iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

ดัชนีชี้วัดด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม (Logistics Performance Index : LPI)  โดยสำนักโลจิสติกส์

 

 

ดัชนีชี้วัดด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการชี้วัดประสิทธิภาพในการทำงาน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ ลดการทำงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคาดการณ์ โดยในบทนี้จะให้ความสำคัญกับดัชนีวัดหลัก (Key Performances Indicator : KPI) ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการรวมด้วยโลจิสติกส์

สาเหตุที่ต้องมีเครื่องมือในการชี้วัด เนื่องจาก

1. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบผลลัพธ์ที่หน่วยงานผู้ประเมินต้องการ

2. เพื่อให้ทุกตำแหน่งงานต่างมีดัชนีวัดการทำงานตามลักษณะงานของตนเอง ที่มีความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้

3. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบเป้าหมาย และทำงานอย่างเต็มที่

ข้อดีของการประเมินผลโดยใช้ดัชนีชี้วัดหลัก

1. มีความชัดเจน ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินสามารถตรวจสอบผลได้ด้วยตนเองตลอดเวลา

2. ผู้ปฏิบัติงานมุ่งทำงานเพื่อให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย

3. หลักเกณฑ์และดัชนีชี้วัดมีความชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้จริง

4. ผู้ถูกประเมินทราบหลักเกณฑ์และดัชนีชี้วัดที่ได้กำหนดให้ทราบล่วงหน้า

5. สามารถนำเอามาตรฐานการทำงานมาใส่ไว้ในแบบประเมินผล

6. แต่ละปีสามารถปรับค่าประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่ผลงานได้

7. ผู้ถูกประเมินจะยอมรับในความยุติธรรมสูง เมื่อมีส่วนร่วมในการสร้างดัชนีชี้วัด

8. การบริหารงานง่ายขึ้น เพราะทุกคนมุ่งทำงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย

9. ผลงานรวมของหน่วยงานสูงขึ้นเพราะทุกคนมุ่งสร้างผลงานให้เกิดประสิทธิภาพ

ข้อเสียของการใช้ดัชนีชี้วัดหลัก คือ

มีแบบประเมินผลมาก เพราะแต่ละลักษณะงานจะมีแบบประเมินผลต่างกัน

ต้องวางระบบจัดเก็บข้อมูล บันทึกผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่   โดยสำนักโลจิสติกส์ ได้จัดทำดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI)  ของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตามกิจกรรมโลจิสติกส์ 9 กิจกรรม ใน 3 มิติ ที่สำคัญ ประกอบด้วย มิติด้านต้นทุน มิติด้านระยะเวลา และมิติด้านความน่าเชื่อถือ รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 ตัวชี้วัด  การจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม มีเกณฑ์เปรียบเทียบประเมินในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการปรกอบการของตนเอง เพื่อตอบสนอกความต้องการของลูกค้า (Customer Service) และลดต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์ (Total Logistics Costs) ต่อไป

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward