CT52 การวางแผนกลยุทธ์การจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพกุญแจสำคัญสู่การเพิ่มกำไรผู้รับเหมาก่อสร้าง
ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
การก่อสร้างนั้นจัดได้ว่าเป็นการบริหารงานแบบโครงการซึ่งกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและมีจุดสิ้นสุดที่แน่นอน และมีช่วงเวลาในการดำเนินงานที่ยาวนาน อาจถึง 2 ถึง 3 ปี ซึ่งระยะเวลาที่ยาวนานดังกล่าวนั้นนับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างผลกำไรของโครงการก่อสร้าง โดยทั่วไปในการบริหารก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ ผู้รับเหมานั้นมักคิดว่าการจัดการและควบคุมประสิทธิผลนั้นนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของโครงการก่อสร้างที่จะส่งให้งานก่อสร้างนั้นสำเร็จตามกรอบระยะเวลา
อย่างไรก็ตามการจัดการและการควบคุมประสิทธิผลนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น และเป็นแค่ปัจจัยสำคัญภายในของการควบคุมภายในโครงการก่อสร้างเท่านั้นที่เป็นแค่กระบวนการสร้างผลิตผลภายในโดยมีปัจจัยเพียงแค่การควบคุมผลิตภาพของแรงงานก่อสร้าง พนักงาน และดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด และมาตรฐานเชิงวิศวกรรมเท่านั้น ซึ่งไม่ต้องเผชิญกับปัจจัยภายนอก อันเนื่องมากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งตัวแปรที่สำคัญที่จะมีอิทธิพลต่อความสามารถในการสร้างผลกำไรหรืออาจทำให้โครงการก่อสร้างนั้นขาดทุนนั้นก็คือ การวางแผนการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการจัดซื้อนั้นจะเผชิญกับการผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างตลอดระยะเวลาการก่อสร้างที่ยาวนาน รวมถึงปริมาณที่เหมาะสมกับการจัดซื้อ และการจัดส่ง เพื่อลดปัญหาด้านสินค้าคงคลัง ณ สถานที่ก่อสร้าง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งวัตถุดิบแบบ Just in Time (JIT) และ การสร้างพันธมิตรกับ Suppliers ดังนั้นการวางกลยุทธ์การจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพนั้นจะสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดมาจากการผันผวนของราคา รวมถึงลดต้นทุนในการจัดเก็บ สร้างความพึงพอใจให้กับ End-User และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงก่อสร้าง
ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดซื้อ
ในการวิเคราะห์การจัดการระบบจัดซื้อของโครงการก่อสร้างนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ การวิเคราะห์ภายใน และการวิเคราะห์ภายนอก
1. การวิเคราะห์การจัดซื้อภายในโครงการและแนวทางปฏิบัติ
การจัดซื้อที่ขาดประสิทธิภาพมักจะมาจากการขาดนโยบาย ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อราคาและคุณภาพ และหลักการที่ชัดเจน การจัดซื้อที่ชัดเจนของ ผู้รับเหมา เจ้าของกิจการ หรือ ผู้จัดการโครงการ ในระบบการจัดซื้อดังที่ได้กล่าวในข้างต้นนั้นว่า ราคารวมวัสดุก่อสร้างนั้นขึ้นอยู่กับ Suppliers ทั้งขนาดความสามารถในการให้บริการของ Suppliers และระยะทางในการจัดส่งและให้บริการ รวมถึงปริมาณการสั่งซื้อซึ่งมีผลต่อราคาเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้บริหารในโครงการก่อสร้างนั้นจะต้องมีนโยบายการจัดซื้อที่ชัดเจน มีขั้นตอนในการพิจารณาทั้งในด้านราคา การเปลี่ยนแปลงของราคา (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) ตำแหน่งที่ตั้งของ Suppliers (ดังแสดงในแผนภาพที่ 2) กลุ่มพื้นที่การให้บริการโครงการ (ลูกค้า) (ดังแสดงในแผนภาพที่ 3) ซึ่งตัวแปรเหล่านี้มันมีผลต่อการเลือก Suppliers และราคาวัสดุ อันจะมีผลต่อการสร้างกำไรของโครงการก่อสร้าง
แผนภาพที่ 1 การวิเคราะห์ และการติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคา
แผนภาพที่ 2 การระบุต่ำแหน่ง Suppliers
แผนภาพที่ 3 การกำหนดขอบเขตการให้บริการ ต่อความสามารถการให้บริการของ suppliers
2. การวิเคราะห์การจัดซื้อภายนอกโครงการและแนวทางปฏิบัติ
แผนภาพที่ 4 กลยุทธ์การจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ
ในระบบการจัดซื้อในอุตสาหกรรมก่อสร้างโดยส่วนใหญ่ผู้รับเหมานั้น มักมองเพียงแค่เป็นการซื้อวัสดุมาก่อสร้างเพียงเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์และด้วยราคาหรือต้นทุนที่ถูกที่สุดเท่านั้น แต่ในความเป็นหากผู้รับเหมาพิจารณาและวิเคราะห์การจัดซื้อในรูปแบบของระบบโซ่อุปทานจะพบว่า การจัดซื้อนั้นเป็นหน่วยงานเพียงหน่วยเดียวที่จะสามารถสร้างมูลค่าให้กับโครงการก่อสร้าง ได้แก่ การสร้างสรรค์ออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Design and Development) ซึ่งทั้งผู้รับเหมาและ Suppliers สามารถร่วมกันและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าร่วมกันเพื่อตรงกันกับความต้องการของลูกค้า
จากแผนภาพที่ 4 แสดงให้ ตารางส่วนบน แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการจัดซื้อในการร่วมมือเป็นพันธมิตร โดยเฉพาะในกรณีที่มี Supplier หลายราย และสภาวะการแข่งขันของตลาดนั้นสูง ผู้รับเหมาสามารถร่วมมือกับ Suppliers นั้นในการออกแบบผลิตสำหรับโครงการนั้นโดยเฉพาะ และสามารถร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้านั้น ๆ เช่น ในการปัจจุบันความต้องการของคนยุคใหม่ในการอยู่คอนโดมิเนี่ยมสูงขึ้น มีคอนโดมิเนี่ยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งคอนโดมิเนี่ยมเป็นห้องชุดที่เป็นที่พักอาศัยที่มีพื้นใช้สอยจำกัดดังการออกแบบเฟอร์นิเจอร์นั้นมีความจำเป็นจะต้องกะทัดรัดมีที่เก็บเยอะ เช่น ชุดโซฟา โดยมีโต๊ะรับแขกที่สามารถปรับเป็นโต๊ะคอมพิวเตอร์ได้ และยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ Built-in ที่ทำสำหรับโครงการโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามกลยุทธ์นี้จะสำเร็จได้จะต้องอาศัยการสร้างร่วมมือ และมีการรับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลักษณะของ การเป็น Partner หรือ Joint-Venture
เมื่อพิจารณาแผนภาพที่ ในส่วนล่างของตาราง การจัดซื้อนั้นจะเป็นการจัดซื้อสินค้าประเภท Low Value Added Purchasing ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบหรือวัสดุนั้น ๆ ได้มาก ดังการเจรจาต่อรองจะเน้นในด้านของราคา ซึ่งก็หมายถึง เน้นไปยังการซื้อด้วยปริมาณมาก ๆ เพื่อต้องการส่วนลดของสินค้า และสั่งซื้อโดยใช้ Suppliers น้อยรายแต่เน้นที่ปริมาณ ซึ่งการจัดซื้อนั้นโดยเฉพาะในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องการปริมาณจำนวนมาก ๆ ควรเน้นลักษณะความร่วมไปในลักษณะของ Consortium
จากที่กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์การจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ และมีการวางแผนอย่างถูกต้องนั้นจะสามารถสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการก่อสร้างได้
.
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
--------------------------------
ดูบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 15 บทความ จัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่