แบบจำลองการวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน (Performance SCOR Model)
แบบจำลองการวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน (Performance SCOR Model) จะมีระบบตัวชี้วัดแบ่งออกตามกลุ่มที่สนใจ 2 เป้าหมาย มีตัวชี้วัดหลัก 5 ด้าน และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์อีก 10 ตัว โดยประกอบด้วย
- เป้าหมาย ในการวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทานในเชิงกลยุทธ์มี 2 เป้าหมายคือ
1 กลุ่มลูกค้
2 กลุ่มลูกค้
- ตัวชี้วัดหลัก การวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน กำหนดตัวชี้วัดหลักไว้ 5 ด้าน ดังนี้
1 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความน่าเชื่อถือ (Supply Chain Reliability: RL) เป็นความสามารถในด้านการส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่ ถูกต้อง ถูกสถานที่ ถูกตัวผู้รับ ทันเวลา ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม สภาพบรรจุภัณฑ์เรียบร้อย ปริมาณครบถ้วน ตลอดจนเอกสารการส่งมอบที่เกี่ยวข้องถูกต้องสมบูรณ์ โดยวัดผลจากการเติมเต็มคำสั่งซื้อที่สมบูรณ์
2 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการตอบสนอง (Supply Chain Responsiveness: RS) เป็นระยะเวลา ความรวดเร็วในจัดหา จัดเตรียมสินค้าและบริการให้กับลูกค้าโดยวัดผลจากรอบเวลาของกิจกรรมในการเติมเต็มคำสั่งซื้อ
3 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความยืดหยุ่น (Supply Chain Agility or Flexibility: AG) เป็นความสามารถรองรับต่อความผันแปรของความต้องการตลาด ทั้งการเพิ่ม หรือการลดปริมาณความต้องการภายในเวลาอันสั้นเป็นผลการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม เช่น ภัยธรรมชาติ ผู้ร่วมธุรกิจยกเลิกถอนตัวจากธุรกิจ เป็นต้น โดยวัดผลจากการปรับตัว และความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนต้นน้ำและปลายน้ำ
4 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านต้นทุน (Supply Chain Cost: CO) เป็นต้นทุนการดำเนินการของระบบโซ่อุปทานวัดผลจากต้นทุนรวมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
5 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการจัดการสินทรัพย์ (Supply Chain Asset Management : AM) แสดงถึงประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของการบริหารสินทรัพย์ขององค์กรเพื่อให้บริการกับลูกค้าวัดผลจาก รอบเวลาในการหมุนเวียนเงินสด อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพยถาวร และเงินลงทุน
- ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ มีทั้หมด 10 ตัวชี้วัดคือ
1. สมรรถนะในการจัดส่ง สามารถวัดได้ในรูปแบบของวันและเวลาที่จัดส่งจริง เปรียบเทียบกับ วันที่กำหนดถึงลูกค้า
2. สมรรถนะในการเติมเต็มคำสั่งซื้อ เป็นตัวชี้วัดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมรรถนะของการจัดส่ง ซึ่งเวลานำของการเติมเต็มคำสั่งซื้อจะนับจากวันเวลาเฉลี่ยของวันเวลาที่คำสั่งซื้อเกิดขึ้นจนถึงวันและเวลาที่ลูกค้าได้รับสินค้าครบตามคำสั่งซื้อในมุมมองของลูกค้านั้นลูกค้าไม่
3. ตัววัดสมรรถนะการเติมเต็มคำสั่งซื้อสมบูรณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสมรรถนะการจัดส่งเช่นกันแต่เป็นเกณฑ์การ
วัดที่เข้มข้นกล่าวคือ เป็นตัววัดซึ่งจะวัดการส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ตรงตามเวลา สถานที่ และในจำนวนครบถ้วนตามคำสั่งซื้อ
4. ตัววัดสมรรถนะการตอบสนองของโซ่อุปทาน ความหมายของโซ่อุปทานที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
โซ่อุปทานจะต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายในเวลารวดเร็ว เพื่อให้แน่ใจถึงความสามารถในการแข่งขัน
5. ตัววัดสมรรถนะการความยืดหยุ่นของการผลิต วัดการตอบสนองของโซ่อุปทานเกี่ยวกับความยืดหยุ่นในกระบวนการ
ผลิต แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ ความยืดหยุ่นต่อความต้องการลดหรือเพิ่มการผลิตในเวลาหนึ่งๆ
6. ตัววัดสมรรถนะต้นทุนการจัดการโซ่อุปทาน เนื่องจากต้นทุนการจัดการโซ่อุปทานต่อรายได้ทั้งหมดขององค์กรถ้าสามารถควบคุมได้ดีจะมีผลต่อความสามารถในการทำกำไรขององค์กรนั้นๆ ตัววัดสมรรถนะนี้จึงมีความสำคัญต่อการบริหารโซ่อุปทานและองค์กรในเชิงกลยุทธ์
7. ตัววัดสมรรถนะรอบเวลาของวงจรปิดเงินสด เวลาที่ใช้โดยเฉลี่ยของเงินที่ใช้ในการสั่งซื้อวัตถุดิบจนกระทั่งเงินนั้นไหลกลับมาสู่บริษัทในรูปของรายได้ ตัวชี้วัดรอบเวลาของวงจรเงินสด ประกอบด้วยผลรวมของ 3 องค์ประกอบ คือ จำนวนวันของสินค้าคง คลังบวกจำนวนวันของการขาย ลบด้วยคาบเวลาของการจ่ายเงินสำหรับค่าวัตถุดิบ
8. ตัววัดสมรรถนะจำนวนวันของสินค้าคงคลัง ตัวชี้วัดที่ใช้วัดว่าจำนวนสินค้าคงคลังถูกผลิตขึ้นมาหรือซื้อเข้ามาแล้วสามารถขายไปให้กับลูกค้าได้เร็วเพียงไรการเพิ่มของจำนวนวันของสินค้าคงคลังชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง ซึ่งรวมถึงการขายที่ช้าลงและ/หรือคาบเวลาการผลิตที่ยาวนานขึ้น
9. ตัววัดสมรรถนะจำนวนรอบของสินทรัพย์ ตัวชี้วัดของกิจกรรมทางด้านการเงิน หมายถึงจำนวนรายได้หารด้วยจำนวนทรัพย์สินทั้งหมดจำนวนรอบของสินทรัพย์จะเป็นตัววัดประสิทธิผลของบริษัทในการดำเนินงานต่อสินทรัพย์ทั้งหมด
10.
-----------------------------------------------