พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) รวบรวมและปรับปรุงจากเอกสารที่ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ภายใต้การนำโดย นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักในยุคนั้น ที่มุ่งให้มีการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในเรื่องของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยเอกสารเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งได้มีการจัดทำเอกสารเพื่อประกอบการเรียนการอบรมในกิจกรรมดังกล่าวของสำนักโลจิสติกส์ ต่อมาเมื่อมีการปรับเปลี่ยนองค์กร เอกสารหลายชิ้นไม่ได้มีการนำมาเผยแพร่ต่อ
น้องเชนเห็นว่าเรื่องราวและเอกสารหลายชิ้น เป็นประโยชน์และคงน่าเสียดายหากปล่อยให้หายไป จึงได้รวบรวมนำมานำเสนอผ่านเว็บไซต์ iOK2u ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจใช้ศึกษาต่อไป
แนะนำเอกสารโหลดฟรี หนึ่งในเอกสารดีในเรื่องโลจิสติกส์แล
ชื่อหนังสือ Fundamentals of Logistics Management
ชื่อผู้จัดทำ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและ นวัตกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
ข้อมูลหนังสือ
หนังสือเล่มนี้ถูกรวบรวมขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการสร้างนักจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมืออาชีพระดับสากล ประจําปี 2557 ภายใต้การสนับสนุนของ สํานักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวง อุตสาหกรรม ดําเนินงานโดย บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นเอกสาร ประกอบการเรียนของหลักสูตร Fundamental Logistics and Supply Chain Management (การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับปฏิบัติการ) โดย หลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการ จัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ทั้งในภาครัฐและเอกชน และยกระดับการจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะการแข่งขันขององค์กรและซัพพลายเชนในปัจจุบัน อันจะส่งผลต่อระดับการการให้บริการลูกค้าที่ดีภายใต้ต้นทุนจัดการที่เหมาะสม เนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย ความหมายของโลจิสติกส์บทบาท ของโลจิสติกส์การจัดการโลจิสติกส์การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการการ ขนส่ง การจัดการคลังสินค้า และการจัดการโลจิสติกส์ไทยกับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน
1. การจัดการโลจิสติกส์และความหมายของโลจิสติกส์
โลจิสติกส์ (logistics) ความหมาย
บทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร
การจัตการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
2. การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
การแบ่งประเภทของคลังสินค้าตามลักษณะสินค้า (Inventory Type)
กิจกรรมในคลังสินค้า (Inventory Activities)
การวางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า (Inventory Plan)
การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานในคลังสินค้า (Inventory improving work processes)
การวัดผลการดำเนินงานคลังสินค้า (Warehouse performance measurement)
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการคลังสินค้า (Information technology systems in warehouse management)
การจัดกลุ่มสินค้าคงคลังด้วยระบบ ABC (ABC Analysis)
การหาปริมาณการสั่งซื้อขนาดประหยัด (Economic Order Quantity)
การกำหนดระดับสินค้าคงคลังที่ปลอตภัย (Safety Stock)
3. การจัดการการขนส่ง (Transportation Management)
การขนส่งทางน้ำหรือทางเรือ (Water/Ship Transportation)
การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)
การขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุก (Truck Transportation)
การขนส่งทางทางรถไฟหรือระบบราง (Rail Transportation)
การขนส่งทางระบบท่อ (Pipeline Transportation)
ต้นทุนในการขนส่ง (Transportation Cost)
การจัดเส้นทางและตารางเวลาในการขนส่ง (Routing and Transportation Scheduling)
การวัดผลการดำเนินงานการขนส่ง (Transportation Performance Measurement)
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการขนส่ง (Information technology systems in transportation management)
การตัดสินใจขนส่งด้วยตนเองหรือจัดจ้าง (Self transportation decision or Outsourcing)
ความเสี่ยงที่เกิดจากการว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่ง
4. การจัดการโลจิสติกส์ไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การจัดการโลจิสติกส์ไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Logistics Management in AEC)
ประเด็น การพัฒนาด้านโลจิสติกส์เข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
E-Book หนังสือ Fundamentals of Logistics Management ปี 2557
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557