การพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) ในการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
การพยากรณ์ความต้องการ กระบวนการจัดซื้อ กระบวนการวางแผนผลิตหลัก กระบวนการจัดการคลังสินค้า และการจัดส่งและการกระจายสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ กระบวนการจัดการที่สำคัญลำดับแรก คือ การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า การพยากรณ์เป็นการประมาณความต้องการของสินค้าของลูกค้าล่วงหน้าโดยใช้วิธีและเทคนิคการพยากรณ์ที่เป็นระบบและถูกต้องแม่นยำ การพยากรณ์ความต้องการสินค้าเป็นวิธีการพยากรณ์ที่ใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคตของลูกค้าโดยมีวิธีการพยากรณ์แบบต่างๆหลายวิธี เช่น
เทคนิคการพยากรณ์มีด้วยกัน 3 เทคนิคหลัก คือ
1. เทคนิคการพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative) ทำได้ 2 วิธีการคือ
1) การพยากรณ์โดยหัวหน้าพนักงานขาย (Sale Force Composite)
2) การพยากรณ์โดยการสำรวจตลาดจากผู้บริโภค (Consumer Market Survey)
โดยอาศัยวิจารณญาณประสบการณ์ความรู้ความสามารถของผู้ที่ทำการพยากรณ์
2. เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช้วิธีการของการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series) ทำได้โดยการนำ ข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บรวบรวมมาเป็นระยะเวลาติดต่อกันตามช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น อาจเป็นราย ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ไตรมาศ หรือเป็นปี เป็นต้น ซึ่งมีหลายวิธีการ เช่น
- วิธีของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) มี 2 แบบ คือ แบบไม่ถ่วงน้ำหนัก และแบบถ่วงน้ำหนัก
- วิธีการปรับเรียบเอ็กโปแเนนเชียล (Exponential Smoothing)
- การพยากรณ์แบบฤดูกาลของวินเตอร์ (Winter’s Linear and Seasonal Exponential Smoothing)
- การพยากรณ์โดยวิธีวินเตอร์ จะให้ค่าการพยากรณ์ที่ดีเหมือนกับการปรับเรียบเอ็กโปแนนเชียลซ้ำสองครั้ง แต่จะมีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่า คือ สามารถพยากรณ์กับข้อมูลที่เป็นฤดูกาล หรือแบบแนวทิศทางหรือทั้งสองแบบ
- การวิเคราะห์แนวโน้มการพยากรณ์แนวโน้ม (Trend Projection) เป็นการพยากรณ์โดยยึดข้อมูลอนุกรมเวลาในอดีตมาจัดทำเป็นกราฟ เพื่อดูแนวโน้มของข้อมูลว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยวิธีนี้จะพยายามลากเส้นตรง (Trend Line) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลในอดีตมากที่สุด หรือสามารถที่จะเป็นตัวแทนของข้อมูลชุดนั้นได้
3. เทคนิคการพยากรณ์ด้วยตัวแบบความสัมพันธ์ (Causal Model) การพยากรณ์โดยใช้ตัวแบบความสัมพันธ์ โดยดูความสัมพันธ์ของตัวแปรในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ยอดขายสินค้ากับค่าใช้จ่ายในการโฆษณา หรือ ยอดขายกับจำนวนประชากร เป็นต้น ตัวแปรที่ต้องการพยากรณ์จะเป็นตัวแปรตาม (Dependent Variable) และตัวแปรตัวอื่นก็จะเป็นตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ซึ่งมีอิทธิพลหรือมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามนั่นเอง ตัวแบบการคำนวณหาความสัมพันธ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis)
บุคลากรที่มีหน้าที่พยากรณ์ความต้องการของลูกค้าต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการพยากรณ์ในแต่ละประเภท รวมทั้งการลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในค่าพยากรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการพยากรณ์มีความถูกต้องแม่นยำที่สุด
ช่วงเวลาของการพยากรณ์ แบ่งเป็น การพยากรณ์ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยพิจารณาระยะเวลาที่จะพยากรณ์เป็นสำคัญ
- การพยากรณ์ระยะสั้น เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ที่ไม่เกิน 1 ปี โดยทั่วไปมักจะอยู่ในช่วงไม่เกิน 3 เดือน เช่นการพยากรณ์การวางแผนการจัดซื้อ การจัดทำตารางการทำงาน และการมอบหมายงานการพยากรณ์ยอดขาย และการพยากรณ์ระดับการผลิต
- การพยากรณ์ระยะกลาง เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ที่อยู่ในช่วง 3 เดือน ถึง 3 ปี จะใช้มากในการพยากรณ์การวางแผนการขาย การวางแผนการผลิต และวางแผนด้านงบประมาณเงินสด และวิเคราะห์การวางแผนดำเนินงานต่างๆ
- การพยากรณ์ระยะยาว เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ที่มากกว่า 3 ปีขึ้นไป มักใช้สำหรับการวางแผนออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน การขยายทำเลที่ตั้ง และการวิจัยพัฒนา
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------