iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

sc การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

การจัดการโซ่อุปทาน เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคทศวรรษ 1980 และเริ่มนำใช้อย่างแพร่หลายในยุคทศวรรษ 1990 ก่อนหน้านั้นธุรกิจต่างๆ ใช้คำว่า “โลจิสติกส์” และ “การจัดการดำเนินงาน (Operations Management : OM)” แทนคำว่า “การจัดการโซ่อุปทาน” ทั้งนี้ ก็ได้มีผู้เสนอนิยามของคำว่า “โซ่อุปทาน” ไว้ต่างๆ ดังต่อไปนี้

“โซ่อุปทาน คือ การจัดเรียงบริษัท (Alignment of Firms) ซึ่งจะนำผลิตภัณฑ์และบริการเข้าสู่ตลาด” จากหนังสือ Fundamentals of Logistics Management โดย Lambert, Stock, และ Ellram (Lambert, Douglas M.,Jame R.Stock, and Lisa M.Ellram ,1998,Fundamentals of Logistics Management, Boston, MA:Irwin/McGraw-Hill, บทที่14)

“โซ่อุปทานประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อเติมเต็ม (Fulfill) ความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ โซ่อุปทานมิได้หมายเฉพาะแค่ผู้ผลิตและผู้จัดหาวัตถุดิบ (Suppliers) เท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงผู้ขนส่งคลังสินค้า, ผู้ค้าปลีกและตัวลูกค้าเองอีกด้วย” จากหนังสือ Supply Chain Management: Strategy, Planning and Operations, Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall, Inc. บทที่1)

“โซ่อุปทานคือเครือข่ายของสิ่งอำนวยความสะดวกและทางเลือกของช่องทางการกระจายสินค้าหรือบริการที่ทำหน้าที่จัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การแปรูปวัตถุดิบเหล่านั้นไปเป็นชิ้นส่วนระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ตลอดจนการกระจายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเหล่านั้นไปสู่ลูกค้า” จากบทความของ Ganeshan และ Harrison แห่งมหาวิทยาลัย Penn State ที่ชื่อ “An Introduction to Supply Chain Management”

แนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานกับแนวคิดแบบเก่าของโลจิสติกส์มีความแตกต่างกันกล่าวคือ

* โลจิสติกส์ โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในขอบเขตขององค์กรเดียว ขณะที่โซ่อุปทานจะเกี่ยวข้องกับเครือข่ายของบรรดาบริษัทต่างๆที่ทำงานร่วมกันและประสานการทำงานของพวกเขาร่วมกัน เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ตลาด

* โลจิสติกส์ แบบเก่าเน้นความสนใจไปที่กิจกรรม เช่น การจัดซื้อจัดหา, การกระจายสินค้า, การซ่อมบำรุงและการจัดการสินค้าคงคลัง ขณะที่แนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานจะรวมทุกส่วนของโลจิสติกส์แบบเก่า และครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น การตลาด, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่, การเงิน และบริการลูกค้าด้วยการจัดการโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงทั้งด้าน “ระดับการบริการลูกค้า” และ “ประสิทธิภาพการทำงานภายในบริษัทต่างๆในโซ่อุปทาน” ไปพร้อม ๆ กัน

อย่างไรก็ตาม ก็มีรูปแบบพื้นฐานที่จะนำมาใช้จัดการโซ่อุปทานได้ในทางปฏิบัติ แม้ว่าแต่ละโซ่อุปทานจะมีความต้องการหรือ “อุปสงค์”ของตลาด และความท้าทายจากการปฏิบัติงานที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ถือเป็นสาระสำคัญเหมือนๆกันในทุกๆรายด้วย ทั้งนี้บริษัทต่างๆในโซ่อุปทานใดๆ ก็จะต้องตัดสินใจทั้งโดยลำพังและโดยรวมใน 5 ประเด็น คือ

1. การผลิต (Production) ตลาดต้องการผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง และควรจะผลิตในปริมาณเท่าไรและเมื่อไร กิจกรรมเหล่านี้รวมถึงการจัดทำตารางกำหนดเวลาการผลิตหลัก (Master Production Schedule) ซึ่งต้องคำนึงถึงความสามารถในการผลิต, การสมดุลงาน, การควบคุมคุณภาพ และการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์

2. สินค้าคงคลัง (Inventory) ควรเก็บสินค้าคงคลังอะไรไว้บ้างในแต่ละขั้นของโซ่อุปทาน ควรเก็บวัตถุดิบ, สินค้ากื่งสำเร็จรุป หรือสินค้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าคงคลังในปริมาณเท่าใด เนื่องจากจุดประสงค์แรกสุดของสินค้าคงคลัง คือ การทำหน้าที่เป็นกันชน (Buffer) เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม จำนวนสินค้าคงคลังที่มากเกินไปก็ทำให้ ต้องแบกต้นทุนสูง ดังนั้น ระดับของสินค้าคงคลังและจุดสั่งสินค้าซ้ำ (Reorder Point) ใดที่เหมาะสมที่สุด

3. สถานที่ (Location) ที่ใดเหมาะสมและสะดวกที่จะตั้งสถานที่ผลิตและจัดเก็บสินค้าคงคลังที่ใด เป็นสถานที่ ๆ มีต้นทุนที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับการผลิตและจัดเก็บสินค้าคงคลัง ควรเป็นสถานที่เก่าที่มีอยู่แล้วหรือควรจะสร้างใหม่ เมื่อทำการตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้แล้ว การตัดสินใจนั้นจะกำหนดหนทางที่เป็นไปได้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะไหลผ่านเพื่อจัดส่งไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย

4. การขนส่ง (Transportation) จะย้ายสินค้าคงคลังจากสถานที่หนึ่งในโซ่อุปทานไปยังอีกสถานที่หนึ่งได้อย่างไร การขนส่งทางอากาศและทางรถบรรทุกมีความรวดเร็วสูงและมั่นใจได้ แต่มีราคาแพง การขนส่งทางเรือหรือทางรถไฟถูกกว่ามาก แต่ปกติจะใช้เวลานานและไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนนี้ต้องทดแทนด้วยการเก็บสินค้าคงคลังในระดับที่สูงขึ้น เมื่อใดจะใช้การขนส่งแบบใดแบบหนึ่งได้ดีกว่ากัน 

5. ข้อมูล (Information) ควรเก็บข้อมูลไว้มากแค่ไหนและควรแบ่งข้อมูลออกไปเท่าใด ข้อมูลที่ถูกเวลาและแม่นยำจะทำให้เกิดการประสานงานที่ดีกว่าและการตัดสินใจที่ดีกว่า ด้วยข้อมูลที่ดีนี้เองทำให้เราทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพว่าจะผลิตอะไร, จำนวนเท่าไร ควรเก็บสินค้าคงคลังไว้ที่ใดและวิธีการขนส่งแบบใดที่ดีที่สุด

------------------------------------------------------------------

ที่มา
เอกสาร สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2558 www.logistics.go.th 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward