iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) และ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) 

ตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1980 การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) และ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ก็ได้รับความสนใจอย่างมากทั้งจากวงการวิชาการและภาคธุรกิจ เนื่องจากความต้องการที่จะลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ เช่น การขนส่ง การจัดเก็บสินค้า และ ต้นทุนการสั่งสินค้า รวมทั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นของผู้บริโภค ทั้งการตอบสนองที่รวดเร็วจากการสั่งและการส่งสินค้า รวมทั้งคุณภาพของสินค้าอีกด้วย ตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมาได้มีหลักฐานต่าง ๆ ทั้งงานวิชาการและความสำเร็จของภาคเอกชนที่ยืนยันถึงประโยชน์ที่ภาคธุรกิจ และลูกค้าได้รับจากการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทำให้องค์ความรู้ด้านนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ 

สำหรับประเทศไทยนั้น การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) และ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) นั้น ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง เมื่อรัฐบาลได้กำหนดให้โลจิสติกส์เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการออกยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในปี พ.ศ. 2547 และมีร่างแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ ในเวลาต่อมา โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2549 ตั้งแต่นั้นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ต่างก็ให้ความสำคัญกับ การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) และ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) สำหรับภาครัฐแล้วแต่ละหน่วยงานนั้นได้มีแผนการพัฒนาโลจิสติกส์ออกมาอย่างต่อ เนื่อง ภาคเอกชนก็มีการจัดฝึกอบรมภายในเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการจัดการโลจิสติกส์ ขององค์กร องค์กรเอกชนรายใหญ่บางที่ก็ได้มีการส่งพนักงานไปเรียนต่อด้านโลจิสติกส์ในต่างประเทศอีกด้วย ในส่วนของภาคการศึกษานั้นหลายมหาวิทยาลัยได้เริ่มมีการเปิดสอนวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานทั้งระดับ ปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งให้การสนับสนุนให้คณะอาจารย์ให้ไปศึกษาต่อในด้านนี้ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

นิยามเพิ่มเติมคลิก การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) 

นิยามเพิ่มเติมคลิก การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) 

แนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานกับโลจิสติกส์ มีความแตกต่างกันกล่าวคือ

- โลจิสติกส์ โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในขอบเขตขององค์กรเดียว ขณะที่โซ่อุปทานจะเกี่ยวข้องกับเครือข่ายของบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันและประสานการทำงานของพวกเขาร่วมกัน เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ตลาด

- โลจิสติกส์ แบบเก่าเน้นความสนใจไปที่กิจกรรมเช่น การจัดซื้อจัดหา, การกระจายสินค้า, การซ่อมบำรุง และการจัดการสินค้าคงคลัง ขณะที่แนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานจะรวมทุกส่วนของโลจิสติกส์แบบเก่า และครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตลาด, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่, การเงิน และบริการลูกค้าทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำไปจนสิ้นสุดปลายน้ำ

- การจัดการโซ่อุปทาน อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงทั้งด้าน “ระดับการบริการลูกค้า”  และ “ประสิทธิภาพการทำงานภายในบริษัทต่าง ๆ ในโซ่อุปทาน” ไปพร้อมกัน

รูปแบบพื้นฐานการจัดการโซ่อุปทาน ในทางปฏิบัติแม้ว่าแต่ละโซ่อุปทานจะมีความต้องการหรืออุปสงค์ของตลาด และความท้าทายจากการปฏิบัติงานที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ถือเป็นสาระสำคัญเหมือนๆกันในทุกรายด้วย ทั้งนี้บริษัทในโซ่อุปทานใด ๆ ก็จะต้องตัดสินใจทั้งโดยลำพังและโดยรวมใน 5 ประเด็นคือ

1. การผลิต (Production) ตลาดต้องการผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง ?  และควรจะผลิตในปริมาณเท่าไร และเมื่อไร ?   กิจกรรมเหล่านี้รวมถึงการจัดทำตารางกำหนดเวลาการผลิตหลัก (Master Production Schedule) ซึ่งต้องคำนึงถึงความสามารถในการผลิต, การสมดุลงาน, การควบคุมคุณภาพ และการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์

2. สินค้าคงคลัง (Inventory) ควรเก็บสินค้าคงคลังอะไรไว้บ้างในแต่ละขั้นของโซ่อุปทาน ?   ควรเก็บวัตถุดิบ, สินค้ากื่งสำเร็จรุป หรือสินค้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าคงคลังในปริมาณเท่าใด เนื่องจากจุดประสงค์แรกสุดของสินค้าคงคลัง คือ การทำหน้าที่เป็นกันชน (Buffer) เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม จำนวนสินค้าคงคลังที่มากเกินไปก็ทำให้ ต้องแบกต้นทุนสูง ดังนั้น ระดับของสินค้าคงคลังและจุดสั่งสินค้าซ้ำ (Reorder Point) ใดที่เหมาะสมที่สุด

3. สถานที่ (Location) ที่ใดเหมาะสมและสะดวกที่จะตั้งสถานที่ผลิตและจัดเก็บสินค้าคงคลัง ?   ที่ใดเป็นสถานที่ๆ มีต้นทุนที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับการผลิตและจัดเก็บสินค้าคงคลัง ?   ควรเป็นสถานที่เก่าที่มีอยู่แล้วหรือควรจะสร้างใหม่ ?  เมื่อทำการตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้แล้ว การตัดสินใจนั้นจะกำหนดหนทางที่เป็นไปได้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะไหลผ่านเพื่อจัดส่งไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย

4.การขนส่ง (Transportation) จะย้ายสินค้าคงคลังจากสถานที่หนึ่งในโซ่อุปทานไปยังอีกสถานที่หนึ่งได้อย่างไร ? การขนส่งทางอากาศและทางรถบรรทุกมีความรวดเร็วสูงและมั่นใจได้ แต่มีราคาแพง การขนส่งทางเรือหรือทางรถไฟถูกกว่ามาก แต่ปกติจะใช้เวลานานและไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนนี้ต้องทดแทนด้วยการเก็บสินค้าคงคลังในระดับที่สูงขึ้น เมื่อใดจะใช้การขนส่งแบบใดแบบหนึ่งได้ดีกว่ากัน

5.ข้อมูล (Information) ควรเก็บข้อมูลไว้มากแค่ไหนและควรแบ่งข้อมูลออกไปเท่าใด ? ข้อมูลที่ถูกเวลาและแม่นยำจะทำให้เกิดการประสานงานที่ดีกว่าและการตัดสินใจที่ดีกว่า ด้วยข้อมูลที่ดีนี้เองทำให้เราทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพว่าจะผลิตอะไร, จำนวนเท่าไร ควรเก็บสินค้าคงคลังไว้ที่ใดและวิธีการขนส่งแบบใดที่ดีที่สุด                                

 
ที่มา
เอกสาร สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2558 www.logistics.go.th

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward