญที่สุดของผู้เริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ Drupal ที่พบมากที่สุดคือ หากเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยจะไม่ค่อยมีคนคอยช่วย เพราะว่าสำหรับ Drupal แล้วในประเทศไทยยังมีผู้ใช้งานที่น้อยมาก และหากดูทิศทางผู้ใช้ในอนาคตที่เริ่มลดลงมาก ก็ยิ่งจะทำให้เดาได้ว่ายากที่จะหาคนใช้มาร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานยาก เมื่อเทียบกับระบบ WordPress หรือ Joomla ที่มีผู้ใช้ยังมากอยู่

ในภาพที่กราฟซ้ายบน จะพบว่า Wordpress จะอยู่ในจุดมุนล่างสุด เพราะใช้ง่ายที่สุดแต่อาจจะไม่เหมาะกับงานหรือโปรเจกต์ที่ต้องการความซับซ้อน ส่วน Joomla ก็จะวางตำแหน่งในระดับที่อยู่ตรงกลาง โดยมี Drupal อยู่สุดปลายมุมขวาด้านบน เพราะมีการใช้ที่ยากสุดเมื่อเทียบกับอีก 2 ตัว จึงเหมาะสำหรับงานที่มีความยากหรือโปรเจกต์ที่มีความซับซ้อน

ในภาพที่กราฟขวาบน จะพบว่า Joomla จะอยู่ในจุดกึ่งกลาง เพราะมีการติดตั้งและประมวลผลที่ง่ายกว่า Drupal ในส่วนของการพัฒนาตามความต้องการของลูกค้า (custom functionality) โดย Joomla ก็ยังง่ายกว่า เมื่อเทียบกับกรณีของ Drupal และ Wordpress

การเปรียบเทียบเชิงเทคนิคระหว่าง Joomla กับ Drupal เมื่อดูที่ source code ของ Drupal ก็จะพบว่าการ customize ของ Drupal นั้นยาก เพราะมีที่มาจาก framework ที่ออกแบบมาไว้เฉพาะ ในขณะที่ Joomla วางอยู่บน framework ที่ออกแบบมาดี เป็นแบบ object-oriented และ MVC โดยยังใช้ design pattern หลายแบบเช่น ตัวฟัง (listener) ได้อีกด้วย ปัญหาแม้ว่าจะจ้างโปรแกรมเมอร์ Drupal ทักษะสูง (และค่าตัวแพง) ก็เป็นไปได้สูงอีกนั่นแหละที่ code อาจจะไม่ง่ายในการทำต่อไป และจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกในอนาคตเมื่อเปลี่ยนแปลง code หรือผู้ดูแล

Drupal นั้นให้แนวทางที่เน้น module ในเรื่อง user interface design และ content entry และด้วยเหตุนี้เวบมาสเตอร์จึงมีความยืดหยุ่นสูงสุด ในการสร้างเวบเพจโดยไม่จำเป็นต้องใช้ programming module สำหรับ Drupal เลย ในขณะที่ Joomla มีเครื่องมือเครื่องใช้ component และ module ที่คล้ายกันที่สามารถใช้ได้

การสร้าง custom functionality ใหม่ ในปัจจุบันทุกอย่างถูกบริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ แค่ความยืดหยุ่นคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย content ในเวบเพจ และการมี modular user interface อาจยังไม่เพียงพออีกต่อไป functionality ของ CMS ที่ดีจำเป็นต้องยืดหยุ่นคล่องตัวมากพอ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม CMS ก็มีปัญหาในส่วนของ Custom Development ทีควรจะต้องมีความสามารถที่สูงด้วย เพราะการเป็นระบบเปิด ก็เป็นข้อเสียให้มีโอกาสที่คนสามารถแฮ็คเข้ามาในระบบ CMS ทั้งสามตัวที่กล่าวมาได้ ดังนั้นผู้ที่ใช้ระบบนี้ก็ต้องตัดสินใจแลกบางส่วนในเรื่องความปลอดภัย ความสามารถในการดูแลรักษา และความน่าเชื่อถือของระบบด้วย

----------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward