CT51 ระบบราง กุญแจสำคัญในการพัฒนา Logistics Green Transportation Development of Railway Network: Key Success for Logistics Green Transportation
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทนำ
ปัญหาโลกร้อนนับวันยิ่งเป็นปัญหาสำคัญและยิ่งมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนมากขึ้นโดยเฉพาะ ช่วงเวลาของฤดูกาลที่ไม่แน่นอน อากาศร้อน จัดหนาวจัด ปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากการปล่อย ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งตัวการสำคัญที่ปลดปล่อย ก๊าซคาบอนได้ออกไซด์ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศนี้ก็คือ การขนส่งคมนาคมที่ขาดการวางแผน การ Utilization ของทั้งตัวยานพาหนะ เส้นทาง รวมถึง Mode ของการขนส่งสินค้า ในประเทศที่เจริญแล้วและมีความสามารในการบริหารโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เช่น ประเทศอังกฤษ[1] นอกจากจะมีการวางแผนด้านระบบการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีซึ่งช่วยสามารถลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งที่ดีแล้ว ยังสามารถนำระบบ Green Logistics Transportation เข้ามาเพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษ อันจะเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณภาครัฐที่จะนำไปบำบัดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็น และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอันเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ
2 อัตราการปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์ (CO2) จาก Mode การขนส่งสินค้า และการ Utilization Mode การขนส่งสินค้า
แผนภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่าอัตราการปลอปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์ เป็น gram/ton/km ของการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ ต่อความสามารถในการขนส่งหรือลากจูงน้ำหนักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการขนส่งสินค้าต่อการใช้พลังงานหรือัตราการบริโภคน้ำมัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ Mode การขนส่งทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าการขนส่งทางรถถนนนั้นมีการบริโภคน้ำมันสูงที่สุด[2] ดังแสดงในแผนภาพที่ 2 และเมื่อเปรียบเทียบกับความสามาถในการลากจูงน้ำหนักการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ Mode การขนส่งระหว่างการขนส่งด้วยรถบรรทุกและรถไฟจะพบว่าความสามารถในการลากจูงต่อ 1 กิโลเมตร พบว่าการขนส่งทางรถไฟสามารถขนส่งสินค้าได้ถึง 85.5 ตัน ในขณะที่การขนส่งทางถนน (รถบรรทุก) สามารถขนส่งได้เพียงแค่ 25 ตัน[3]
แผนภาพที่ 1 อัตราการปลดปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์ (CO2) จาก Mode การขนส่งประเภทต่าง
แผนภาพที่ 2 ปริมาณการใช้น้ำมันของ Mode การขนส่งประเภทต่าง ๆ
นอกจากการพิจารณาเรื่องของ Mode การขนส่งสินค้าแล้วยังจะต้องพิจารณาถึงการ บริหารการจัดการในการให้เกิดการขนส่งสินค้าเต็มเที่ยว ซึ่งในการคำนวณประสิทธิภาพของการปล่อย ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ นั้นจะพิจารณาถึง ประสิทธิภาพของ Load Capacity Utilization ของทั้งรถบรรทุก รถไฟ หรือเรือ ต่อ ปริมาณการใช้น้ำมัน ต่อจำนวนน้ำหนักที่สามารถในการขนส่งสินค้า[4] ดังแสดงในแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 3 ความสัมพันธ์ของ Load Capacity Utilization กับการบริโภคน้ำมัน ของ Mode การขนส่งประเภทต่าง ๆ
3 การ Utilization เส้นทางการขนส่งสินค้า
การ Utilization ของเส้นทางการขนส่งสินค้าก็หมายถึงการวางแผนการขนส่งและกระจายสินค้านั้นเอง เช่น การวางแผนในการตั้ง HUB หรือ DC การวางแผนในการใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยหากพิจารณาในแง่ของการขนส่งแบบ Logistics Green Transportation ก็จะพิจารณาการเลือกวิธีขนส่งค้าที่ทำให้เกิดการบริโภคน้ำมันที่เป็นต้นเหตุของการเกิดก๊าซคาบอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุดดังที่กล่าวมาในหัวข้อที่ 2 เช่นการเลือกใช้การขนส่งระบบรางในการขนส่งระยะไกลและการใช้รถบรรทุกในการขนส่งระยะใกล้และเพื่อการขนส่ง Door to Door ซึ่งการวางแผนนี้จะต้องมีการบูรณาการของการวางแผนการขนส่งโดยอาจตั้งแต่จุดที่เรือขนส่งสินค้าเข้าประเทศจนถึงการบริโภคสินค้า ณ จุดหมายปลายทาง[5] ดังแสดงในแผนภาพที่
แผนภาพที่ 4 แนวความการปรับปรุงการขนส่งกระจายสินค้าของอังกฤษเพื่อสนับสนุน Logistics Green Transportation
4 สรุป
ในการพัฒนา Logistics Green Transportation นอกจากที่จะต้องพิจารณาถึงการขนส่งสินค้าเพิ่มเที่ยวเพื่อเพิ่มการ Utilization ของยานพาหนะ ซึ่งจะทำให้อัตราการบริโภคน้ำมันและการปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์กับปริมาณการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ในการบริหารการขนส่งดังกล่าวจะช่วยได้ในระดับนึงเนื่องการขนส่งและกระจายสินค้าจะอาศัยการขนส่งระยะทางไกลเป็นดังการขนส่งระบบรางซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถการขนส่งสินค้าได้ครั้งละมาก ๆ มีการใช้พลังงานที่ต่ำซึ่งก็หมายถึงมีการปลดปล่อย ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ ที่ต่ำด้วยดังนั้นหากมีการสนับสนุนมีการขนส่งทางระบบรางมากขึ้นก็จะสามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษต่าง ๆ ลงได้ โดยเฉพาะผลกระจากโลกร้อนที่มีต้นเหตุจากก๊าซคาบอนไดออกไซด์
[1] McKinnon, A., 2007, CO2 Emission from Freight Transport: An Analysis of UK Data, LRN Conference 2007.
[2] กระทรวงพลังงาน 2550
[3] กระทรวงคมนาคม 2550
[4] International Maritime Organization (IMO) 2000
[5] McKinnon, A., 2007, CO2 Emission from Freight Transport: An Analysis of UK Data, LRN Conference 2007.
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่