การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) จะบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ จะต้องมีการดำเนินการเป็นทีมงานที่มีการประสานการทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามควรมีการกำหนดของเขตของการจัดการในงานด้านนี้ หรือที่เรียกว่า ระดับการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Level) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เกิดการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ ได้ง่ายถูกต้อง (Efficiency is doing things right) และมีประสิทธิผลหมายถึงการกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้อง (Effectiveness is doing the right things) โดยแบ่งระดับในการจัดการโซ่อุปทานได้ดังนี้
- ระดับกลยุทธ์ (Strategic level) เป็นระดับที่ว่าด้วยนโยบายที่ชัดเจนของบริษัท มีการวางแผนทิศทางที่ชัดเจน (Direction plan) เช่นนโยบายสินค้าคงคลังจะมีนโยบายแบบใด จะทำสต็อกเพื่อทำกำไรทางการตลาด หรือไม่เก็บสต็อก เป็นต้น การวัดผลงาน จะวัดเชิงประสิทธิผล
- ระดับยุทธวิธี (Tactical level) เป็นระดับที่ต้องมีการวางแผนตามโครงสร้างที่กำหนด (Strategic plan) เช่น การดำเนินการในโซ่อุปทาน บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ใครรับผิดชอบอะไร เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของบริษัท ซึ่งส่วนมากดำเนินการโดยผู้บริหารระดับสูง และ ระดับกลางของบริษัท การวัดผลงานจะวัดด้วยประสิทธิผลของงานที่จะดำเนินการคือ บรรลุตามเป้าหมายของบริษัท อาจจะอยู่ในรูปมูลค่าสินค้าคงคลังตลอดโซ่อุปทาน เป็นต้น
- ระดับปฏิบัติการ (Operation level) เป็นการนำระบบโซ่อุปทานมาใช้ในแต่ละฝ่ายของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธวิธี เช่น งานขาย ต้องสอดคล้องกับงานผลิต งานจัดซื้อ คลังสินค้า การบริหารเครือข่าย เป็นต้น การวัดผลงานในระดับนี้จะวัดโดยใช้ประสิทธิภาพ (Efficiency)
------------------------------------------------------------------