โปรแกรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
รวบรวมข้อมูลโดย
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ
โปรแกรมในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เนื่องจากมีโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานหลายชนิด บางชนิดก็สามารถทำงานได้ในหลายหน้าที่ แต่เพื่อให้ง่ายในการคัดเลือกและนำมาใช้งาน ควรที่จะต้องมีการจัดกลุ่มโปรแกรมเพื่อง่ายในการจัดการ เช่นการแบ่งประเภทตามขั้นตอนในการทำงานภาคอุตสาหกรรม ได้แก่
1. การวางแผน (plan) ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ประกอบในการวางแผนบริหารและจัดการอุตสาหกรรมและบริการ เช่น
- โปรแกรมการขาย ช่วยสร้างคุณภาพการจัดการการขาย
- โปรแกรมระบบงานจัดซื้อและบัญชีเจ้าหนี้ (Purchases and Account Payable System)
- โปรแกรมระบบงานขายและบัญชีลูกหนี้ (Sales and Account Receivable System)
- โปรแกรมระบบงานทะเบียนทรัพย์สินและค่าเสื่อมราคา (Fixed Assets Location & Depreciation System)
- โปรแกรมระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger Account System)
- โปรแกรมระบบบัญชีเงินเดือน (Payroll System)
- โปรแกรมระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management System)
- โปรแกรมการวางแผนหรือการคาดการความต้องการของลูกค้า (Forecasting and Planning)
- โปรแกรมบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data)
- โปรแกรมธุรกิจอัจฉริยะ (BI) และโปรแกรมจัดทำหน้ากระดานสรุปข้อมูล (Dashboard)
- โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
2. การจัดหา (Source) ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ในการวางแผนบริหารและจัดหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอุตสาหกรรม โดยจะเน้นการจัดหาจัดซื้อนำเข้าและจัดเก็บ เช่น
- การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement)
- การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และการจัดการคำสั่งซื้อ (Communication and Order Processing)
- การให้บริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer Service and Supporting)
- โปรแกรมบริหารวัตถุในการผลิต (Material Requirements Planning: MRP)
- โปรแกรมบริหารการผลิตในโรงงาน (Manufacturing Resource Planning: MRPII)
- โปรแกรมการวางแผนจัดการทรัพยากรในองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP)
3. การผลิต (Mark) ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานเครื่องมือเครื่องจักรในในอุตสาหกรรมการผลิตหรือในโรงงาน เช่น
- โปรแกรมงานควบคุมอัตโนมัติ Programmable Logic Controller (PLC)
- โปรแกรมระบบผลิตสินค้า (Production System)
- โปรแกรมช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design: CAD)
- โปรแกรมช่วยในการผลิต (Computer Aided Manufacturing: CAM)
- โปรแกรม Computer Numerical Control (CNC)
- โปรแกรม Direct Numerical Control (DNC)
- โปรแกรม Programmable Logic Control (PLC)
- โปรแกรม Numerical Control (NC)
- โปรแกรมการผลิตเกิดผลดีที่สุด (program optimization software)
- โปรแกรมเชื่อมต่อระบบ (Systems integration software)
4. การจัดเก็บและขนส่ง (Warehousing & Transportation) ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ประกอบในการบริหารจัดการคลังสินค้า และการวางแผนบริหารการขนส่งและกระจายสินค้า เช่น
- โปรแกรมระบบงานบัญชีสินค้าคงคลัง (Inventory Control System)
- โปรแกรมสต๊อกสินค้า จัดการสต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์ รองรับบาร์โค้ด ควบคุมได้หลายคลัง กำหนดสิทธิเข้าถึงคลังสินค้าได้ตามผู้ใช้
- การขนถ่ายวัสดุและการบรรจุหีบห่อ (Materials Handling and Packaging)
- การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดการคลังสินค้า (Site Selection Facilities and Warehousing)
- โปรแกรมระบบการจัดส่งสินค้า (Delivery System)
- โปรแกรมระบบการรับคืนและโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
-------------------------------------------
ที่มา www.iok2u.com