iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

E-Learning ขั้นตอนการทำงาน ผู้จัดการศูนย์ E-Learning (E-Learning Manager Process)   

 

E-Learning ขั้นตอนการทำงาน ผู้จัดการศูนย์ E-Learning (E-Learning Manager Process) มีหลายเรื่องที่ต้องทำ เช่น

1. การติดตั้งระบบ E-Learning การทำระบบ E-Learning ควรเลือกใช้โปรแกรมที่ใช้ในงานด้าน E-Learning โดยเฉพาะจะดีกว่าการพัฒนาระบบมาใช้เอง โดยปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเช่น โปรแกรม Moodle เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมนี้ได้มีการพัฒนามาต่อเนื่องเพื่อเป็นระบบบริหารเรียนรู้ LMS การทำงานในส่วนการติดตั้งระบบ ประกอบด้วย

- การจัดหาพื้นที่ Server ในการเก็บข้อมูลระบบ ทีมงานได้นำระบบ E-Learning ที่มีไปเก็บไว้ที่ Server ที่ได้มีการจัดเตรียมไว้

- ทำการ Install โปรแกรม Moodle ลงบน Server ที่มีการจัดเตรียมเอาไว้ และทำการกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การจัดการสมาชิกระบบ และการจัดการด้านความปลอดภัยของระบบ เพื่อใช้เป็นระบบบริหารการเรียนรู้ของสำนัก

- เริ่มกำหนดค่าสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับระบบเช่น การกำหนดสิทธิ์สมาชิกและพื้นที่สำหรับการใช้งาน การกำหนดค่าด้านความปลอดภัย ประกาศกำหนดนโยบายการใช้งานระบบ E-Learning

- กำหนดหลักสูตรหมวดการเรียนรู้ รายวิชา ที่มีการกำหนดร่วมกับคณะทำงานพัฒนาระบบการเรียนรู้ E-Learning 

- ดูแลการจัดการสมาชิกในระบบ โดยกำหนดกลุ่มผู้ใช้งาน 6 กลุ่มและติดตามการทำงานในทุกกลุ่ม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาแก่ผู้ใช้งาน

- ดูการทำงานของระบบให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งติดตามดูแลบำรุงรักษาระบบ ให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ และปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ รวมถึงการติดตั้งโมดูลสนับสนุนเพิ่มเติมตามงานที่กำหนด

2. กำหนดหมวดหลักสูตรและรายวิชา เตรียมไว้บริการในระบบ การพัฒนาระบบการเรียนรู้ E-Learning ควรต้องมีการประสานกับกลุ่มผู้กำหนดหลักสูตร ว่ามีการกำหนดรายละเอียดโครงการอย่างไร มี หลักสูตร หมวดหลักสูตร รายวิชา เนื้อหาความรู้ และกำหนดผู้รับผิดชอบไว้อย่างไรบ้าง เพื่อที่จะนำมาสร้างเป็นรายวิชาที่จะใช้เปิดสอน จากนั้นก็จะกำหนดสิทธิ์ให้ ทีมทำงานระบบการเรียนรู้ รับผิดชอบวิชาเรียนตามความชำนาญเชี่ยวชาญของแต่ละคนในงานที่รับผิดชอบแบ่งหมวดความรู้ หมวดหลักสูตรที่เริ่มดำเนินการลงในระบบ E-Learning ไป จากนั้นก็จะมีการประกาศแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการเรียนรู้ในแต่ละหลักสูตรเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ และจัดทำกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการเข้ามาเรียนรู้ในวิชาที่ได้จัดทำเตรียมไว้

3. กำหนดกิจกรรม (Activities) เตรียมไว้ให้บริการในระบบ นอกจากเนื้อหาวิชาความรู้ที่เตรียมในแต่ละหลักสูตรแล้ว โปรแกรมในงาน E-Learning ที่ดีควรต้องมีระบบให้บริการงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ในด้านการเรียนการสอนออนไลนที่หลากหลาย โดยโปรแกรม Moodle ที่ยกตัวอย่างมานี้มีระบบที่สามารถสร้างกิจกรรม เพื่อใช้ในการสนับสนุนการเรียนรู้ในระบบ ให้สามารถเลือกนำมาใช้อีกหลายเรื่อง ซึ่ง คณะทำงานต้องเรียนรู้และพยายามหาวิธีนำกิจกรรมที่มีในระบบมาพัฒนาปรับปรุงระบบให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น กิจกรรมที่โปรแกรมมีเตรียมไว้ประกอบด้วย

- สารานุกรม (Wiki) คือ ระบบจัดการนิยามศัพท์เป็นระบบเปิดที่เข้าจัดการแต่ละความหมายร่วมกันได้

- กระดานเสวนา (Forum หรือเว็บบอร์ด Web board) ให้ผู้สอนและผู้เรียนเข้ามาฝากความคิดเห็นหรือถามตอบ

- การบ้าน (Assignment) คือ การมอบหมายให้ทำงานแล้วกลับมาส่ง ด้วยการอัพโหลด พิมพ์คำตอบ หรือส่งนอกเว็บไซต์ก็ได้

- บทเรียนสำเร็จรูป (Lesson) คือ เนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบเส้นทางการศึกษา ที่แต่ละเนื้อหามีคำถามประเมินความเข้าใจก่อนไปเนื้อหาต่อไป

- ห้องปฏิบัติการ (Workshop) คือ การกำหนดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ สามารถให้คะแนนทีละองค์ประกอบหรือทีละระดับได้ หรือให้นักเรียนทำงานแล้วส่งประเมินได้หลายแบบ

- ห้องสนทนา (Chat) คือ การสนทนาระหว่างผู้เรียน กับผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันแบบออนไลน์ในเวลาจริง ผ่านแป้นพิมพ์

- อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ ให้นักเรียนได้ร่วมกันสร้างพจนานุกรมออนไลน์ โดยให้ความหมายแก่ศัพท์ทีละคำ รวบรวมคำศัพท์ จัดหมวดหมู่ สามารถสืบค้นได้

- แบบทดสอบ (Quiz) คือ ข้อสอบวัดผลการเรียนรู้เพื่อประเมินก่อนเรียนหรือหลังเรียน สร้างคลังข้อสอบ แล้วเลือกมาให้ทำบางส่วน

- แบบสอบถาม (Survey) คือ การสอบถามที่ใช้รูปแบบคำถามที่แตกต่างกัน อาจนำผลมาใช้ปรับปรุงการสอนได้

- โพล (Poll) คือ การสอบถามความคิดเห็น เพื่อระดมความคิดเห็นอย่างเร็ว ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง โดยแสดงความคิดเห็นตามตัวเลือก

- ป้ายประกาศ (Label) ใช้แสดงข้อความ เพื่อประกาศให้ทราบ

- แหล่งข้อมูล (Resources) ใช้เก็บข้อมูล text, html, upload, web link, webpage, program

- สร้างแบบทดสอบ (สร้างคลังข้อสอบเป็น 1000 ข้อ แล้วเลือกมาให้ทำ 100 ข้อ ระบบจะสุ่มให้นักศึกษาทำอัตโนมัติ)

ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้มีการนำระบบกิจกรรมมาใช้เต็มทุกระบบ ผู้ดูแลระบบคงได้แต่ทำเป็นตัวอย่างในบางเรื่องให้ผู้สอนได้ดูเป็นแนวทาง และหากมีหลักสูตรได้สนใจก็สามารถทำเพิ่มได้ตลอดเวลา

4. การปรับเปลี่ยนเริ่มใช้งานระบบใหม่ (Conversion) เพื่อให้ระบบที่มีสามารถดำเนินการได้หลังจากพัฒนาปรับปรุงและประกาศใช้งาน ผู้จัดทำระบบจึงควรจัดทำ คู่มือการทำงาน เพื่อใช้ประกอบการทำงานที่มี โดยเน้นให้ผู้ใช้สามารถทำงานตามชั้นตอน สามารถเพิ่มเติมบันทึกดูแลและแก้ไขข้อมูลได้เองและจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งเมื่อเริ่มนำมาใช้จริงและนำเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึง ความแตกต่างที่มีข้อดีและประโยชน์ที่จะได้รับเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้ดำเนินการจัดกิจกรรมและนำเอาข้อมูลมาใส่ในระบบได้ การปรับเปลี่ยนจะค่อยทำไปโดยจะคงระบบเก่า และเทียบผลการใช้งานความพึงพอใจและประสิทธิภาพคู่กันไปอีกระยะหนึ่ง เมื่อติดตามประเมินผลแล้วไม่พบปัญหาในระบบใหม่ ก็จะมีการประกาศเริ่มใช้งานระบบใหม่ ซึ่งเมื่อถึงในขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการเริ่มใช้งานจริงกับระบบใหม่ทั้งหมด (go live) และจัดมีการจัดการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และเร่งส่งเสริมให้มีการเข้าใช้งานจริง

5. ขั้นตอนบำรุงรักษา (Maintenance) และการสำรองข้อมูล (Backup) การบำรุงรักษาให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาสำรองข้อมูลดูแลระบบและปรับแก้ไขปัญหาโปรแกรม และมีการเก็บข้อมูลประเมินความพึงพอใจ รวมถึงการสำรองข้อมูล (Backup) ระบบ Moodle สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าเป็นผู้ใช้งานในระดับใด ในที่นี้ได้มอบให้ผู้ดูแลระบบเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลและดำเนินการทั้งหมดโดยมีการกำหนดแนวทางการสำรองข้อมูลได้หลายวิธีได้แก่

- การสำรองข้อมูลโดยใช้โมดูลสำรองข้อมูลในโปรแกรม Moodle เลย

- การสำรองข้อมูลโดยการคัดลอกข้อมูลโดยตรง

- การสำรองฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม phpMyAdmin

- การสำรองข้อมูลรายวิชาที่สอน

- การสำรองข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน

- โดยการสำรองข้อมูลสามารถตั้งค่าให้ระบบสำรองอัตโนมัติ

โดยที่กล่าวมาจะเป็นบางส่วนที่ผู้จัดการระบบ E-Learning จะต้องดำเนินการ โดยประสานงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนต่าง ๆ

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward