iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

lm การพยากรณ์ความต้องการ การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirements Planning; MRP)

การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirements Planning; MRP) เป็นวิธีการคำนวณเพื่อจัดการวัตถุดิบและวัสดุในการผลิตต่าง ๆ ให้เพียงพอกับช่วงเวลาที่มีความต้องการ หรือเป็นการจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอและทันเวลากับความต้องากรในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป

1) ข้อมูลการทำงานของการวางแผนความต้องการวัสดุ เมื่อพิจารณาการทำงานของระบบ MRP จะพบว่า MRP จะนำข้อมูล 2 ส่วนมาใช้ในการพิจารณาความต้องการวัตถุดิบ คือ อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply)

อุปสงค์ (Demand) ได้มาจาก

1. คำสั่งขาย (Customer Order)

2. ค่าพยากรณ์ยอดขาย (Sales Forecast)

3. ตารางการผลิตหลัก (Mater Production Schedule; MPS)

4. คำสั่งผลิต (Manufacturing Order)

อุปทาน (Supply) ได้มาจาก

1. แผนการสั่งซื้อ (Plan Purchase)

2. คำสั่งซื้อ (Purchasing Order)

3. คำสั่งผลิต (Manufacturing Order)

2) การทำงานของระบบ MRP 
ประกอบด้วยข้อมูลหลัก ดังนี้

1. ข้อมูลภาวะของคงคลัง (Inventory Master File) รายการของคลังแต่ละรายการที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูลชุดภาวะของคงคลังจะประกอบด้วยรายละเอียดที่แสดงภาระของวัสดุแต่ละรายการ เช่น หมายเลขชิ้นส่วน (Part Number) รายละเอียดของชิ้นส่วน (Part Description) ปริมาณที่มีอยู่ในขณะนั้น (Quantity on Hand) ปริมาณการสั่ง (Quantity or Order) สถานที่เก็บชิ้นส่วน (Part Location) หมายเลข Lot เพื่อแยกการรับเข้าของสินค้าแต่ละครั้ง (Lot Number) ฯลฯ

2. ชุดภาระการสั่ง (Order Master File) เป็นข้อมูลที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูลการสั่งประกอบด้วยข้อมูลของลูกค้าทั้งหมด ปริมาณการสั่งซื้อและสั่งผลิตจะประกอบด้วย หมายเลขชิ้นส่วน (Part Number) หมายเลขใบสั่ง (Order Number) ปริมาณการสั่ง (Order Quantity) วันกำหนดส่ง (Due Date) หมายเลขของผู้ขาย (Vendor Number) ฯลฯ

3. ข้อมูลชุดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Product Structure File) แฟ้มข้อมูลชุดโครงสร้างของผลิตภัณฑ์เป็นข้อมูลที่เชื่อมไปยังรายการผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปกับชิ้นส่วนและส่วนประกอบทั้งหมดที่นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วยหมายเลขของชิ้นส่วนหลัก (Parent Part Number) วัสดุที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตชิ้นส่วน (Component) จำนวนที่ต้องการใช้ในการผลิตชิ้นส่วนต่อ 1 หน่วย (Quantity Per Unit) ขั้นตอนการผลิต (Operation) เวลาเตรียมงาน (Setup Time) และเวลาที่ใช้ในการผลิต (Run Time)

4. ข้อมูลชุดอุปสงค์และอุปทานของวัสดุ (Materials Demand File and Material Supply File) ข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับความต้องการวัสดุ ในการผลิตและการได้รับวัสดุเพิ่มขึ้นในคลังสินค้า

การประมวลผล MRP จะประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1) ระบบการประมวลผล MRP (MRP Control System) ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ มาทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปของรายงานต่าง ๆ 

2) ระบบตารางการผลิตหลักของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finished Goods Under Schedule System) เป็นการแสดงรายการให้ทราบว่า มีสินค้าชนิดใดบ้างที่ต้องทำการผลิต ผลิตด้วยจำนวนเท่าใด และจะพร้อมส่งเมื่อไร แสดงดังรูปแสดงตารางการผลิต

3) ระบบการกระจายโครงสร้างผลิตภัณฑ์และนำเวลามาตรฐานมาใช้ (Product Structure Explosion and Lead Time System) หลังจากได้รับข้อมูลความต้องการผลิตภัณฑ์จากตารางการผลิตหลัก นำข้อมูลมาคำนวณหาความต้องการวัตถุดิบ โดยสามารถทราบวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้จากโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนต้นไม้โดยจะแสดงรายการวัสดุ จำนวนและขั้นตอนกระบวนการผลิตซึ่งประกอบด้วยเวลาในการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แสดงดังรูปโครงสร้างผลิตภัณฑ์

 

รูปโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Product Structure)

4) ระบบการรับ – จ่ายของคลัง (Inventory Transaction System) ในการทำ MRP ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง (Inventory) ที่ถูกต้องและทันสมัยมีความสำคัญมากซึ่งทำให้การวางแผนเกี่ยวกับวัสดุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่สำคัญที่จะให้ทราบภาวะคงคลังได้อย่างถูกต้อง และทันสมัยอยู่เสมอ คือ ระบบการจัดการของคงคลังมีการรับและการจ่ายของคงคลังได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อวัสดุที่สั่งซื้อเข้ามาในคงคลัง ซึ่งผ่านระบบการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ระบบการรับ – จ่าย จะบันทึกรับวัสดุเข้าคงคลังและปรับจำนวนยอดคงเหลือในคลังให้ถูกต้อง ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีการเบิกวัสดุไปใช้ในการผลิต ระบบการรับ – จ่าย ก็จะบันทึกจ่ายวัสดุออกจากคลังแล้วปรับยอดคงเหลือให้เช่นกัน

5) ระบบการปรับปรุงข้อมูลของคงคลังและตารางการผลิต (Schedule and Inventory Adjustment System) การปรับปรุงข้อมูลของคงคลังและตารางการผลิตเป็นการปรับปรุงข้อมูลคงคลังให้อยู่ในสภาพที่เป็นจริงอยู่ตลอด (Real Time) ไม่ว่าจะเกิดสภาพการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของระบบในช่วงเวลาใดหรือขณะใดก็ตาม เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลของคงคลังที่ได้วางแผนไว้กับข้อมูลจริงให้ถูกต้องเนื่องจากสภาพทั่วๆ ไป ของการผลิต เหตุการณ์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ลูกค้าต้องการเร่งทำให้ต้องมีการเลื่อนแผนกำหนดวันส่งสินค้า รายการวัสดุที่ถูกผลิตหรือประกอบในระดับต่าง ๆ อาจมีข้อบกพร่อง จะต้องนำมาแก้ไขช่วงเวลาให้ถูกต้อง เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้ไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ระบบการปรับปรุงต้องมีการเปลี่ยนแปลง ป้อนเข้าสู่ระบบ MRP อย่างทันเวลา เพื่อให้ภาวะของคงคลังทุกรายการ และสภาพของการผลิตดำเนินไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด

.

ที่มา

รวมรวมข้อมูลภาพ

- www.iok2u.com

-------------------------------------

การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)

-------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward