LM57 บทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร
บทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร
โลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินการของแต่ละองค์กรในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการผลิตและปฏิบัติการ (Manufacturing and Operation) โลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตและการปฏิบัติการ โดยเฉพาะในด้านการจัดหา (Procurement) วัตถุดิบป้อนสายการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลั่ง (Inventory Control) ทั้งวัตถุติบ (Raw Material) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) รวมถึงการขนถ่ายวัตถุดิบ และเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน (Materials Handling) เพื่อสนับสนุนการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การผลิตเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้กิจกรรมโลจิสติกส์ เช่น การวางแผนผลิตตารางการผลิต (Production Planning Scheduling) การพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) วัตถุดิบ และการจัดเก็บวัตถุดิบ รวมถึงยังมีบทบาทสำคัญช่วยสนับสนุนการผลิตสินค้าต้วย
2. ด้านการตลาต (Marketing) โลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) สินค้า การเติมเต็มคำสั่งซื้อ (Order Fulfillment) และการขนส่งสินค้า (Transportation) กิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเวลา และสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ลูกค้ามีความพึ่งพอใจสูงสุด
3. ด้านการเงิน (Financial) โลจิสติกส์มีผลกระทุบโดยตรงต่อการเงินขององค์กร เช่น รายได้และการลงทุน โตยการมีสินค้าค้าคงคลังที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า จะเป็นตัวผลักดันทำให้องค์กรสามารถเพิ่มรายได้ได้มากขึ้น ขณะที่การปฏิบัติงานโลจิสติกส์อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพยังจะช่วยลดค่าใช้จายในการตำเนินงานขององค์กรไต้อย่างมาก นอกจากนี้ระยะเวลาในการส่งมอบวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่สั้นลง ยังมีส่วนช่วยลดปริมาณสินค้าคงคลัง และลดต้นทุนจมที่เกิตจากการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่มากเกินความจำเป็นอีกด้วย
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่