LM57 การจัตการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
การจัตการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
ความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์
การจัตการโลจิสติกส์ (Logistics Management) เป็นเป้าหมายสำคัญที่ทุกองค์กรใช้เป็นแหล่งที่มาของความได้เปรียบในการแข่งขัน โตยให้ความสำคัญกับต้นทุนการดำเนินการต่าง ๆ การแข่งขันและพยายามหาวิธีลดต้นทุนให้ต่ำลง เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในตลาด เนื่องจากการเพิ่มราคาสินค้า เพื่อรักษาระดับรายไต้ให้เท่าเดิมนั้นเป็นไปได้ยากในสภาวะทางการแข่งขันทางการตลาตในปัจจุบัน เมื่อต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทุกองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญ โดยเฉพาะต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกิดในแต่ละกิจกรรมในกระบวนการโลจิสติกส์ เช่น การให้บริการถูกค้า การขนส่ง กระบวนคำสั่งซื้อและข้อมูลการสั่งซื้อ ปริมาณการสั่งซื้อ และการจัดเก็บสินค้าคงคลัง จึงทำให้แนวคิดเรื่องต้นทุนรวม โดยการมุ่งเน้นในการลดต้นทุนรวมของทุกกิจกรรมโลจิสติกส์ เป็นประเด็นสำคัญเพื่อทำให้การบริหารกระบวนการทางต้นโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ
การจัตการโลจิสติกส์มีความสำคัญทั้งในระดับจุลภาค (ภายในองค์กร) และระดับมหภาค (ระดับชาติ) โดยเฉพาะด้านการเงินซึ่งเป็นด้านที่ทุกองค์กรหรือทุกประเทศสามารถเห็นภาพของความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพต่อตัวแปรต่าง ๆ ทางต้านการเงิน ตังนี้
1. ระตับจุลภาค การจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพต่อตัวแปรต่างๆ ทางต้านการเงินภายในองค์กรมีดังนี้
1.1) ผลกระทบที่มีต่ออัตราส่วนอัตราการทำกำไรจากการลงทุน (Return of Investment; ROI)
รูปที่ 1.1 ความสัมพันธ์ของการจัดการโจจิสติกส์ที่มีผลต่ออัตราส่วนการทำกำไรจากการลงทุน (Returm of Investment; ROI)
1.2 ผลกระทบที่มีต่องบดุลองค์กร
รูปที่1.2 แสตงความสัมพันธ์ของตัวแปรทางต้นโลจิสติกส์กับองค์ประกอบในงบดุล
2. ระดับมหภาค นอกจากในระดับจุลภาคแล้ว โลจิสติกส์ยังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนภาคธุรกิจของประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศในระตับมหภาคได้อีกด้วย โตยเฉพาะอย่างยิ่งระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การสื่อสาร สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า และระบบโลจิสติกส์ซึ่งมีผลโดยตรงต่อกระบวนการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจายสินค้าจากจุดเริ่มต้นไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านของตันทุนการผลิตสินและต้นทุนโลจิสติกส์ จากข้อมูลต้นทุนโลจิสศิกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวสรวมในประเทศ (GDP) ของไทย ซึ่งจัดทำโตยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้มีการปรับปรุงข้อมูลล่าสุดพบว่าต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยในปี พ.ศ.2556 อยู่ที่ ร้อยละ 14.0 ในปี พ,ศ.2555อยู่ที่ ร้อยละ 144 และร้อยละ 147 ในปี พ.ศ 2554 ซึ่งแม้จะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ยังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนโลจิสติกส์กับประเทศอื่น เช่น ประเทศแถบยูโรป สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น หรือเมื่อพิจารณาตัชนี่ชี้วัตประสิทธิภาพต้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ (LPI; Logistics Performance Index) ซึ่งจัดทำโดยธนาคารโลก (World Bank) ด้านต่าง ๆ 6ต้าน ได้แก่ ประสิทธิภาหของพิธีการศุลกากร (Customs) โครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่ง (Infrastructure) การจัตการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (International Shipments) ความสามารถและคุณภาพของบริการโลจิสติกส์ในประเทศ (Logistics Competence) การติดตามสถานะการจัตส่ง (Tracking & Tracing) และความตรงต่อเวลาในการจัตส่ง (Timeliness) ในปี พ.ศ. 2557 ประเทศที่มีตัชนีชี้วัตประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี (ค่าดัชนี 4.12) เนเธอร์แลนด์ (ค่าดัชนี 4.05) เบลเยี่ยม (ค่าดัชนี 4.04) สหราชอาณาจักร (ค่าดัชนี 4.01) และสิงคโปร์ (ค่าดัชนี 4.0) ตามลำดับ แต่สำหรับประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 35 (ค่าดัชนี 3.43) ซึ่งยังตามหลังประเทศในภูมิภาคอาเชียน 2 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ (อันตับที่ 5) และมาเลเซีย (อันตับที่ 25) ดังนั้น นอกจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และปัจจัยทางด้านสังคมแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ โตยเฉพาะในภูมิภาคอาเชียนต่อไป
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557