iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

โลกยุควูก้า (VUCA World) โลกยุคที่มีความผันผวน

VUCA เป็นคำย่อที่กองทัพสหรัฐ ใช้เรียกสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงอย่างต่อเนื่องในช่วงสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี การแข่งขัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เศรษฐกิจ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ สถานการณ์เหล่านี้เรียกว่า VUCA World ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้นำองค์กรที่ต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือให้ทันสถานการณ์

VUCA world นี้ยังสามารถรวมถึง การเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมอย่างพลิกผัน (Disruptive innovation) ด้วย จนมีคำกล่าวหนึ่งว่า “รีบเปลี่ยนแปลงเสียก่อน มิฉะนั้นคุณก็อาจจะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง”

โลกยุควูก้า (VUCA Worldโลกยุคที่มีความผันผวน เป็นคำเรียกชีวิตยุคใหม่ที่มีความแปรปรวนผันผวนสูงมาก ทำให้คนยุคใหม่ที่จบปริญญาสูงและระดับดีต้องตกงานมากมายหลายแสนคน เพราะคาดเดาไม่ได้ว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไร สิ่งที่เรียนในวันนี้ อาจไม่เป็นที่ต้องการของวันพรุ่งนี้ จนมีคำเอาตัวอักษร 4 คำที่เกี่ยวข้องมารวมผสมกลายเป็น VUCA คือ

V- Volatility ความผันผวน ยากจะคาดเดา เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันไม่ทันตั้งตัว สถานการณ์ที่มีความผันผวนสูง ซึ่งเหตุการที่ทำให้เกิดความผันผวน ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยว เพราะมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาอันสั้น เราจึงเรียกมันว่า ความผันผวน, แต่ในทางกลับกัน ถึงแม้จะเกิดการเปลี่ยน แต่ใช้ระยะเวลานาน เราก็คงจะไม่เรียก ความผันผวน  

ผลกระทบของความผันผวน คือ ความเสี่ยง การไม่มีเสถียรภาพ ความไม่เชื่อมั่น หรือการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีกฎเกณฑ์

แนวทางออกของความผันผวน คือ ปรับมุมมอง (Vision) ด้วยการเปิดรับมุมมองหลายๆแง่ หรือหามุมมองแบบใหม่ เพราะความผันผวนสูง มุมมองที่ต้องมอง คือ การมองหาค่าเฉลี่ย หรือหาแนวโน้มของสถานการณ์นั้น และเปลี่ยน Mindset เป็นการมองแบบองค์รวม ภาพรวม

U-Uncertainty มีความไม่แน่นอนสูง ไม่ชัดเจน ยากจะอธิบาย เช่น การปรับเปลี่ยนองค์กร/บริษัท การทดแทนของธุรกิจสมัยใหม่ หรืออาชีพในอนาคต จุดยืนทางการเมือง ฯ ปัญหาหลักของสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน หรือไม่กล้าตัดสินใจ ก็คือ การที่ไม่มีข้อมูลทำให้คาดเดาวางแผนการณ์ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ทำให้ไม่แน่ใจ จึงเกิดเป็นสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน นอกจากนี้ยังเสริมด้วยปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่แอบแฝงและทันคาดคิดเพิ่มเติมใหม่ด้วย ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูง

ผลกระทบของความไม่แน่นอน คือ ภาวะชะงักงัน การชะลอตัว การปิดระบบ และเกิดได้ทั้งวิกฤตและโอกาส

แนวทางออกของความไม่แน่นอน คือ ทำความเข้าใจสถานการณ์ (Understanding) การที่จะเข้าใจและรู้ถึงสถานการณ์ได้ ต้องมีข้อมูล ข้อเท็จจริง อัพเดทให้ตรงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของความไม่แน่นอนทันท่วงที

C-Complexity ความซับซ้อนสูง มีปัจจัยมากมายที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ  โดยปัญหาหลักของสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง คือ การมีตัวแปรหลายตัวที่ถูกเชื่อมโยงกัน ผลกระทบแต่ละตัวแปรก็มีระดับอิทธิพลที่แตกต่างกันอีก ดังนั้นสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูงมักจะเกิดขึ้นกับระบบที่มีโครงสร้างระบบใหญ่ๆ 

ผลกระทบของความซับซ้อนสูง คือ เกิดความยุ่งยากในการแก้ไข ทำให้ต้องใช้เวลานานในการจัดการแก้ไขปัญหา และตัวแปรบางตัวอาจมีผลกระทบต่อเนื่องกัน แบบโดมิโน ซึ่งถ้าตัวแปรใดหนึ่งล้มไป ก็จะส่งผลต่อ ตัวแปรอื่นล้มไปด้วย ถ้าเกิดวิกฤตรุนแรงอาจล้มทั้งระบบได้

แนวทางออกของความซับซ้อน คือ สร้างความชัดเจน (Clearity) โดยการจัดระบบระเบียบข้อมูล จัดระดับความสัมพันธ์ของตัวแปร ตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน รวมถึงต้องปรับโครงสร้างระบบใหม่ เพื่อให้เรามองเห็นภาพรวมที่ชัดเจน และการจัดการที่ง่ายยิ่งขึ้น ในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน บางครั้งต้องยอมเสีย หรือตัดตัวแปรบางอย่างทิ้งไป เพื่อทำให้ปัญหาที่ใหญ่กว่าคลี่คลายชัดเจน

A-Ambiguity มีความคลุมเครือ เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ยากจะคาดเดาผลลัพธ์ได้ สถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนคลุมเครือ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลุมเครือจะคล้ายกับความไม่แน่นนอน 

- อย่างแรก คือ ข้อมูลหรือความเป็นจริง เมื่อเราไม่มีข้อมูลที่แท้จริง มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ ความคลุมเครือจึงเกิดขึ้น

- อย่างสอง คือ การแปลความหรือตีความ มีข้อมูลแต่ยังคลุมเครือ ขึ้นอยู่กับการแปลความหรือตีความข้อมูลนั้นอย่างไร

ส่วนใหญ่เรามักจะตีความผิด คือ การใช้ความรู้สึกด้านอารมณ์มากกว่าเหตุผลหรือข้อมูลจริงที่แสดง

ผลกระทบของความคลุมเครือ คือ ส่งผลให้เกิดความไม่แน่ใจและยิ่งทำให้สถานการณ์เกิดความคลุมเครือมากขึ้นไปอีก

แนวทางออกของความคลุมเครือ ก็คือ ฉลาด ว่องไว ปราดเปรียว (Agility) โดยการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาใช้ในการตัดสินใจ ด้วยความว่องไว แต่ก็ต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ด้วยความฉลาด อาศัยความรวดเร็วปราดเปรียว การหาแนวทางสำรองหรือแผนการฉุกเฉิน เพื่อพลิกสถานการณ์ให้กลับมาอยู่ในจุดที่ดีขึ้น และต้องตัดสินใจให้เด็ดขาด โดยหากเกิดความผิดผลาดก็เลือกใช้แผนสำรองที่มีเตรียมไว้ การวางกลุยทธ์ที่ดีจึงต้องมีแผนการฉุกเฉินเตรียมรองรับไว้ด้วยเสมอ

ในโลกธุรกิจ คำว่า VUCA กลายเป็นที่นิยมในยุค 2000 เพราะสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่แพ้สถานการณ์สงครามเช่นกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรม จนมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนและองค์กร

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward