iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
 
 

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

 

การทำวิจัยเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนในการดำเนินงานประกอบด้วย

- ศึกษาข้อมูลในบริบทจริง

- ตั้งคำถามวิจัย อาจมีสมมุติฐานชั่วคราว

- ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

- นำข้อมูลที่ได้มาทำการจัดกลุ่ม

- ทำการวิเคราะห์ค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ (Pattern) ของข้อมูลในกลุ่ม

- สังเคราะห์เป็นข้อสรุปหรือทฤษฎี

ในครั้งนี้จะพูดถึงขั้นตอนของวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยประกอบด้วย

1. การสังเกต (Observation) 

2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) 

3. การสนทนากลุ่ม

4. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารอื่นๆ

5. การศึกษาจากเรื่องเล่า ประวัติศาสตร์

6. การถอดจากบทเรียนกรณีศึกษา (Lesson Learns)

1. การสังเกต (Observation) เป็นการใช้ประสาทสัมผัสที่มีในการรวบรวมข้อมูล โดยต้องเข้าไปอยู่ในแหล่งข้อมูล และปฏิบัติตนให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ต้องการ ศึกษาการสังเกตแยกที่สังเกตกับสิ่งที่เป็นประสบการณ์ในอดีต เฉพาะความคุ้นเคยทำให้มองเห็นภาพ แม้จะไม่ต้องไปศึกษาจริงๆ แต่ความคุ้นเคยทำให้เราละเลยข้อมูลสำคัญบางประการไป บางครั้งจะเกิดความลำเอียง และเอาสิ่งที่รับรู้จากประสบการณ์มาเขียนไม่ได้เกิดจากการสังเกตจริง แบ่งการสังเกตุออกเป็น

- การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  (Participation) โดยนักวิจัยจะเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ เป็นผู้สังเกตหรือมีส่วนในกิจกรรมโดยเปิดเผยจุดประสงค์ ในแบบนี้ผู้วิจัยต้องเอาใจใส่ต่อทุกอย่างที่เกิดขึ้น สังเกตและใช้ประสบการณ์ทั้งในฐานะคนในและคนนอกในเวลาเดียวกัน

- การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (์Non-Participation) โดยนักวิจัยจะทำตัวเป็นคนนอกแอบเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ เป็นผู้สังเกตหรือมีส่วนในกิจกรรมโดยไม่เปิดเผยจุดประสงค์ คอยจดบันทึกเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ที่สังเกตเห็น ขณะอยู่ในกิจกรรมที่เลือกศึกษา

การบันทึกผลจากการสังเกตุในภาคสนาม (field note) ควรบันทึกสิ่งที่ได้พบได้ฟังมาทั้งหมดให้ครบถ้วยเช่น บุคคลในเหตุการณ์ กิจกรรมหรือการกระทำ รูปแบบแผนกิจกรรม (pattern of activities) ความสัมพันธ์ (relationship) ความหมาย (meaning) เพื่อให้ได้คำตอบว่า ทำไมจึงเกิดพฤติกรรมและการกระทำนั้น ๆ

2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมนุษย์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญที่สุด นักวิจัยใช้ภาษาในการสื่อสารพูดคุยหรือที่เรียกเป็นทางการว่าการสัมภาษณ์ โดยในการเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลด้านข้อเท็จจริง ข้อมูลความคิดเห็น และเจตคติ และการพูดคุยอย่างเป็นกันเองเพื่อค้นหาความหมายความจริงจากผู้ให้สัมภาษณ์ 

การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูล โดยไม่ใช้แบบสอบถาม จะมีแนวของข้อคำถามให้ผู้สัมภาษณ์เป็นผู้สอบถามผู้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะการเจาะลึก และต้องอาศัยความสามารถพิเศษของผู้สัมภาษณ์ในการค้นหารายละเอียดในประเด็น ที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งการสัมภาษณ์เชิงลึกมักจะศึกษาในประชากรกลุ่มเล็กๆ เช่น ผู้บริหาร นักการเมือง ผู้นำทางวิชาการ ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น โดยที่การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นมิได้มุ่งหวังว่าจะให้ถูกสัมภาษณ์เลือกคำตอบที่นักวิจัยคิดไว้ก่อน ควรเป็นการสนทนาโดยมีอาจจุดมุ่งหมายอยู่แล้ว แต่ต้องค่อยถามไปเรื่อยๆ อาจใช้คำถามแนว 6 Question Words (ใคร Who/ทำอะไร What/ที่ไหน Where/เมื่อไหร่ When/ทำไม Why/อย่างไร How) ให้ถามความคิดเห็น เหตุผล และมุมมอง ไม่ใช่ถามแบบบังคับให้ตอบว่า “ใช่-ไม่ใช่” “ถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง” ต้องเป็นมุมมองของผู้ให้ข้อมูลเป็นหลัก ไม่ใช่มุมมองของผู้วิจัย ไม่จำเป็นต้องเน้นให้ตอบเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ อย่าใช้คำถามชี้นำเพื่อให้ตอบในแนวที่วางไว้ อย่าใช้คำถามที่ทำให้ผู้ตอบไม่อยากตอบ รู้สึกอับอายหรือไม่สบายใจ และไม่ควรใช้คำถามที่เป็นความรู้ทางวิชาการเกินไป (ต้องรู้ background การศึกษาของผู้ตอบด้วย) และนอกจากนั้นถ้ามีโอกาสสัมภาษณ์หลายๆ รอบ การวิเคราะห์ข้อมูลหลายรอบจะทำให้ได้รายละเอียดมากขึ้นเวลาเขียนบรรยายจะทำให้ได้อรรถรสมากขึ้น รูปแบบการสัมภาษณ์นั้นมีตั้งแต่การสัมภาษณ์ที่เป็นทางการ โดยมีคำถามทั้งที่ไม่มีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง รูปแบบคำถามแบ่งออกเป็น

- คำถามทั้งที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured interview) เพื่อหลีกเลี่ยงแนวคำถามแบบโครงสร้าง ที่มุ่งให้คนตอบเลือก หรือการตอบแบบบังคับให้ตอบใช่ไม่ใช่ การการสัมภาษณ์เชิงลึกในงานวิจัยเชิงคุณภาพมักจะเริ่มต้นจากคำถามทั่วไป เพื่อสร้างความรู้เข้าใจระหว่างผู้สนทนาก่อน จากนั้นจึงจะค่อยเข้าสู่คำถามกึ่งโครงสร้าง

- คำถามกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) จะเป็นการสร้างแนวข้อคำถามไว้ล่วงหน้า โดยอาจจัดเป็นข้อแต่ไม่ระบุชัด กำหนดเป็นลำดับข้อไว้แล้วค่อยตะล่อมถาม อย่างไรก็ตามการถามแต่ละครั้งของแต่ละคน จะแตกต่างกันไปตามบริบทของคำตอบของผู้ให้ข้อมูล

ข้อควรระวัง แม้ว่าการสัมภาษณ์จะมีข้อดีคือ ได้ข้อมูลมาก ใช้เวลาน้อย แต่ก็มีข้อจำกัดที่ควรระวังคือ ข้อมูลที่ได้อาจไม่ใช่ข้อมูลจริงหากผู้สัมภาษณ์ไม่มีทักษะในการเจาะลึกเพื่อให้ได้ข้อมูล หรือการเก็บข้อมูลบางครั้งต้องใช้ระยะเวลาในการผูกมิตรกับผู้ให้ข้อมูล

3. การอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion) อาจเรียกว่าการสัมภาษณ์พร้อมกันหลายคน โดยมีผู้เข้าร่วมสนทนาเป็นจำนวนมาก ขนาดที่เหมาะสมในกลุ่มแต่ละครั้งควรมีประมาณ 6-12 คน ผู้มาร่วมสนทนาในกลุ่มควรจะมีพื้นฐานความรู้หรือภูมิหลังที่ใกล้เคียงคล้ายกัน โดยในกลุ่มต้องไม่ควรมีความขัดแย้งกันเป็นส่วนตัว และไม่ควรมีความแตกต่างในฐานะสังคมมีใครมีอำนาจเหนือใครในกลุ่ม ควรทำการเก็บข้อมูลในกลุ่มที่มีความสนใจมีปัญหาหรือมีประสบการณ์เดียวกัน มาร่วมแชร์ประสบการณ์โดยการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ประเด็นในเรื่องที่สนทนาต้องไม่ลึกซึ้งในความเป็นส่วนตัวหรือมีความอ่อนไหวเกินไป

4. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (Data Collection) โดยจะมีการเก็บสิ่งที่เ้กี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์ประมวลผลประกอบ อาจแบ่งการเก็บตามประเภทของสิ่งที่เก็บเช่น

- เอกสารในรูปแบบที่เป็นทางการ เป็นเอกสารที่สามารถใช้อ้างอิงได้ชัดเจนมีผู้รับผิดชอบในการผลิตสามารถติดตามได้เช่น บันทึกข้อความ, รายงานการประชุม, สิ่งพิมพ์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน, แฟ้มประวัติข้อมูลบุคคลบุคลากร หรือข้อมูลเวชระเบียน ฯลฯ

- เอกสารส่วนบุคคลเช่น จดหมายส่วนตัว, ประวัติชีวิตหรือผลงานที่ผ่านมา, เอกสารหนังสือมุทิตาจิต, บันทึกประจำวัน (diaries) ฯลฯ 

- ภาพถ่าย อาจเป็นภาพถ่ายที่มีมาแต่โบราณ ภาพที่เกี่ยวข้องที่มีการค้นพบ ภาพถ่ายที่ผู้วิจัยได้ถ่ายขึ้นเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน ฯลฯ

- ข้อมูลเชิงสถิติหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงปริมาณ ที่มีการเก็บรวบรวม ใช้อ้างอิงเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ

- สัญลักษณ์หรือสิ่งของที่มีความหมายเชื่อมโยงในงานเช่น รูปปั้น สัญลักษณ์ที่มี งานวาด ฟิล์มภาพยนตร์ วิดีทัศน์  หรือข้อมูลจากแหล่งในเครือข่ายออนไลน์ (social media)

5. การศึกษาจากเรื่องเล่าหรือประวัติศาสตร์ (History) การเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา จะมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้และการค้นพบ สามารถเสริมสร้างความมั่นใจในสิ่งที่ประจักษ์ และอาจใช้เป็นพยานของการวิจัยได้ดี ช่วยในการหลีกเลี่ยงความสงสัย โดยใช้การเล่าเรื่องที่ผ่านมาอ้างอิงจะดีที่สุด และยังปรับปรุงวิธีการคิดของเรา การพยายามเข้าใจในอดีตและเรื่องราวที่ผ่านมา จะช่วยให้ค้นพบผู้คน สถานที่ ประสบการณ์ ที่มาแนวคิดประเพณี การเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างกันในหลายเรื่อง

6. การถอดจากบทเรียนกรณีศึกษา (Lesson Learns) การถอดบทเรียนจากกรณ๊ศึกษา หรือผลงานตัวอย่างที่ดีที่มีการดําเนินการมาในอดีต จะช่วยในการวิเคราะห์รูปแบบหรืออัตลักษณ์ที่เป็นแนวทางเพื่อนําไปต่อยอดในการส่งเสริมงานวิจัยต่อไป การนำต้นแบบที่ดีมาใช้ประกอบการถอดบทเรียนแห่งความสําเร็จของต้นแบบเฉพาะของตน นําไปเป็นตวอย่างให้แก่งานอื่นๆ ได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติตาม

----------------------------------------

@ ลงข้อมูล / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ

@ ที่มาข้อมูล

- Web: www.iok2u.com

- FB: https://www.facebook.com/iok2u

- Line: @iok2u.com

- Mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward