หน้าที่ของสินค้าคงคลัง (Functions of Inventories) จําแนกออกตามหน้าที่ได้เป็น
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบส่งผาน (Transit Inventories) หรือวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังในท่อ (Pipeline Inventory) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่กำงอยู่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังไว้ป้องกัน (Buffer Inventories) หรืออีกชื่อคือ วัตถุดิบในระดับปลอดภัย (Safety Stock) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่ธุรกิจเก็บไว้เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของปริมาณสินค้าและความต้องการ โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังจะมีระดับใช้เป็นกันชน (Cushion) เพื่อให้การดําเนินงานมีความราบรื่นและต่อเนื่อง โดยป้องกันปัญหาสินค้าขาดมือ (Stock out) และการสั่งซื้อกลับ (Backorder)
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบล่วงหน้า (Anticipation Inventories) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่จัดเก็บเพื่อป้องกันความเสี่ยงของสถานการณ์ เช่น การขึ้นราคา การนัดหยุดงาน การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ หรือความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความคงที่ ไม่ขาดตอน หรือต้องเร่งกำลังการผลิต เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า ต่างก็จะพยายามจะเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบล่วงหน้าในช่วงเทศกาล เป็นต้น
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบคู่ควบ (Decoupling Inventories) เป็นระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลัง ที่ช่วยให้การหมุนเวียนของวัสดุหรือวัตถุดิบและกระบวนการผลิตดําเนินไปอย่างราบรื่นในอัตราคงที่
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร (Cycle Inventories) หรือวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อ (Lot-size Inventory) เป็นปริมาณวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อในรอบระยะเวลา เพื่อให้ต้นทุนการสั่งซื้อและการจัดเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังตํ่าที่สุด โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจรเป็นเครื่องมือสําคัญในการบริหารระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังธุรกิจ ในทางปฏิบัติธุรกิจต่าง ๆ คงมิได้แยกเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังตามหน้าที่อย่างชัดเจนตามที่กล่าวมา และหลายธุรกิจก็ไม่จําเป็นที่จะต้องมีวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังในทุกหน้าที่ แต่เพื่อให้สามารถทําความเข้าใจถึงความแตกต่างของวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังเพื่อใช้ในระบบการ วางแผนจัดการวัสดุหรือวัตถุดิบในเชิงรุก
- การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บไว้ใช้ในกรณีพิเศษต่าง ๆ (Anticipation Inventory) ที่จะเกิดขึ้นตามแผนการดำเนินงานทั้งกรณีที่คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากปกติ เช่น planned sales promotion programs, seasonal fluctuations และกรณีที่วัสดุหรือสินค้านั้นอาจขาดแคลนชั่วคราว เช่น plant shutdowns
- การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บไว้สำรอง (Fluctuation Inventory) ในกรณีที่ความต้องการของลูกค้าหรือการจัดส่งวัสดุหรือสินค้าจะ Supplier มีความไม่แน่นอน
- การมีวัสดุคงคลังเนื่องจากกรผลิตหรือสั่งซื้อแบบเต็ม Lot (Lot size Inventory) เพื่อรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่หรือเพื่อให้ได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อจานวนมากต่อครั้ง
- การมีวัสดุคงคลังไว้เพื่อเก็งกำไรในอนาคต (Hedging Inventory)
การจัดการสินค้าคงคลัง มีความสําคัญหลายประการ
1. เพิ่มความสามารถในการทํากำไรของกิจการจากการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดให้มีระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสมไม่มากเกินไปจนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาหรือมีต้นทุนจมในสินค้าคงคลังนั้น และไม่มีสินค้าคงคลังน้อยเกินไปจนเกิดการขาดแคลนทําให้สูญเสียโอกาสในการขายหรือสูญเสียลูกค้าไปให้คู่แข่งขัน
2. การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สินค้าคงคลังของกิจการจะทําให้กิจการสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันที ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ สามารถส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
3. การเพิ่มประสิทธิภาพของการบวนการผลิต โดยสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบจะช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ในกระบนการผลิตหากมีขั้นตอนหนึ่งหรือ เครื่องจักรใดเครื่องจักรหนึ่งเกิดเสีย การมีสินค้าคงคลังระหว่างการผลิตจะช่วยให้การผลิตไม่ต้องหยุดชะงัก สามารถดําเนินการผลิตได้อยางต่อเนื่องกันไป
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------