lm การพยากรณ์ความต้องการ การจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling; MPS)
การจัดตารางการผลิตหลัก (MPS) เป็นการวางแผนสำหรับสินค้าสำเร็จรูป (Finished Products) โดยนำข้อมูลการสั่งซื้อจากลูกค้าและการประมาณการขาย การจัดทำแผนเพื่อให้ทราบจำนวน วันที่ที่ลูกค้าต้องการ และยอดคงเหลือของคลังสินค้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากผลิตตามแผนที่วางไว้ โดยระบบดูจากนโยบายในการผลิต นำมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดวันที่ และจำนวนที่จะนำไปผลิตด้วย สามารถแสดงดังภาพต่อไปนี้
รูปความสัมพันธ์ของการจัดตารางการผลิตหลัก (MPS)
วิธีการคำนวณของการจัดตารางการผลิตหลัก สามารถแบ่งตามนโยบายการสั่งผลิตได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้
1) นโยบายแบบตามความต้องการ (Lot for Lot) เป็นการสั่งผลิตเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการสุทธิค่าสูงสุดที่สามารถผลิตได้ โดยสามารถคำนวณได้
การคำนวณแผนการผลิต
แผนการผลิต = (ยอดขายหรือประมาณการขาย) + (Safety Stock – จำนวนคงเหลือ)
ยอดคงเหลือ = (แผนผลิต – (ยอดขายหรือประมาณการขาย) + ยอดขายคงเหลือก่อนหน้านี้
2) นโยบายแบบจำนวนคงที่ (Fixed) เป็นการสั่งผลิตแบบกำหนดจำนวนที่แน่นอนในการผลิต สามารถกำหนดค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและค่า EOQ (Lot Size) โดยระบบเปรียบเทียบระหว่างค่าต่ำสุดกับค่า EOQ ที่จะนำมาคำนวณ
ค่าต่ำสุด > ค่า EOQ จะนำค่าต่ำสุดมาใช้ในการจัดทำแผนการผลิต
ค่าสูงสุด < ค่า EOQ จะนำค่า EOQ มาใช้ในการจัดทำแผนการผลิต
ขั้นตอนและวิธีการคำนวณของแผน
ขั้นตอนและวิธีการคำนวณของนโยบายแบบจำนวนคงที่ มีวิธีการคำนวณเหมือนกับนโยบายตามความต้องการแตกต่างกัน คือ นโยบายแบบจำนวนคงที่จะเปรียบเทียบระหว่าง ค่าต่ำสุดกับค่า EOQ ถ้าค่าใดมีค่ามากกว่า จะนำมาใช้ในการคำนวณแผนการผลิต
3) นโยบายตามแบบคาบเวลา (Period of Supply) เป็นการสั่งผลิตโดยคำนวณจำนวนที่ลูกค้าต้องการล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดสามารถกำหนดจำนวนวันที่ต้องการให้ระบบวางแผนล่วงหน้า โดยมีขั้นตอนและวิธีการคำนวณดังนี้
แผนการผลิต = (ผลรวมยอดขายหรือประมาณการขายตามจำนวนวันที่กำหนดใน Supply Days) + (Safety Stock – จำนวนคงเหลือ)
ยอดคงเหลือ = (แผนผลิต – (ยอดขายหรือปริมาณการขาย) + ยอดคงเหลือก่อนหน้านี้)
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------