iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Lean แนวคิดการจัดการลีน กิจกรรมเพิ่มคุณค่า (Value-Added Activities หรือ VA) 

การผลิตแบบลีน (Lean) คือ แนวคิดในการผลิตที่ถือว่าความสูญเปล่า (Wastes) เป็นตัวการที่ทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น ดังนั้น การผลิตแบบลีน (Lean) จึงเป็นการนำเทคนิคต่างๆมาใช้เพื่อกำจัดความสูญเปล่าออกไป ส่วนที่ต้องกำจัดในการผลิตแบบลีน (Lean) คือ ความสูญเปล่า (Losses) ในการผลิตจะมีกิจกรรมที่อยู่ในกระบวนการผลิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. กิจกรรมเพิ่มคุณค่า (Value-Added Activities หรือ VA) คือ กิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุดิบ หรือการเปลี่ยนคุณสมบัติของชิ้นงาน หรือเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเราจะให้ความสำคัญกับกิจกรรมเหล่านี้ จะดำเนินการปรับปรุงพัฒนาด้านประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น เราอาจตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ลูกค้าจำเป็นไหมที่ต้องจ่ายเงินสำหรับกิจกรรมเหล่านี้ ถ้าจำเป็นแสดงกิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม”

2. กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (Non-Value Added Activities หรือ NVA) คือ กิจกรรมที่ใด ๆ ที่มีการใช้ทรัพยากร เช่น เครื่องจักร เวลา พนักงาน หรือพื้นที่ แต่กลับไม่ได้มีส่วนในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าตามข้อด้านบน คือ ไม่ได้ทำให้รูปร่างเปลี่ยนไป ไม่ได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของชิ้นงาน หรือไม่ได้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์หรือชิ่นงาน และยังไม่ได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเลย เราจะเรียกกิจกรรมเหล่านี้ว่า ความสูญเปล่า (Losses) เราสามารถแบ่งกิจกรรมที่สูญเปล่าได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

- กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าและไม่มีความจำเป็นต้องทำ (Non-Value Added Activities หรือ NVA) เป็นกิจกรรมที่สามารถกำจัดทิ้งได้ทันทีและควรต้องทำก่อน

- กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าแต่จำเป็นต้องทำกิจกรรมเหล่านี้ ( Non Value Added but Necessary Activities (NVAN) ไม่สามารถกำจัดทิ้งได้ทันทีแต่ต้องลดให้เหลือเท่าที่จำเป็น

มีการประมาณกันว่า 95% ของเวลาที่สินค้าอยู่ในโรงงานเป็นเวลาที่ใช้ไปกับกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าทั้ง 2 ส่วน และมีเพียง 5% ที่เป็นกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่าในการผลิต ซึ่งหากเรายอมรับว่า VA เป็นงานที่ลูกค้าได้รับประโยชน์จริง จึงควรต้องมองหากิจกรรมนี้แยกออกมาจัดการเพื่อให้ความสำคัญและปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ส่วนกิจกรรมที่ไม่ใช่ VA นั้นเราจะถือว่าเป็น NVA ที่ต้องมีการพิจารณาในการจัดการตัดออกไปให้ได้มากที่สุด

ในการทำลีนจะพยายามมองหา NVA และเลือกที่จะทำก่อนเพราะป็นตัวที่มีความสูญเสียเยอะ ทำได้ง่ายเพราะหากทำไปแล้วก็จะไม่มีผลกระทบต่อลูกค้า ขั้นตอนการวิเคราะห์กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าและกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (VA & NVA) จะทำโดยการเขียนขั้นตอนกระบวนการ ซึ่งควรต้องเขียนให้ย่อยได้มากที่สุด เพื่อทำการแยกประเภทว่าอยู่ในกลุ่มใด ใช้ในการวางแผนจัดลำดับขั้นตอนการปรับปรุง แนวทางการดำเนินงาน และตัวชี้วัดที่ได้

 ------------------------------------------------

ที่มาข้อมูล

ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

 
--------------------------------------------------------
สนใจลิงค์ที่เกี่ยวข้องคลิกดูเพิ่มเติมได้ตามลิงค์หัวข้อด้านล่าง
Lean การเปลี่ยนแปลงแบบลีน (Lean Transformation) รวมข้อมูล
--------------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward