แนวคิดและทฤษฎี Edward N. Lorenz ผลกระทบผีเสื้อ (Butterfly Effect)
ทฤษฎีผลกระทบผีเสื้อ (Butterfly Effect) เป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายเหตุผลที่เกิดความยุ่งเหยิง เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายความซับซ้อนของการมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ จนเกิดผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงออกไปแบบคาดไม่ถึง หลายครั้งเราได้ยินคนเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีผีเสื้อกระพือปีกโดยมาจากแนวคิดที่ว่า เรื่องเล็กในบางโอกาส ก็อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต เช่น การที่ผีเสื้อตัวเล็กกระพือปีกในที่หนึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศขนาดเป็นพายุใหญ่ขึ้นมาได้ เราอาจได้ยินเป็นคำคมที่ว่า เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว
ทฤษฎีผลกระทบผีเสื้อ (Butterfly Effect) มีที่มาจากการค้นพบของ Edward N. Lorenz นักคณิตศาสตร์และนักอุตุนิยมวิทยา โดยเขาได้ออกแบบและจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศในปี ค.ศ. 1961 เมื่อเขาคำนวณข้อมูลเพื่อพยากรณ์อากาศโดยการกรอกตัวเลขทางสถิติเพื่อคำนวณ เมื่อได้ผลลัพท์แล้วเขาต้องการดูผลพยากรณ์ซ้ำ จึงทำการคำนวณซ้ำอีกครั้งแต่เขาไม่อยากเสียเวลาจากการกรอกตัวเลขซ้ำทศนิยมหลายหลัก จึงกำหนดใช้ตัวเลขที่ได้บันทึกไว้ลงในแบบจำลองมาใช้อีกรอบ โดยทำการตัดเศษทศนิยมตัวที่ 4 เพื่อให้เป็นตัวเลขสั้นลงเช่น จาก 0.506127 เป็น 0.506 แต่เมื่อเอาผลลัพท์ที่ได้กลับมาดูผลจากแบบการจำลองสภาพอากาศ ปรากฏว่าผลที่ออกมาครั้งแรกกับครั้งที่สองแตกต่างกันมาก เขาจึงคิดได้ว่าข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไปเพียงเล็กน้อยจนดูเหมือนไม่ได้ผิดอะไร ถ้าทำการคำนวณต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตัวเลขเหล่านั้นก็จะมีค่าที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้นต่อเนื่อง จนบางครั้งอาจเกิดทำให้เกิดผลลัพท์ที่มีความแตกต่างได้อย่างมาก เปรียบเสมือนผีเสื้อตัวเล็กที่กระพือปีกอันเบาหวิวเพียงแค่นิดเดียว แต่อาจทำให้บรรยากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงได้ในอนาคต
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)
-------------------------------------------------