lm การพยากรณ์ความต้องการ กระบวนการจัดซื้อจัดหา (source)
กิจกรรมการจัดซื้อจัดหาเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบหรือสินค้าดังกล่าว จึงนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญของกระบวนการธุรกิจ มีจุดมุ่งหมายหลักที่สำคัญคือ การแสวงหาผลกำไรจากกิจกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า การขายสินค้าที่ผลิตขึ้นเอง หรือการให้บริการแก่ลูกค้าในรูปแบบต่าง ๆ ในด้านการผลิต ผู้ผลิตพยายามที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับวัตถุดิบที่จัดหาเข้ามาเพื่อทำการแปลงสภาพปัจจัยการผลิตให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจในรูปของสินค้าสำเร็จรูป สำหรับผู้จำหน่ายสินค้าในลักษณะพ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีก ที่ถูกเรียกว่าเป็นพ่อค้าคนกลาง ก็จะทำการซื้อสินค้าด้วยต้นทุนต่ำ เพื่อการจำหน่ายและตอบสนองความต้องการหรือความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคคนสุดท้ายในราคาที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือกำไร ซึ่งเป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ขาย
รูปกระบวนการจัดซื้อจัดหา
อุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องอาศัยระบบการผลิตที่มีความซับซ้อน และต้องอาศัยอะไหล่หรือชิ้นส่วนจำนวนมากเพื่อนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค เช่น อุตสาหกรรมการประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า การสร้างอาคารที่พักอาศัยขนาดใหญ่ หรือธุรกิจการจำหน่ายสินค้าจำนวนครั้งละมาก ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าที่มีรายการสินค้ามากมายและต้องติดต่อกับผู้ผลิตหรือผู้ขายหลายราย การจัดหาและการจัดซื้อจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีราคาเหมาะสม เพื่อที่จะทำการผลิตหรือขายสินค้าด้วยต้นทุนต่ำและสร้างผลกำไรให้กับกิจการ รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อให้กระบวนการผลิตหรือการขายเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน
เนื่องจากวัตถุดิบหรือสินค้าที่ได้รับการจัดหาหรือจัดซื้อมาใช้จำแนกออกได้เป็นหลายประเภท ได้แก่ วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุสำนักงาน อะไหล่ชิ้นส่วน เครื่องมืออุปกรณ์ วัสดุโฆษณา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีปริมาณการใช้และต้นทุนในการจัดซื้อมาใช้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบประเภทใดก็ตาม ฝ่ายจัดซื้อจะมีบทบาทสำคัญในอันที่จะจัดซื้อเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาต่อหน่วยต่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งการจัดซื้อเป็นกิจกรรมก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้นติดตามมา เช่น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัสดุคงคลัง ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายคลังสินค้า ค่าจ้าง ค่าสาธารณูปโภค ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและอาศัยเทคนิควิธีการที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงสุด ดังนั้น การจัดหาและการจัดซื้อมีขอบเขตการดำเนินงานกว้างขวาง ได้แก่ การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การเลือกผู้จำหน่ายวัตถุดิบ การศึกษาตลาดและความเคลื่อนไหวของราคาวัตถุดิบ การวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ เป็นต้น
การจัดหาและการจัดซื้อเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงการปฏิบัติงานระหว่างการจัดหาและจัดส่งวัตถุดิบจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบกับการดำเนินงานของระบบการผลิต ดังนั้น จึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์และการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร นอกจากนั้นยังเป็นช่องทางที่องค์กรจะได้รับทราบข้อมูลและความเคลื่อนไหวของการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี แหล่งวัตถุดิบใหม่ ผู้จัดส่งหรือผู้จำหน่ายวัตถุดิบรายใหม่ แนวโน้มของตลาด สภาพแวดล้อมและรูปแบบของการแข่งขันทางธุรกิจ ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Alliance) นอกจากนี้ยังถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกระทบต่อกำไรและอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของกิจการที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรอีกด้วย
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------