DATA CATALOG บัญชีข้อมูลภาครัฐ ที่มาและความสำคัญ
บัญชีข้อมูลภาครัฐ (GOVERNMENT DATA CATALOG: GD Catalog) มีที่มาเนื่องจากปัจจุบันเรามีความตื่นตัวในเรื่องของการใช้งาน ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาก หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างเริ่มมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำเอาผลการวิเคราะห์มาใช้ช่วยประกอบในการตัดสินใจหรือช่วยในการดำเนินงานของหน่วยงาน
ความต้องการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศในหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น สังเกตจากการที่มีปริมาณการขอใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงควรที่จะทำให้การปรับปรุงระบบการเลือกใช้ข้อมูลและการสืบด้นหาแหล่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมในการให้บริการหรือนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ ปัญหาที่พบหน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลและผู้ใข้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกซน และภาคประซาสังคม รวมถึงประซาซนทั่วไป
หน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วย รายการข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และประกาศ คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อ 4 (6) อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบ ข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณา การข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ ประซาซนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) ของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใข้ข้อมูลในหน่วยงาน สามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบคัน ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เหมือนกับสมุดหน้าเหลืองในอดีต (Yellow Pages) เพื่อให้ผู้ใข้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐที่มีบริการ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซํ้าซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแล การจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
ในการนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนทั้งสายงานเทคนิคและสายงานธุรกิจได้ทราบถึงความสำคัญ แนวทาง และวิธีการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานอย่างเป็นระบบ เอกสารแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog Guideline) ฉบับนี้ จะเป็นดู่มีอสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเซิงธุรกิจ (Non-Technical Team) และผู้ที่เกี่ยวข้องเซิงเทคนิค (Technical Team) ของหน่วยงาน เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีข้อมูลให้มี มาตรฐานของคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับขุดข้อมูลภาครัฐ ที่มีค'วามสอดคล้องกัน และสามารถรวบรวมเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลาง ตลอดจนสามารถให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกซน และประซาซนต่อไป
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
DATA CATALOG บัญชีข้อมูลภาครัฐ (GOVERNMENT DATA CATALOG)