sc การจัดการคลังสินค้า
การจัดการคลังสินค้า ในระบบของการจัดการโลจิสติกส์มีส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบคือ คลังสินค้า ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพของระบบการจัดการและในทางตรงกันข้ามก็จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดต้นทุนของระบบโลจิสติกส์ด้วย หากการบริหารจัดการไม่เหมาะสม ทำให้เกิดต้นทุนโลจิสติกส์ซึ่งเป็นต้นทุนในส่วนที่เกิดกับจุดที่มีคลังสินค้า ต้นทุนโลจิสติกส์ มีส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในคลังสินค้าคงคลังซึ่งเราจะเรียกว่า ต้นทุนในระบบคลังสินค้า มีความหมายครอบคลุมถึงต้นทุนต่าง ๆของการจัดการคลังสินค้า ดังต่อไปนี้
1. ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost)
2. ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Warehouse Cost)
3. ต้นทุนการขนส่งสินค้า (Transportation Cost)
เนื่องจากสัดส่วนของต้นทุนการถือครองสินค้าอยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก และเป็นต้นทุนที่สามารถบริหารจัดการได้ภายในองค์กร การจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการอย่างชัดเจนที่สุด
รูปบทบาทของระบบคลังสินค้าในระบบโลจิสติกส์
คลังสินค้าและการจัดการคลังสินค้า ความหมายของคลังสินค้าในมิติโลจิสติกส์ มีดังนี้
1. เป็นสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดี และมีคุณสมบัติที่พร้อมจะส่งมอบให้กับบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยบรรลุเป้าหมายแบบ 5 Right คือ1) RIGHT QUALITY คือ การซื้อให้ได้คุณภาพที่ถูกต้อง 2) RIGHT QUANITY คือ การซื้อให้ได้จำนวนที่ถูกต้อง 3) RIGHT TIME คือ การซื้อให้ได้ในเวลาที่ถูกต้อง 4) RIGHT SOURCE คือ การซื้อจากผู้ขายที่ถูกต้อง 5) RIGHT PRICE คือ การซื้อในราคาที่ถูกต้อง
2. หน้าทีที่สำคัญของสินค้าคงคลัง คือ ที่พักและที่เก็บสินค้าหรือวัตถุดิบหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ โดยเป็นสถานที่ซึ่งใช้ในการพักสินค้าชั่วคราวจนกว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปสู่ผู้ที่มีความต้องการไม่ว่าจะเพื่อการผลิต หรือเพื่อจำหน่ายจ่ายแจก หรือขาย หรือส่งมอบ ดังนั้นลูกค้าของการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าจึงไม่ใช่เพียงแต่ลูกค้าภายนอกเท่านั้น ยังรวมถึงลูกค้าภายในโรงงานอีกด้วย เช่น ฝ่ายการผลิต เป็นต้น
ในการจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย มีเป้าหมายหลักในการบริหารและดำเนินธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดระบบที่คุ้มกับการลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้า การป้องกันและลดการสูญเสียจากการดำเนินงาน เพื่อให้ต้นทุนดำเนินงานต่ำที่สุด และใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่ที่ได้จัดไว้
การจัดการคลังสินค้าเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการความสัมพันธ์ของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงกับปริมาณสินค้าที่จะเก็บในคลัง เพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้า ในอดีตมีความเชื่อที่ว่า คลังสินค้าเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดต้นทุน ไม่สร้างรายได้ให้แก่องค์กร (Cost Center) ซึ่งความเชื่อดังกล่าวเป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนในการจัดเก็บ หรือต้นทุนโลจิสติกส์ภายในองค์กรให้ลดลงได้ ซึ่งในที่สุดการลดต้นทุนดังกล่าวจะสร้างความได้เปรียบขององค์กรนั้น นอกจากนั้นการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดี จะสามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้มาก เช่นสามารถตอบสนองความต้องการในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้เร็วขึ้น
--------------------------------------------------------