การจัดการโลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทาน เพื่อช่วยในการวางแผน การสนับสนุน การควบคุมการไหลของวัตถุดิบและสินค้าให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และการเก็บรักษาสินค้าหรือการบริการ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ความสำคัญอันดับแรกของการจัดการระบบโลจิสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากต้นกำเนิดไปสู่สถานที่ ที่มีความต้องการ หน้าที่นี้ก็คือ การนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ และปริมาณด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อ’
พันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงานและประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มกิจกรรมหลักโลจิสติกส์
จากรูปองค์ประกอบของระบบ โลจิสติกส์มีหลายกิจกรรม คือ การพยากรณ์อุปสงค์ การวางแผน การผลิต การจัดซื้อ บรรจุภัณฑ์ การเคลื่อนย้ายภายในองค์กร การผลิต คลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้า การบริการลุกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวข้องกันเป็นกระบวนการ การวัดผลงานการดำเนินงานในกระบวนการของบริษัททั้งหมด
รูปองค์ประกอบของระบบโลจิสติกส์
การแบ่งขอบเขตของโลจิสติกส์ เป็น 2 กลุ่มกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้
1. การจัดการวัสดุ (Material Management) หรือโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) หรือโลจิสติกส์เพื่อการผลิต (Manufacturing Logistics) จะสนับสนุนในการผลิตเป็นหลัก มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ เป็นการศึกษาอุปสงค์ของพื้นที่จัดเก็บและการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบ สินค้า ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ ที่ต้องจัดซื้อ จัดหา เพื่อการผลิต รวมถึงต้นทุนและการบริการ เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มในกิจกรรมทางเลือกที่ดีที่สุด
2. การจัดการการกระจายสินค้า (Physical Distribution Management) หรือโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) จะสนองความต้องการในการขาย และการตลาดเป็นหลัก มีหน้าที่หลักคือ การจัดการคลังสินค้า และการขนส่ง โดยคลังสินค้าจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ต่างๆ ระบบการจัดการคลังสินค้าและโครงสร้างบริหารจัดการ ส่วนงานขนส่งจะเกี่ยวข้องกับการเลือกพนักงาน ที่มีทักษะ รูปแบบการขนส่ง วิธีการขนส่ง และมูลค่าจากการทำงาน
การให้บริการโลจิสติกส์สำหรับผู้ให้บริการจากภายนอก (LSP,3PL) ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ จากรูปของกิจกรรมของ
โลจิสติกส์ระหว่างประเทศมีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้ขายปัจจัยการผลิต (Suppliers) ผู้ซื้อ (Buyer) โดยมีกิจกรรมหลักในโลจิสติกส์ คือการขนส่งทั้งทางบก (รถไฟ และ รถยนต์) ทางเรือและทางอากาศ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และผู้ให้บริการจัดเก็บสินค้า (Storage)
รูปกิจกรรมโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
ส่วนในประเทศไทยมีขอบเขตของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกชนและรัฐบาล ซึ่งในภาคเอกชนประกอบด้วย ผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตหรือโรงงานแปรรูป (Factory) ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้รับประกันภัย ส่วนภาครัฐบาลจะประกอบด้วย กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กรมศุลกากร โดยมีปัจจัยแวดล้อมสนับสนุนคือ กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ บุคลากรในงานโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานคือ ท่าเรือ สนามบิน รางรถไฟ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมโลจิสติกส์ที่ขนส่งผ่านทั้ง ทางรถไฟ ทางรถยนต์ ทางน้ำ และทางเส้นท่อ ทั้งในระดับพื้นที่ภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งกิจกรรมโลจิสติกส์หลักได้แก่ การจัดซื้อ การผลิต การจัดส่ง การจัดการสินค้าคงคลัง และกิจกรรมอื่นๆ ทั้ง 15 กิจกรรม โดยการดำเนินงานจะเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน การประกันภัย ซึ่งทุกกิจกรรมจะดำเนินการผ่านกระบวนการในโลจิสติกส์ ในปัจจุบันจึงเกิดรูปแบบธุรกิจการให้บริการด้านโลจิสติกส์ขึ้น เรียกว่า ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จากภายนอก (The Third Party Logistics Services Provider : 3PL หรือ LSP)
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------