iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินโครงการ แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก

เอกสารการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก 2550

สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินโครงการ

เมื่อพบประเด็นปัญหาหรือประเด็นสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมโลจิสติกส์ที่ต้องการทำการปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้ว จะต้องพยายามเขียนเป็นแบบรายละเอียดการจัดทำโครงการขึ้นมาเพื่อกำหนดหัวข้อโครงการให้ชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินงาน เป้าหมาย ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระยะเวลาดำเนินโครงการ กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการโครงการ แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาจากหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร ดังตัวอย่างการเขียนโครงการเพื่อการลดสินค้าคงคลังของโรงงานเซรามิก 

การเขียนรายละเอียดการจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นมาก่อนที่จะทำโครงการใดๆ เป็นการวางแผนในขั้นต้น ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องในโครงการทั้งหมดมีความชัดเจนในดำเนินงาน ทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนในประเด็นที่กำลังจะจัดการ พร้อมทั้งมีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน การเขียนแบบรายละเอียดนี้ต้องอาศัยทั้งความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของทีมงาน หากเริ่มดำเนินโครงการช่วงแรก อาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกบ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินงานต่อไป

การกำหนดเป้าหมายของโครงการ ต้องเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ในระยะเวลาโครงการ ไม่ยากจนเกินไปที่จะทำให้ท้อเมื่อดำเนินการไปแล้วไม่เห็นผล หรือไม่ง่ายจนเกินไปโดยที่ไม่ได้ท้าทายอะไรเลย และต้องสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม การวัดผลอาจอยู่ในรูปของการเปรียบเทียบกับ

ผลการดำเนินงานปัจจุบัน โดยวัดผลงานที่ดีขึ้นเป็นอัตราส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์หรือเป็นจำนวนวัดที่เป็นปริมาณ หรือเป็นจำนวนเงินก็ได้ ตัวอย่างการมีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมเช่น ต้องการลดปริมาณสินค้าคงคลังลงให้ได้ 20% ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับสิ้นเดือนมิถุนายน 2551 คือตอนที่เริ่มดำเนินโครงการ หรือต้องการเพิ่มความสามารถในการขนส่งเที่ยวกลับของรถบรรทุกสินค้าให้ได้อย่างน้อยเดือนละ 10 เที่ยว ก็เป็นเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและวัดผลได้   

บุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในโครงการได้แก่ ประธานโครงการผู้กำหนดหัวข้อโครงการ อันเป็นประเด็นที่ต้องการให้ปรับปรุง กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินงาน อาจเป็นผู้กำหนดเป้าหมายของโครงการด้วย ให้การสนับสนุนโครงการในการอนุมัติเงินทุนและเวลาที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการ เป็นผู้แต่งตั้งผู้จัดการโครงการ ซึ่งมีภารกิจหลักในการผลักดันให้โครงการประสบความสำเร็จ ติดตามความคืบหน้าของโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เป็นผู้นำในการประชุมและมอบหมายงานต่างๆ ให้กับคณะทำงานในโครงการ โดยที่คณะทำงานในโครงการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์นี้ควรประกอบด้วยตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการ ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ทั้งฝ่ายการขายและตลาด ฝ่ายสนับสนุนการขาย ฝ่ายวางแผน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายโลจิสติกส์ ฝ่ายคลัง ฝ่ายจัดส่ง รวมทั้งฝ่ายบัญชีการเงิน การมีตัวแทนมาจากหลายหน่วยงานทำให้สามารถครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ อย่างทั่วถึง ช่วยกันจัดหาข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันอย่างรอบด้าน และสามารถตกลงร่วมกันได้ในการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการประชุมของโครงการ ประธานโครงการและผู้จัดการโครงการต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาร่วมในการดำเนินโครงการ หากส่วนประกอบนี้มีความถูกต้องเหมาะสมก็จะสามารถทำให้การดำเนินการโครงการมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้น เนื่องจากประเด็นปัญหาด้านซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกระบวนการของหน่วยงานต่างๆ และมีผลกระทบต่อกันเสมอ

คณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาทำงานในโครงการถือเป็นทีมเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติภารกิจพิเศษให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ส่วนใหญ่มักเป็นบุคลากรในสายงานประจำ เช่นเป็นหัวหน้าฝ่ายคลังสินค้า เป็นผู้จัดการฝ่ายขาย เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนโลจิสติกส์เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะมีหน้าที่หลักในตำแหน่งอะไร เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นคณะทำงานในโครงการดังกล่าว จำต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองเข้าทำหน้าที่ในคณะทำงานตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุม คณะทำงานทุกคนต้องใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากสายงานที่ตนทำงานอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อทีมงานในโครงการอย่างเต็มที่ ได้แก่การให้ข้อมูล การช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงาน การร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ให้ความเห็นตามบทบาทของตน ช่วยเหลือผลักดันให้ได้ข้อสรุปที่ดีในการทำแผนการปรับปรุงระบบการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของบริษัท และนำแผนที่ตกลงกันนี้ไปทดลองปฏิบัติอย่างจริงจัง ร่วมสรุปบทเรียนและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้

เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการดำเนินโครงการให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบโครงการควรจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จำเป็นแก่ผู้จัดการโครงการและคณะทำงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องเสมอ เช่นการจัดการโครงการ เป็นการพัฒนาบุคลากรของบริษัท ให้สามารถใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการโครงการ การฝึกทักษะในการทำงานร่วมกัน สร้างความร่วมมือในแต่ละหน่วยงาน บุคคลที่รับหน้าที่เป็นผู้จัดการโครงการก็จะมีโอกาสฝึกทักษะความเป็นผู้นำด้วย

ในการดำเนินโครงการ ทักษะที่สำคัญยิ่งของคณะทำงานคือความสามารถในการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนการประชุมที่ดี มีวาระการประชุม วัตถุประสงค์ กำหนดนัดหมายล่วงหน้า กำหนดบุคคลที่ต้องเข้าร่วมประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมต้องปฏิบัติตามกฎกติกาของการประชุม เพื่อช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพสูงสุดได้แก่

- ศึกษาวาระการประชุม และเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้า จะช่วยให้การประชุมรวดเร็วขึ้นและดำเนินไปได้ มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น แทนที่จะต้องมอบหมายให้ไปเก็บข้อมูลมา เพื่อมาใช้ในการประชุมครั้งถัดไป

- มาถึงที่ประชุมตรงเวลาหรือก่อนเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ผู้ร่วมประชุมท่านอื่นต้องมาเสียเวลาคอย สมมุติถ้ามีการประชุมร่วมกัน 50 คน เงินเดือนเฉลี่ยของพนักงานที่เข้าร่วมประชุมคนละ 10,000 บาท คำนวณมูลค่าของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดเท่ากับชั่วโมงละเกือบ 3,000 บาท การให้คนจำนวนมากมารอคอยจึงมีต้นทุนเสียเปล่าโดยไม่เกิดประโยชน์อะไร

- เข้าร่วมเสนอความเห็น พิจารณาประเด็นจากที่ประชุม มีทักษะการเป็นนักฟังที่ดี ช่วยกันหาข้อสรุปจากที่ประชุม ใช้เวลาในการประชุมให้คุ้มค่าที่สุด

- แบ่งเบาภาระจากที่ประชุมในการรับงานที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมกลับไปทำ 

โดยในแต่ละครั้งที่มีการประชุม สิ่งที่ควรจต้องได้จากการประชุมคือ

- ข้อตกลงที่เป็นบทสรุปจากที่ประชุม

- ประเด็นตกค้างที่ต้องมีการประชุมในวาระอื่นต่อไป

- ภารกิจ หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุม

- พยายามจัดทำรายงานประชุม พร้อมรายการ 3 ข้อข้างต้นนี้ แจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมประชุมให้เร็วที่สุด เพื่อให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ไปทำงานจะได้เริ่มงานได้ทันที ไม่ต้องรอถึงการประชุมคราวหน้าถึงค่อยเห็นรายงานการประชุม อย่างที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้

- นัดหมายการประชุมครั้งต่อไป การตกลงได้จากที่ประชุมเพราะทุกคนอยู่พร้อมหน้าแล้ว จะช่วยลดภาระผู้ประสานงานต้องมาทำการนัดหมายโดยติดต่อทุกคนทีละคน ซึ่งใช้เวลามากในการจะได้วันประชุมที่ทุกคนเห็นพ้องกันหมด        

 -----------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward