ตัวชี้วัดสมรรถนะของโซ่อุปทาน ตามหลักการของ SCOR Model
แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทาน (SCOR Model) ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1996 จากความมือระหว่าง Supply Chain Council (SCC) มีการกำหนดกระบวนการทำงานต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีโครงสร้างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ นอกจากนี้ในแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานยังมีการกำหนดตัวชี้วัด (Metric) สำหรับวัดประสิทธิภาพในแต่ละกระบวนการเพื่อกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังมีการเสนอวิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practice) ในแต่ละกระบวนการเพื่อที่จะให้บริษัทหรือองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ (Supply-Chain Council, 2004) SCOR Model
ตัวชี้วัดสมรรถนะของโซ่อุปทาน ตามหลักการของ SCOR Model จะมีการวัดผลประสิทธิภาพด้วยตัวชี้วัดสมรรถนะของโซ่อุปทานไว้ 5 ด้านคือ
1. ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความน่าเชื่อถือ (Supply Chain Reliability: RL) เป็นความสามารถในด้านการส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่ถูกต้อง ถูกสถานที่ ถูกตัวผู้รับบริการ (ลูกค้า) ทันเวลา ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม สภาพบรรจุภัณฑ์เรียบร้อ, ปริมาณครบถ้วน ตลอดจนเอกสารการส่งมอบที่เกี่ยวข้องถูกต้องสมบูรณ์ โดยวัดผลจากการเติมเต็มคำสั่งซื้อที่สมบูรณ์
2 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการตอบสนอง (Supply Chain Responsiveness: RS) เป็นระยะเวลา ความรวดเร็วในจัดหา จัดเตรียมสินค้าและบริการให้กับลูกค้าโดยวัดผลจากรอบเวลาของกิจกรรมในการเติมเต็มคำสั่งซื้อ
3 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความยืดหยุ่น (Supply Chain Agility or Flexibility: AG) เป็นความสามารถรองรับต่อความผันแปรของความต้องการตลาด ทั้งการเพิ่ม หรือการลดปริมาณความต้องการภายในเวลาอันสั้นเป็นผลการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม เช่น ภัยธรรมชาติ ผู้ร่วมธุรกิจยกเลิกถอนตัวจากธุรกิจ เป็นต้น โดยวัดผลจากการปรับตัว และความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนต้นน้ำและปลายน้ำ
4 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านต้นทุน (Supply Chain Cost: CO) เป็นต้นทุนการดำเนินการของระบบโซ่อุปทานวัดผลจากต้นทุนรวมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
5 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการจัดการสินทรัพย์ (Supply Chain Asset Management: AM) แสดงถึงประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของการบริหารสินทรัพย์ขององค์กรเพื่อให้บริการกับลูกค้าวัดผลจาก รอบเวลาในการหมุนเวียนเงินสด อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพยถาวร และเงินลงทุน
เป้าหมายในการทำอาจแบ่งเป็น
- เพื่อสร้างประโยชน์ให้ลูกค้า (External Focus) มี 3 เรื่องคือ ความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการตอบสนอง และความยึดหยุ่น จะมุ่งให้ความสำคัญไปที่ภายนอกหรือเรียกว่ามุ่งตอบความต้องการลูกค้า
- เพื่อสร้างประโยชน์ให้องค์กร (Internal Focus) มี 2 เรื่องคือ เงิน และทรัพสิน จะเน้นไปที่การจัดการภายในองค์กรเป็นสำคัญ
การแข่งขันที่รุนแรงทางธุรกิจในปัจจุบันได้ส่งผลให้บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงด้วยกลยุทธ์ต่างๆ เช่น การลดต้นทุนในการประกอบการ การผลิตสินค้าตัวใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด อีกแนวทางหนึ่ง คือ การเสริมสร้างความร่วมมือและการเชื่อมโยง SMEs เข้าสู่โซ่อุปทาน โดยพัฒนากระบวนการทางธุรกิจและการผลิตในโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สร้างคุณค่า และยกระดับมาตรฐานกระบวนงานและผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SMEs ในโซ่อุปทาน ตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำที่เป็นผู้ผลิตขั้นสุดท้ายหรือสินค้าสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสู่ระดับโซ่อุปทาน
------------------------------------------