iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT52 การศึกษาผลกระทบของการประสานงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการออกแบบต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา

ประสิทธิภาพของโซ่อุปทานและการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นระบบจัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตัววัดประสิทธิภาพของโซ่อุปทานจะใช้ต้นทุน ความสามารถในการตอบสนองต่อลูกค้า และเวลาในการดำเนินงาน เป็นตัวหลักในการวัดประสิทธิภาพของโซ่อุปทานของตนเอง และเทียบกับคู่แข่ง หรือค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม  

การใช้ต้นทุนในการวัดประสิทธิภาพของโซ่อุปทานนั้น ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่อย่างไรก็ตามการวัดประสิทธิภาพของโซ่อุปทานโดยใช้ต้นทุนเป็นตัววัด  อาจไม่สะท้อนถึงเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กรได้ ดังนั้นตัววัดประสิทธิภาพของโซ่อุปทานอื่นๆ ที่บริษัทและองค์กรควรคำนึงถึงซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณานั้น ได้แก่  ความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และ ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน ซึ่งรายละเอียดของตัววัดประสิทธิภาพทั้ง 3 ตัวนี้ มีดังนี้

  • ความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน หมายถึง ความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อาทิเช่น ความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ ปริมาณ และเวลาในการส่งมอบ  ตรงความต้องการของลูกค้า ในปัจจุบันวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้นลง ลูกค้าแต่ละรายมีความต้องการไม่เหมือนกัน การวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานจึงกลับกลายเป็นความสามารถในการตอบสนองลูกค้าที่รวดเร็ว อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร หมายถึง  ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรในระบบโซ่อุปทาน ตัวอย่างเช่น ต้นทุนของการใช้ทรัพยากร   ระดับสินค้าคงคลังในโซ่อุปทาน และผลตอบแทนจากการลงทุน
  • ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน หมายถึง  ความพึงพอใจของลูกค้า  ซึ่งสามารถวัดได้ในรูปแบบของการส่งมอบสินค้าตรงเวลา ระดับการให้บริการ ระยะเวลาในการตอบสนองลูกค้า  ยอดขาย และผลกำไร

ต่อไปเราจะลงในรายละเอียดว่า บริษัทและองค์ทั่วไปจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพของโซ่อุปทานเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างไร  

การบูรณาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในโซ่อุปทาน

จากการศึกษาและวิจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทานที่สำคัญนั้นคือ การบูรณาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในโซ่อุปทาน เมื่อระดับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของสมาชิกในโซ่อุปทานนั้นสูงขึ้น   ผลสำเร็จในบูรณาการระหว่างกันในโซ่อุปทานมากขึ้น จะทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุน และเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรือ ก็เพราะว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เช่น ข้อมูลการขาย สต็อคสินค้า การวางแผนการผลิต การวางแผนการจัดส่งร่วมกัน ทำให้สินค้าคงคลังในระบบโซ่อุปทานลดลง การพยากรณ์ความต้องการสินค้ามีความแม่นยำถูกต้องมากขึ้น คุณภาพตรงความต้องการร่วมกัน และทำให้ต้นทุนโดยรวมในระบบลดลงด้วย

การออกแบบโซ่อุปทาน

ปัจจัยถัดไปคือ การออกแบบโซ่อุปทานซึ่งปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องจำนวนซัพพลายเออร์  ระยะทางจากซัพพลายเออร์ถึงองค์กร ระดับความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ การประเมินซัพพลายเออร์  เงื่อนไขของการทำสัญญา สถานที่ขององค์กร เป็นต้น

ในบทความนี้จะนำเสนอการศึกษาของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทานจากงานวิจัยของ Bulent และ SeZen เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบโซ่อุปทานขององค์กรหนึ่งๆ  โดยการศึกษาดังกล่าวนี้ ได้ศึกษาผลของการบูรณาการโซ่อุปทาน (Supply chain integration) การแลกเปลี่ยนข้อมูลในโซ่อุปทาน (Supply chain information sharing) และการออกแบบโซ่อุปทาน (Supply chain design)  ต่อประสิทธิภาพในโซ่อุปทาน (ยืดหยุ่นในการดำเนินงาน ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และ ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน) ซึ่งแสดงได้รูปที่ 1

ที่มา: งานวิจัยเรื่อง “Relative effects of design, integration and information sharing on supply chain performance” โดย Bulent Sezen ในวารสาร Supply Chain Management: An International Journal ฉบับที่ 13 เล่มที่ 3 ปี 2008 หน้า 233-240.

แผนภาพที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน

การเก็บข้อมูล

ในการเก็บข้อมูลของการศึกษานี้ ได้มีการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการจำนวน 125 รายในประเทศตุรกี  โดยผู้ประกอบการเหล่านี้มีการผลิตสินค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น อาหาร  สิ่งทอ  ยานยนต์  เคมีภัณฑ์  อิเล็กทรอนิกส์  ในกลุ่มการศึกษานี้มีขนาดพนักงานในระดับที่แตกต่างกันซึ่งอยู่ในช่วง 3-10 คน 11-100 คน 101-500 คน และมากกว่า 500 คน มีจำนวนซัพพลายเออร์ในระดับที่แตกต่างกัน เช่น 1-2 ราย 3-10 ราย 11-30 ราย และมากกว่า 30 ราย โดยที่ข้อมูลของผู้ประกอบการสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1

ที่มา: งานวิจัยเรื่อง “Relative effects of design, integration and information sharing on supply chain performance” โดย Bulent Sezen ในวารสาร Supply Chain Management: An International Journal ฉบับที่ 13 เล่มที่ 3 ปี 2008 หน้า 233-240.

ตารางที่ 1 สรุปข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสอบถาม

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 125 ราย ดังกล่าวนี้ พบว่า ประสิทธิภาพของโซ่อุปทานขึ้นอยู่กับการออกแบบโซ่อุปทาน การบูรณาการ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของสมาชิกในโซ่อุปทาน โดยการออกแบบโซ่อุปทานที่เหมาะสมส่งผลต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน มากกว่าการปบูรณาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ผลการศึกษานี้บอกอะไรกับเรา

ผลการศึกษานี้บอกเราว่าถ้าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในโซ่อุปทาน เราควรออกแบบโซ่อุปทานของเราให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการกำหนดจำนวนของซัพพลายเออร์ให้เหมาะสม ทราบถึงความสามารถของซัพพลายเออร์ ออกแบบช่องทางการจัดจำหน่ายที่ดี เลือกสถานที่ตั้งในโซ่อุปทานอย่างมีกลยุทธ์ สิ่งเหล่านี้นำมาวิเคราะห์ให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะส่งผลให้ลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง การขนส่งและการดำเนินงานแก่โซ่อุปทาน และสามารถเพิ่มความสามารถการแข่งขันให้กับองค์กรได้อีกด้วย

สำหรับบทบาทของการบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้น จากการศึกษานี้พบว่า มีความสำคัญต่อการสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กรอย่างมาก ซึ่งหมายความว่า ยิ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลยิ่งมากในโซ่อุปทาน จะทำให้เวลาการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงยิ่งสั้นลง โซ่อุปทานมีการตอบสนองที่ดีมากขึ้น

ดังนั้นผลสรุปจากการศึกษานี้ได้ว่าถ้าองค์กรใดๆ ก็ตามที่อยากมีประสิทธิภาพโซ่อุปทานที่ดี องค์กรนั้นๆ ควรให้ความสำคัญของการออกแบบโซ่อุปทาน การบูรณาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในโซ่อุปทาน องค์กรนั้นก็จะสามารถลดต้นทุน มีความยืดหยุ่นในการทำงาน สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สร้างความได้เปรียบการแข่งขันแก่องค์กร

ที่มา: งานวิจัยเรื่อง “Relative effects of design, integration and information sharing on supply chain performance” โดย Bulent Sezen ในวารสาร Supply Chain Management: An International Journal ฉบับที่ 13 เล่มที่ 3 ปี 2008 หน้า 233-240.

.

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

 --------------------------------

ดูบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่

 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 15 บทความ จัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward