ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI) โดยสำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โดยสำนักโลจิสติกส์ ได้จัดทำดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI) ของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตามกิจกรรมโลจิสติกส์ 9 กิจกรรม ใน 3 มิติ ที่สำคัญ ประกอบด้วย มิติด้านต้นทุน มิติด้านระยะเวลา และมิติด้านความน่าเชื่อถือ รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 ตัวชี้วัด การจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม มีเกณฑ์เปรียบเทียบประเมินในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการปรกอบการของตนเอง เพื่อตอบสนอกความต้องการของลูกค้า (Customer Service) และลดต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์ (Total Logistics Costs) ต่อไป ซึ่งรายละเอียดตัวชี้วัดแสดงในตาราง
ตารางดัชนีประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ 9 กิจกรรม 3 มิติ
กิจกรรมโลจิสติกส์ |
มิติด้านต้นทุน |
มิติด้านเวลา |
มิติด้านความน่าเชื่อถือ |
การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน |
สัดส่วนต้นทุนการให้บริการลูกค้าต่อยอดขาย |
รอบเวลาการเติมเต็มคำสั่งซื้อ |
อัตราการส่งมอบอย่างสมบูรณ์แบบ |
การจัดซื้ดจัดหา |
สัดส่วนต้นทุนการจัดซื้อ |
รอบเวลาการจัดซื้อ |
อัตราการส่งมอบอย่างสมบูรณ์แบบของผู้ผลิต |
การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ |
สัดส่วนมูลคาการลงทุนเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการสื่อสารภายในองค์กรต่อมูลค่ายอดขาย |
รอบเวลาการสั่งคำสั่งซื้อภายในองค์กร |
จำนวนร้อยละการเติมเต็มคำสั่งซื้อสมบูรณ์ |
การขนส่ง |
สัดส่วนต้นทุนการขนส่งต่อมูลค่ายอดขาย |
รอบเวลาการจัดส่งสินค้า |
อัตราการส่งมอบอย่างสมบูรณ์แบบของแผนกขนส่ง |
การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้า |
สัดส่วนต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย |
รอบเวลาการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปในคลังสินค้า |
อัตราความแม่นยำของสินค้าคงคลัง |
การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า |
สัดส่วนต้นทุนการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าต่อยอดขาย |
รอบเวลาของการพยากรณ์ความต้องของลูกค้า |
อัตราความแม่นยำการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า |
การบริหารสินค้าคงคลัง |
สัดส่วนต้นทุนการถือครองสินค้าต่อยอดขาย |
รอบเวลาของการเก็บสินค้าสำเร็จรูปอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า |
อัตราจำนวนสินค้าสำเร็จรูปขาดมือ |
การจัดการเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และการบรรจุหีบห่อ |
สัดส่วนมูลค่าสินค้าที่เสียหายต่อยอดขาย |
รอบเวลาของการถือครองและการบรรจุภัณฑ์สินค้า |
อัตราความเสียหายของสินค้า |
โลจิสติกส์ย้อนกลับ |
สัดส่วนมูลค่าสินค้าที่ถูกตีกลับต่อยอดขาย |
รอบเวลาของการรับสินค้าคืนลูกค้า |
อัตราการถูกตีกลับของสินค้า |